WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL14สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 22-26 ก.พ. 59 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 29 ก.พ. 4 มี.ค. 59

โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

      สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันผันผวน ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเบรนท์ (ICE Brent) เพิ่มขึ้น 1.08  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 34.55    เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.62  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่   32.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ตามราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบดูไบ (Dubai)  ลดลง 0.23   เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  29.66  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนของตลาดน้ำมันสำเร็จรูปราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 44.77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลลดลง 0.63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่  39.23  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

·       รัฐมนตรีพลังงานรัสเซีย นาย Alexander Novak ให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่มประเทศผู้ผลิตน้ำมันจะเจรจาหาข้อสรุปและแผนการปฎิบัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อตกลงคงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ (Freeze Production) ช่วงกลางเดือน มี.ค.59 โดยมีซาอุดีอาระเบียกับรัสเซียเป็นแกนนำ ร่วมด้วยสมาชิกกลุ่ม OPEC อาทิ เวเนซูเอลา อิหร่าน และ ผู้แทนจากกลุ่ม Non-OPEC อาทิ บราซิล เม็กซิโก โอมาน จีน และนอรเวย์ ได้รับการทาบทามให้เข้าร่วมประชุมด้วย

·       Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นจุดเจาะน้ำมันดิบ (Oil Rigs) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ก.พ. 59 ลดลง จากสัปดาห์ก่อน 13 แท่น  (ลดลงจากปีก่อน 586 แท่น) มาอยู่ที่ 400 แท่น ทั้งนี้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ลดจำนวนแท่นผลิตน้ำมันต่อเนื่องกันเป็นสัปดาห์ที่ 10

·       Continental Resources Inc. บริษัทผู้ผลิต Shale Oil ขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ หยุดปฏิบัติการผลิตทั้งหมดในแหล่ง Bakken รัฐ North Dakota หลังจากในปี 2558 บริษัทขาดทุน 353 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบตกต่ำ

·       กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable Goods Order) ในเดือน ม.ค. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน   4.9 % เพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบเกือบปี หลังจากลดลงจากเดือนก่อน  4.6 % ในเดือน ธ.ค. 58 ทั้งนี้ สถิติเศรษฐกิจช่วงต้นปีค่อนข้างดี อาทิ ยอดขายปลีก การจ้างงาน ยอดขายบ้าน และ ผลผลิตอุตสาหกรรม ช่วยคลายความกังวลของนักลงทุนจากความเสี่ยงที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ อาจถดถอย

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

·       Energy Information Administration (EIA)  รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 3.5 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 507.6 ล้านบาร์เรล โดยปริมาณสำรอง ที่คลัง Cushing รัฐ Oklahoma เพิ่มขึ้นจาก 0.3 ล้านบาร์เรล  มาอยู่ที่ 65.1 ล้านบาร์เรล  ทำสถิติสูงสุดต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 10

·       ผู้อำนวยการด้านกิจการต่างประเทศของ บริษัทน้ำมันแห่งชาติของอิหร่าน (NIOC) นาย Mohsen Ghamsari แถลงว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านเพิ่มขึ้น 500,000  บาร์เรลต่อวัน นับตั้งแต่การคว่ำบาตรยุติ ปัจจุบันส่งออกอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน  และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงน้ำมันอิหร่านเปิดเผยว่าอิหร่านมีเป้าหมายเพิ่มปริมาณส่งออกน้ำมันเป็น 700,000  บาร์เรลต่อวัน  ในเร็ววันนี้

·       สถาบันเศรษฐกิจ Ifo รายงานดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจของเยอรมนีลดลงจากเดือนก่อน 1.6 จุด มาอยู่ที่ 105.7 จุด ต่ำสุดในรอบปี โดยความเชื่อมั่นภาคการผลิตลดลงแตะระดับต่ำสุดตั้งแต่เกิดวิกฤติ Lehman Brothers ล้มละลายเมื่อปี 2551

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น แม้ผู้ค้าเทขายทำกำไรในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ โดยได้รับแรงสนับสนุน จากข่าวบริษัทผู้ผลิต Shale Oil ในสหรัฐฯ เริ่มมีปัญหาทางด้านการเงิน ผลประกอบการและรายได้ของบริษัทในปี 2558 ค่าใช้จ่ายในการลงทุนบ่งชี้แนวทางการดำเนินการของบริษัทผู้ผลิตในการพยุงฐานะทางการเงินเพื่อให้อยู่รอด โดยลด CAPEX ลง ทั้งนี้ในเดือน ก.พ. 59 บริษัทผู้ผลิตน้ำมันหลายรายไม่สามารถจ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด อีกทั้งท่อน้ำมันดิบจากเคอร์ดิสถานสู่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งมี ปริมาณการขนส่ง 600,000  บาร์เรลต่อวัน ถูกก่อวินาศกรรม ในวันที่ 17 ก.พ. 59 ทำให้ท่อขนส่งน้ำมันรั่วไหล และยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติ นอกจากนั้นบริษัทน้ำมันแห่งชาติไนจีเรียประกาศเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) สำหรับการส่งมอบน้ำมันดิบชนิด Forcados ของไนจีเรีย ในวันที่ 21 ก.พ. 59 โดยปิดดำเนินการท่าส่งออกถึงเดือน เม.ย. 59  และกระทบต่อน้ำมันดิบที่มีกำหนดจะส่งออกจากท่าดังกล่าว ปริมาณ 249,000  บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.พ. - มี.ค. 59 ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวที่ระดับ 3438 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  ขณะที่น้ำมันดิบ NYMEX WTI เคลื่อนไหวที่ระดับ  31 - 35 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล   ราคาน้ำมันดิบ Dubai เคลื่อนไหวที่ระดับ 30-34 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

      ราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจากข่าว EIA รายงานความต้องการใช้น้ำมันเบนซิน ในสหรัฐฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน  5.2 % มาอยู่ที่ 9.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน  และรายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 256.5 ล้านบาร์เรล ลดลงเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือน พ.ย. 58 อย่างไรก็ตาม  Intermatioanl Enterprise Sungapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.63 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 15.13 ล้านบาร์เรล สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และ Petroleum Association of Japan (PAJ) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.66 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 11.13 ล้านบาร์เรล  ขณะที่ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์บริเวณ Amsterdam- Rotterdam- Antwerp (ARA) ในยุโรป สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 2.6 % มาอยู่ที่ 10.98 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันเบนซินอาจลงไปทดสอบแนวรับที่ 44 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  และมีแนวต้านที่ระดับ  48 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

                                                                                                                                        

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

          ราคาน้ำมันดีเซลลดลงจาก Platts รายงานอัตราการกลั่นของโรงกลั่นจีน ในเดือน ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2% มาเฉลี่ยอยู่ที่ 80% ผลสำรวจครอบคลุมโรงกลั่นน้ำมันของ Sinopec 13 โรง, Petrochina 13 โรง และโรงกลั่น Huizhou (กำลังการกลั่นรวม 6.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน)  ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ในสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.27 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 12.35 ล้านบาร์เรล แตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 3 เดือน  และ PAJ รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ก.พ. 59 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 10.74  ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม EIA รายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 160.7 ล้านบาร์เรล และ PJK รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดีเซลเชิงพาณิชย์บริเวณ ARA สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.พ. 59 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.3 % มาอยู่ที่ 25.17 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้ ราคาน้ำมันดีเซลอาจลงไปทดสอบแนวรับที่ 38.66 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล  และมีแนวต้านที่ระดับ  44.07 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!