- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 16 March 2016 22:47
- Hits: 5240
กฟผ.รับมอบใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
โรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง มุ่งมั่นดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้รับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1 ตามมาตรฐานไทยและสากล การันตีความโปร่งใสในการเปิดเผยข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก ที่ปล่อยจากการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กร นำไปสู่การหาแนวทางลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อไป
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีรับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และ ISO 14064-1 โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งได้รับเกียรติจาก นางประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก และผู้บริหาร บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย มอบใบรับรองตามมาตรฐานไทย และใบรับรองตามมาตรฐานสากลให้กับโรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานกลาง กฟผ. นนทบุรี
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ กล่าวว่า โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1 ด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ดำเนินงานสำเร็จโดยโรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง ได้แก่
1) โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
2) โรงไฟฟ้าบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
3) โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จังหวัดสมุทรปราการ
4) โรงไฟฟ้าวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
5) โรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา
6) โรงไฟฟ้าน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ
7) โรงไฟฟ้ากระบี่ จังหวัดกระบี่
โดยโรงไฟฟ้าทั้ง 7 แห่ง ได้ดำเนินงานตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ ข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และได้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมาตรฐานไทย จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแล้วเสร็จ และได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO14064-1 จากบูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย ทั้งนี้เกิดจากความมุ่งมั่นของ กฟผ. ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ รวมถึงได้รับความร่วมมือจากองค์กรภายนอก เป็นการทำงานแบบบูรณาการสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง
“การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกของ กฟผ. เป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ภาคสังคมและชุมชนอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ กฟผ. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 21 หรือ COP21 ที่ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งประเทศไทยได้ประกาศเป้าหมาย จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ร้อยละ 20-25 จากระดับที่คาดว่าประเทศไทยจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2573 จำนวน 555 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ดังนั้น ไทยจะต้องลดการปล่อยลงให้ได้ 111-139 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ภายในปี 2573 ด้วยเหตุนี้โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1 ที่ กฟผ. ดำเนินการ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ” ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าว
การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อาทิ การใช้เชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ ส่วนมาตรฐาน ISO14064-1 เป็นการแสดงถึงการได้รับการรับรองตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การจัดทำรายงาน และการยืนยันความถูกต้องของการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสขององค์กรในการเปิดเผยข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พิธีรับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และใบรับรอง ISO14064-1 ของโรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง ในครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของ กฟผ. ในการดำเนินกิจการโดยรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และการเจริญเติบโตเชิงเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานในระดับ Global Top Quartile ซึ่งการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคผลิตไฟฟ้า เป็นกิจกรรมที่ กฟผ. ให้ความสำคัญอย่างมากเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินงานของ กฟผ. ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
โรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง รับมอบใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์
คุณอุดมเดช คงทวีเลิศ ประธานบริหาร คุณประวาลทอง ทองใหญ่ ณ อยุธยา ผู้จัดการฝ่ายรับรองระบบ พร้อมด้วยทีมผู้ตรวจสอบ บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) และคุณประเสริฐสุข จามรมาน ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ร่วมมอบใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ให้กับโรงไฟฟ้า กฟผ. ทั้ง 7 แห่ง ได้แก่ 1) โรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง 2) โรงไฟฟ้าบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา 3) โรงไฟฟ้าพระนครใต้ จ.สมุทรปราการ 4) โรงไฟฟ้าวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา 5) โรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา 6) โรงไฟฟ้าน้ำพอง จ.ขอนแก่น และ 7) โรงไฟฟ้ากระบี่ จ.กระบี่ โดยมีคุณสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานในพิธีรับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และ ISO 14064-1 ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานกลาง กฟผ. นนทบุรี
นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ กล่าวว่า "โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1 ด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ของโรงไฟฟ้าทั้ง 7 แห่ง ได้ดำเนินงานตรวจวัด รายงาน และทวนสอบ ข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจก และได้ขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตามมาตรฐานไทย จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกแล้ว และได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ISO14064-1 จากบูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น ประเทศไทย ทั้งนี้เกิดจากความมุ่งมั่นของ กฟผ. ทั้งระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ รวมถึงได้รับความร่วมมือจากองค์กรภายนอก เป็นการทำงานแบบบูรณาการสู่ความสำเร็จอย่างแท้จริง โครงการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และมาตรฐาน ISO 14064-1 ที่ กฟผ. ดำเนินการ นับเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ"
การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เป็นวิธีการหนึ่งในการแสดงข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานขององค์กร อาทิ การใช้เชื้อเพลิง การใช้ไฟฟ้า การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า อันจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงอาจนำไปขายเป็นคาร์บอนเครดิตได้ ส่วนมาตรฐาน ISO14064-1 เป็นการแสดงถึงการได้รับการรับรองตามข้อกำหนดเกี่ยวกับการออกแบบ การพัฒนา การจัดการ การจัดทำรายงาน และการยืนยันความถูกต้องของการจัดทำบัญชีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อแสดงถึงความโปร่งใสขององค์กรในการเปิดเผยข้อมูลปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยจากการดำเนินงานตามภารกิจหลักขององค์กร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดแนวทางการบริหารจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พิธีรับใบรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และใบรับรอง ISO14064-1 ของโรงไฟฟ้า กฟผ. 7 แห่ง ในครั้งนี้ เป็นการยืนยันถึงความมุ่งมั่นของ กฟผ. ในการดำเนินกิจการโดยรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และการเจริญเติบโตเชิงเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อมุ่งสู่การดำเนินงานในระดับ Global Top Quartile ซึ่งการติดตามการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของภาคผลิตไฟฟ้า เป็นกิจกรรมที่ กฟผ. ให้ความสำคัญอย่างมากเพื่อส่งเสริมให้เกิดเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนของการดำเนินงานของ กฟผ. ที่พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต