- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 25 February 2016 10:46
- Hits: 1535
กฟผ.-ปตท.เตรียมพร้อมรับมือแหล่งยาดานาหยุดผลิต 25-28 ก.พ.นี้ เชื่อไม่กระทบผู้ใช้ไฟ เหตุความต้องการต่ำ
นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึง กรณีการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2559 ว่าทางกฟผ. ได้เตรียมมาตรการรองรับไว้ทุกด้าน ตั้งแต่ ด้านระบบผลิต ให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม พระนครเหนือชุดที่ 1 และ 2 เดินเครื่องด้วยก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออก ประสานงานโรงไฟฟ้าพลัง น้ำจากประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวให้เดิน เครื่องเต็มความสามารถ และทดสอบ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ได้รับผลกระทบให้มีความพร้อมเดิน เครื่องด้วยน้ำมันดีเซลแทน
ด้านเชื้อเพลิง สำรองน้ำมันให้เพียงพอสำหรับโรงไฟฟ้าที่ต้องใช้น้ำมันเดินเครื่องแทนเชื้อ เพลิงก๊าซ ธรรมชาติที่หยุดจ่าย โดยคาดว่าจะใช้น้ำมันเตาประมาณ 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลประมาณ 8.1 ล้านลิตร นอกจากนี้ได้มีการประสานงานกับผู้จัดส่งน้ำมันให้มีการจัดส่งน้ำมันเสริม ปริมาณ สำรองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับความเสี่ยงหากการทำงานของผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติ ล่าช้า ออกไปจากแผนได้
ด้านระบบส่ง ได้มีการตรวจสอบสายส่งและอุปกรณ์สำคัญให้พร้อมใช้งานก่อนเริ่มหยุดจ่ายก๊าซ ธรรมชาติ และหยุดการบำรุงรักษาระบบส่งในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม กฟผ. จะติดตาม สถานการณ์อย่างใกล้ชิดเพื่อให้การรับมือเป็นไปตามแผนที่เตรียม ไว้ร่วมกันของทุกภาคส่วน
โดยภาคขนส่ง อุตสาหกรรม และโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดเล็ก (SPP) ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ จากสหภาพเมียนมาประมาณ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ปตท. จะดำเนินการเก็บก๊าซธรรมชาติไว้ใน ท่อ (Pack Line) เพื่อให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติมีพลังงานใช้อย่างต่อเนื่อง สำหรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ในฝั่งภาคตะวันตก ได้แก่ โรงไฟฟ้าบริษัท ราชบุรี จำกัด โรงไฟฟ้าบริษัทราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด โรงไฟฟ้าบริษัทไตรเอ็นเนอร์ยี่ จำกัด และ โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมพระนครใต้ชุดที่ 3 ที่ใช้เชื้อ เพลิงก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ต้องหยุดเดินเครื่อง แล้วไปผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าอื่น แทน และมีบางส่วนที่ต้องเปลี่ยนไปใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเพื่อเดินเครื่องรักษาความ มั่นคงระบบไฟฟ้า ตามความจำเป็น
"กฟผ. ขอให้ความมั่นใจว่า ด้วยการวางแผนและเตรียมการรับมือร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง อาจทำให้การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันตกจากสหภาพเมียนมาร์ ระหว่าง 25 - 28 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ ไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้ไฟฟ้าของประชาชน ซึ่ง กฟผ. ต้องขอความร่วมมือ จากประชาชนให้ช่วยกันลดการใช้ไฟฟ้า หรือใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเสริมความมั่นคงของ ระบบไฟฟ้าในช่วงเวลาดังกล่าวอีกทางหนึ่งด้วย" รองผู้ว่าการระบบส่ง กฟผ. กล่าว
ทั้งนี้ การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งยาดานา ประเทศสหภาพเมียนมาร์ ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2559 เพื่อเชื่อมต่อแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติบาดัมยาร์ (Badamyar) ซึ่งเป็นหลุม ผลิตก๊าซธรรมชาติใหม่ของแหล่งยาดานาทำให้ก๊าซธรรมชาติที่ส่งมา จากประเทศสหภาพเมียนมาร์ หายไปจากระบบวันละประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติทั้งภาค การผลิตไฟฟ้า ภาคขนส่ง (NGV) และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งหน่วยงานภาครัฐ กฟผ. และปตท. ได้ ร่วมกันบริหารจัดการให้เกิดผลกระทบต่อภาพรวมของประเทศน้อยที่สุด
โดยวันนี้กฟผ.ได้ประชุมเตรียมความพร้อมรองรับการหยุดจ่าย ก๊าซธรรมชาติ จากสหภาพเมียนมาร์ ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและเอกชน อัน ประกอบด้วย สำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน การไฟฟ้า นครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บมจ.ปตท. (PTT) โรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้าเอกชน ขนาดเล็ก และ กฟผ. ณ สำนักงานใหญ่ กฟผ. บางกรวย นนทบุรี เพื่อเตรียมความพร้อมกับการ หยุดผลิตก๊าซธรรมชาติเป็นครั้งแรก ของปี 2559 จากแผนการหยุดจ่ายก๊าซที่มีจำนวนมากกว่า 15 ครั้ง ในปี 2559 ทั้งนี้
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ก.พลังงาน ยืนยัน การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ในช่วง 26 -29 กพ. นี้ ไม่กระทบความมั่นคง
ก.พลังงาน ยืนยัน การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซธรรมชาติยาดานา ในช่วง 26 -29 กพ. นี้ ไม่กระทบต่อระบบความมั่นคงด้านพลังงานในประเทศ ยันเตรียมมาตรการรองรับใช้น้ำมันเตาและดีเซลทดแทน พร้อมชวนประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด
นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์ ในฐานะรองโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในระหว่างวันที่ 26 -29 กุมภาพันธ์ 2559 นี้ กระทรวงพลังงานได้รับรายงานจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในแหล่งยาดานา ในประเทศเมียนมาร์ ที่จะดำเนินการต่อเชื่อมแท่นผลิตใหม่ จากหลุม Badamyar และจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพื่อรักษาระดับความสามารถในการจ่ายก๊าซ ซึ่งเบื้องต้นการซ่อมบำรุงดังกล่าว จะส่งผลให้ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมาร์ ไม่สามารถจัดส่งให้ประเทศไทยได้ คิดเป็นปริมาณก๊าซที่จะหายไปประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า การหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติดังกล่าว จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาพรวมการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย โดยกระทรวงพลังงานได้เตรียมมาตรการรองรับ ได้แก่ การใช้น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซลเดินเครื่องทดแทนปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ลดลง โดยคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณการใช้น้ำมันเตารวม 34.8 ล้านลิตร และน้ำมันดีเซลรวม 8.1 ล้านลิตร ในส่วนของการบรรเทาผลกระทบในภาคขนส่ง ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) และภาคอุตสาหกรรมบางส่วน จะใช้ก๊าซที่เก็บไว้ในระบบท่อ (Line Pack) ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการ และทางบมจ.ปตท. ได้มีการจ่ายก๊าซธรรมชาติจากฝั่งตะวันออกย้อนเข้าไปในระบบเพื่อทดแทนก๊าซธรรมชาติที่ขาดหายไปในช่วงดังกล่าว
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานสั่งการให้ บมจ.ปตท. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์การหยุดซ่อมบำรุงแหล่งยาดานานี้ และให้รายงานต่อกระทรวงพลังงานอย่างใกล้ชิด รวมถึงกระทรวงพลังงานจะขอความร่วมมือให้ประชาชนร่วมกันรณรงค์ลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง และขอให้ประชาชนมีส่วนร่วมติดตามสถานการณ์นี้ผ่านเว็บไซด์ www.sothailand.com/eppo/loadprofile/GenMapEN.aspx ซึ่งจะสามารถเห็นถึงปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าในลักษณะตามเวลาจริง (real time)