WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

PTTวฒกร สตฐตผู้ผลิตแหล่งยาดานาหยุดซ่อมบำรุง เกิดปัญหาที่เครนยก ต้องเลื่อนแผนการทำงาน

    ศูนย์ติดตามสถานการณ์ผู้ผลิตแหล่งยาดานาหยุดซ่อมบำรุง ปี 2559 ของ ปตท. แจ้งเหตุ ผู้ผลิตฯ เกิดปัญหาที่เครนยกแท่นผลิต จำเป็นต้องเลื่อนแผนการทำงาน

       นายวุฒิกร สติฐิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่จัดหาและตลาดก๊าซธรรมชาติ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปตท. ได้เปิด 'ศูนย์ติดตามสถานการณ์ผู้ผลิตแหล่งยาดานาหยุดซ่อมบำรุง ปี 2559ในวันนี้ (วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2559) เพื่อติดตามความพร้อมและความก้าวหน้าในการดำเนินงานของผู้ผลิตเพื่อบริหารให้เป็นไปตามแผน ซึ่งล่าสุดได้รับรายงานจากผู้ผลิต ณ แหล่งก๊าซฯ ว่า เกิดปัญหาที่เครนยกแท่นผลิต ส่งผลให้แผนการดำเนินงานอาจล่าช้าจากเดิม

     จากการประสานงาน ขณะนี้ผู้ผลิตกำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาของสายสลิงที่ใช้ยกแท่นผลิต ทำให้จำเป็นต้องเลื่อนกำหนดการหยุดจ่ายก๊าซฯ ออกไป ซึ่ง ปตท. ได้รายงานสถานการณ์ไปยัง กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) แล้ว และเตรียมปรับแผนการดำเนินงาน รวมถึงการจัดเตรียมเชื้อเพลิงให้กับ กฟผ. จนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จ พร้อมทั้งประสานไปยังลูกค้าทุกกลุ่มเพื่อร่วมปรับแผนการดำเนินงานต่อไป

     ปตท. ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวกที่เกิดขึ้นอีกครั้ง และพร้อมเดินหน้าประสานงานกับผู้ผลิตฯ อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะมีการติดตามสถานการณ์และรายงานความคืบหน้าให้ทราบอย่างต่อเนื่องนายวุฒิกร กล่าว

ปตท. แจ้งผู้ผลิตฯ แก้ปัญหาที่แท่นผลิตได้แล้ว พร้อมเดินหน้าแผนหยุดจ่ายก๊าซฯ ยาดานา

    นายวุฒิกร สติฐิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่จัดหาและตลาดก๊าซธรรมชาติ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่ผู้ผลิตแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา สหภาพเมียนม่าร์ ประสบปัญหาที่เครนยกแท่นผลิต ส่งผลให้การหยุดจ่ายก๊าซฯ ล่าช้ากว่าแผนการดำเนินงานนั้น ขณะนี้ ผู้ผลิตสามารถแก้ปัญหาสายสลิงที่ใช้ยกแท่นผลิตเรียบร้อยแล้ว และได้เริ่มกระบวนการหยุดจ่ายก๊าซฯ เพื่อเข้าสู่กระบวนการซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซฯ ยาดานา ตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ. 2559 ในเวลา 21.40 น. ที่ผ่านมา โดยในเบื้องต้นคาดว่าจะเร่งดำเนินการให้กลับเข้าสู่ระยะเวลาตามแผน เพื่อให้สามารถจ่ายก๊าซฯ เข้าสู่ระบบตามปกติได้ภายในวันจันทร์ที่ 29 ก.พ. 2559 ศกนี้        

                สำหรับ สถานการณ์ล่าสุด การหยุดจ่ายก๊าซฯ เป็นไปได้ด้วยดี การดำเนินงานตามแผนซ่อมบำรุงคืบหน้าอยู่ที่ร้อยละ 2.5 การจัดหาเชื้อเพลิงสำรองสำหรับโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตกเป็นไปตามแผน โดยมีปริมาณการใช้น้ำมันของ วันที่ 25 ก.พ. 2559 ประกอบด้วย น้ำมันเตา อยู่ที่ 1.3 ล้านลิตร (สำรองคงเหลือที่ 67.2 ล้านลิตร) และน้ำมันดีเซล อยู่ที่ 0.4 ล้านลิตร (สำรองคงเหลือที่ 56.3 ล้านลิตร) โดย ปตท. ได้เพิ่มการสำรองก๊าซธรรมชาติเหลว และเตรียมพร้อมการเรียกรับก๊าซฯ จากฝั่งตะวันออก เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการเรียกใช้ของลูกค้าทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและสถานีบริการเอ็นจีวีด้วยเช่นกัน

    ปตท.ใคร่ขออภัยในความไม่สะดวก และขอขอบคุณทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในความเข้าใจและความร่วมมือในการปรับแผนดำเนินงานเร่งด่วน เพื่อให้การหยุดจ่ายก๊าซฯ สามารถเดินหน้าได้ตามปกติและเกิดผลกระทบน้อยที่สุด โดย ศูนย์ติดตามสถานการณ์ผู้ผลิตก๊าซฯ แหล่งยาดานา หยุดซ่อมบำรุง ประจำปี 2559” จะทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าและผลการดำเนินงานของผู้ผลิตฯ อย่างใกล้ชิดต่อไป” นายวุฒิกร กล่าวเสริม

ก.พลังงาน ยันแหล่งก๊าซฯยาดานาหยุดซ่อมไม่กระทบระบบความมั่นคงด้านพลังงานในปท.

    นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ในประเทศเมียนมาร์ ที่จะดำเนินการต่อเชื่อมแท่นผลิตใหม่ จากหลุม Badamyar และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรักษาระดับความสามารถในการจ่ายก๊าซ ซึ่งเบื้องต้นการซ่อมบำรุงดังกล่าว จะส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ ไม่สามารถจัดส่งให้ประเทศไทยได้ คิดเป็นปริมาณก๊าซที่จะหายไปประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

      ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย โดยกระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการรองรับ ได้แก่ การใช้น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลเดินเครื่องทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำมันเตารวม 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลรวม 8.1 ล้านลิตร ในส่วนของการบรรเทาผลกระทบในภาคขนส่ง ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และภาคอุตสาหกรรมบางส่วน จะใช้ก๊าซที่เก็บไว้ในระบบท่อ (Line Pack) ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ และทางบมจ.ปตท. ได้มีการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากฝั่งตะวันออกย้อนเข้าไปในระบบเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายไปในช่วงดังกล่าว

      นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานสั่งการให้ บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งยาดานานี้ และให้รายงานต่อกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระทรวงพลังงานจะขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง และขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์นี้ผ่านเว็บไซด์ www.sothailand.com/eppo/loadprofile/GenMapEN.aspx ซึ่งจะสามารถเห็นถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะตามเวลาจริง (real time)

      อินโฟเควสท์

ก.พลังงาน ยืนยัน การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ในช่วง 26 -29 กพ. นี้

      ไม่กระทบต่อระบบความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศ ยันเตรียมมาตรการรองรับใช้น้ำมันเตาและดีเซลทดแทน  พร้อมชวนประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

       นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 26 -29 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ในประเทศเมียนมาร์  ที่จะดำเนินการต่อเชื่อมแท่นผลิตใหม่ จากหลุม Badamyar และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรักษาระดับความสามารถในการจ่ายก๊าซ  ซึ่งเบื้องต้นการซ่อมบำรุงดังกล่าว จะส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ ไม่สามารถจัดส่งให้ประเทศไทยได้ คิดเป็นปริมาณก๊าซที่จะหายไปประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

         ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย  โดยกระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการรองรับ ได้แก่ การใช้น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลเดินเครื่องทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำมันเตารวม 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลรวม 8.1 ล้านลิตร  ในส่วนของการบรรเทาผลกระทบในภาคขนส่ง ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และภาคอุตสาหกรรมบางส่วน จะใช้ก๊าซที่เก็บไว้ในระบบท่อ (Line Pack) ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ และทางบมจ.ปตท. ได้มีการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากฝั่งตะวันออกย้อนเข้าไปในระบบเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายไปในช่วงดังกล่าว

    นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานสั่งการให้ บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งยาดานานี้ และให้รายงานต่อกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระทรวงพลังงานจะขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง และขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์นี้ผ่านเว็บไซด์ www.sothailand.com/eppo/loadprofile/GenMapEN.aspx  ซึ่งจะสามารถเห็นถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะตามเวลาจริง (real time) 

กฟผ.เตรียมพร้อมรับมือแหล่งยาดานาหยุดผลิต 25-28 ก.พ.เชื่อไม่กระทบผู้ใช้ไฟเหตุความต้องการไม่สูงมาก

        นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นประธานการประชุมเตรียมความพร้อมรองรับการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ จากสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน อันประกอบด้วย สำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บมจ.ปตท.  (PTT) โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก และ กฟผ. ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. บางกรวย นนทบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมกับการหยุดผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก ของปี 2559 จากแผนการหยุดจ่ายก๊าซที่มีจำนวนมากกว่า 15 ครั้ง ในปี 2559

       ทั้งนี้ กรณีการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อเชื่อมต่อแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบาดัมยาร์ (Badamyar) ซึ่งเป็นหลุมผลิตก๊าซธรรมชาติใหม่ของแหล่งยาดานาทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ส่งมาจากประเทศสหภาพเมียนมาร์ หายไปจากระบบวันละประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคขนส่ง (NGV) และภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ กฟผ. และปตท. ได้ร่วมกันบริหารจัดการให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศน้อยที่สุด

        โดยในส่วนของภาคขนส่ง อุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจากสหภาพเมียนมาประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน  ปตท. จะดำเนินการเก็บก๊าซธรรมชาติไว้ในท่อ (Pack Line) เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่อง  สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในฝั่งภาคตะวันตก ได้แก่ โรงไฟฟ้าบริษัท ราชบุรี จำกัด โรงไฟฟ้าบริษัทราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด โรงไฟฟ้าบริษัทไตรเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 3 ที่ใช้เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องหยุดเดินเครื่องแล้วไปผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าอื่นแทน  และมีบางส่วนที่ต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเพื่อเดินเครื่องรักษาความมั่นคงระบบไฟฟ้าตามความจำเป็น

      กฟผ. ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้ทุกด้าน ตั้งแต่ ด้านระบบผลิต ให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครเหนือชุดที่ 1 และ 2 เดินเครื่องด้วยก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออก ประสานงานโรงไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้เดินเครื่องเต็มความสามารถ และทดสอบโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ได้รับผลกระทบให้มีความพร้อมเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซลแทน

       ด้านเชื้อเพลิง สำรองน้ำมันให้เพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าที่ต้องใช้น้ำมันเดินเครื่องแทนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติที่หยุดจ่าย โดยคาดว่าจะใช้น้ำมันเตาประมาณ 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลประมาณ 8.1  ล้านลิตร นอกจากนี้ได้มีการประสานงานกับผู้จัดส่งน้ำมันให้มีการจัดส่งน้ำมันเสริมปริมาณสำรองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับความเสี่ยงหากการทำงานของผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติล่าช้าออกไปจากแผนได้

    ด้านระบบส่ง ได้มีการตรวจสอบสายส่งและอุปกรณ์สำคัญให้พร้อมใช้งานก่อนเริ่มหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และหยุดการบำรุงรักษาระบบส่งในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กฟผ. จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การรับมือเป็นไปตามแผนที่เตรียมไว้ร่วมกันของทุกภาคส่วน

      ทั้งนี้ การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ ทั้งฝั่งตะวันตก (เมียนมาร์) ฝั่งตะวันออก (อ่าวไทย) แหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (Joint Development Area : JDA) จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2559 มีมากกว่า 15 ครั้ง ซึ่งการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจะมีผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าอย่างมีนัยยะสำคัญ ดังนั้นระยะยาวเพื่อลดผลกระทบดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการกระจายการใช้เชื้อเพลิงการผลิตไฟฟ้าอย่างเหมาะสมโดยลดสัดส่วนการพึ่งพาก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าซึ่งปัจจุบันสูงมากถึงประมาณร้อยละ 70

     “กฟผ. ขอให้ความมั่นใจว่า ด้วยการวางแผนและเตรียมการรับมือร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาจทำให้การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตกจากสหภาพเมียนมาร์ ระหว่าง 25 – 28 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชน ซึ่ง กฟผ. ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนให้ช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้า หรือใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย" รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าว

                        อินโฟเควสท์

ก.พลังงาน ยันแหล่งก๊าซฯยาดานาหยุดซ่อมไม่กระทบระบบความมั่นคงด้านพลังงานในปท.

      นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 26-29 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ในประเทศเมียนมาร์ ที่จะดำเนินการต่อเชื่อมแท่นผลิตใหม่ จากหลุม Badamyar และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรักษาระดับความสามารถในการจ่ายก๊าซ ซึ่งเบื้องต้นการซ่อมบำรุงดังกล่าว จะส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ ไม่สามารถจัดส่งให้ประเทศไทยได้ คิดเป็นปริมาณก๊าซที่จะหายไปประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน

      ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย โดยกระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการรองรับ ได้แก่ การใช้น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลเดินเครื่องทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำมันเตารวม 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลรวม 8.1 ล้านลิตร ในส่วนของการบรรเทาผลกระทบในภาคขนส่ง ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และภาคอุตสาหกรรมบางส่วน จะใช้ก๊าซที่เก็บไว้ในระบบท่อ (Line Pack) ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ และทางบมจ.ปตท. ได้มีการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากฝั่งตะวันออกย้อนเข้าไปในระบบเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายไปในช่วงดังกล่าว

     นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานสั่งการให้ บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งยาดานานี้ และให้รายงานต่อกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระทรวงพลังงานจะขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง และขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์นี้ผ่านเว็บไซด์ www.sothailand.com/eppo/loadprofile/GenMapEN.aspx ซึ่งจะสามารถเห็นถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะตามเวลาจริง (real time)

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!