ราคาน้ำมันดิบผันผวนจากความไม่แน่นอนของผลการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (22 - 26 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่าจะยังคงผันผวน เนื่องจากความพยายามในการลดหรือคงกำลังการผลิตที่ระดับปัจจุบันของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและรัสเซียยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน แม้ว่าอิหร่านจะออกมาสนับสนุนความพยายามในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันดิบ แต่ความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะลดหรือคงปริมาณการผลิตที่ระดับปัจจุบันนั้นมีค่อนข้างน้อย ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจะยังคงไม่คลี่คลายและส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้มากนัก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
จับตาการเจรจาระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปกต่อการปรับลดหรือคงกำลังการผลิตว่าจะออกมาในทิศทางใด หลังซาอุดิอาระเบีย กาต้าร์ เวเนซุเอลา อิรัก และรัสเซียตกลงที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนมกราคม ประกอบกับ อิหร่านเองออกมาสนับสนุนความพยายามของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันดิบ ด้วยการคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนมกราคม อย่างไรก็ดีไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าปริมาณการผลิตจะถูกคงไว้ที่ระดับเดิมต่อไปหรือไม่ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าโอกาสที่อิหร่านจะลดหรือคงการผลิตที่ระดับปัจจุบันมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากอิหร่านเองต้องการจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้กลับไปสู่ระดับก่อนที่จะถูกคว่ำบาตรเพื่อฟื้นรายได้ให้กับประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าอิหร่านมีการเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากเดิมที่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันก่อนได้รับการยกเลิกคว่ำบาตรมาอยู่ที่ราว 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์และจะเพิ่มขึ้นเป็นราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคม หลังมีการเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบไปยังตลาดยุโรปเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.พ. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยปรับตัวลดลงกว่า 3.3 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 499.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 0.18 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 64.82 ล้านบาร์เรล หลังปริมาณน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสร้างความกังวลว่าพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทน้ำมันเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบมากขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นการส่งออกไปยังยุโรป
ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการขุดหลุมใหม่ โดยจากข้อมูลล่าสุดรายงานโดย Baker Hughes พบว่าจำนวนหลุมขุดเจาะในสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ 12 ก.พ. 59 ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2553 ที่ 439 หลุมและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องหลังบริษัทขุดเจาะหลายรายมีการปรับลดงบประมาณ โดยบริษัทลงทุนทางการเงินใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Raymond James คาดหลุมขุดเจาะจะลดลงต่อเนื่องในครึ่งปีแรกเนื่องจากราคาน้ำมัน WTI จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 เหรียญฯ ก่อนปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในครึ่งปีหลัง เมื่อราคาน้ำมัน WTI ดีดตัวเพิ่มขึ้นไปเฉลี่ยที่ระดับ 60 เหรียญฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ รายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ และ จีดีพี Q4/15 สหรัฐฯ
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 – 19 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 29.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 0.35 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 33.01 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 31 เหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดได้รับแรงหนุนหลังจากอิหร่านออกมาขานรับว่าจะสนับสนุนความพยายามของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันโดยการคงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ระดับปริมาณการผลิตในเดือนมกราคม ถึงแม้ว่าอิหร่านไม่ได้ระบุไว้ว่าจะคงกำลังการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกันกับเดือนมกราคม ตามผู้ผลิตรายอื่นในกลุ่มโอเปก แต่การแสดงความพร้อมของอิหร่านที่จะร่วมมือกับผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกถือเป็นสัญญาณเชิงบวก เนื่องจากเป็นการร่วมมือครั้งแรกในรอบ 15 ปี ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.พ. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ประมาณ 499.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น
Weekly_Oil_TH_2016 02 18
ราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น หลัง IEA คาดอุปทานน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ ปรับลดลงทั้งในปีนี้และปีหน้า
+ ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นหลังสำนักงานพลังงานสากล (IEA) คาดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ จะปรับลดลงกว่า 600,000 บาร์เรลต่อวันในปีนี้และกว่า 200,000 บาร์เรลต่อวันในปีหน้า หลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงมากส่งผลให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ไม่คุ้มทุนในการผลิตและต้องปรับลดงบลงทุน (CAPEX) ลงต่อเนื่องกว่า 2 ปีติดต่อกัน ทำให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ มีการลดปริมาณหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ลงต่อเนื่องสอดคล้องกับงบลงทุนที่ปรับลดลง โดยจากรายงานของ Baker Huges พบว่าปริมาณหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบสำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. ปรับลดลงต่อเนื่องกว่า 9 สัปดาห์ติดต่อกันมาอยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ที่ระดับ 413 แท่น
+ นอกจากนั้น ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากความพยายามของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกที่จะรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน โดยล่าสุดเลขาธิการกลุ่มโอเปก ได้ออกมากล่าวว่า กลุ่มผู้ผลิตยังคงพร้อมที่จะเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกและหามาตรการเพิ่มเติมเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา อย่างไรก็ตาม โอเปกจะยังไม่มีการจัดประชุมพิเศษในประเด็นดังกล่าวจนกว่าจะถึงการประชุมโอเปกในเดือน มิ.ย. เนื่องจากโอเปกเชื่อว่าผลของความตกลงของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับการผลิตในเดือน ม.ค. จะช่วยลดปริมาณอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินในตลาดลงได้ โดยในวันนี้ตลาดจับตาการประชุม CERAWeek ซึ่งเป็นการประชุมเกี่ยวข้องกับพลังงานที่จะมีนายกรัฐมนตรีซาอุดิอาระเบียออกมากล่าวครั้งแรกในรอบ 2 ปีหลังจากที่ได้มีการตัดสินใจว่าจะคงปริมาณการผลิตในระดับสูงเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด
- อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องจากผลการสำรวจนักวิเคราะห์ โดยสำนักข่าว Reuters พบว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.พ. มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 3.2 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นเหนือระดับปัจจุบันที่ 504.1 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากตลาดน้ำมันเบนซินสหรัฐฯ ที่ฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ประกอบกับ อุปสงค์ในภูมิภาคโดยเฉพาะจากอินโดนีเซียที่ยังคงอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ดี ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันคงคลังในภูมิภาคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปทานในภูมิภาคที่อยู่ในระดับสูง หลังจีนและซาอุดิอาระเบียยังคงส่งออกในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ราคายังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่เพิ่มขึ้นกว่า 800,000 ตันในช่วงที่ผ่านมาและจากอินโดนีเซียที่เพิ่มการนำเข้าสูงขึ้น
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 27-34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 30-37 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการเจรจาระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปกในการปรับลดหรือคงกำลังการผลิตว่าจะออกมาในทิศทางใดหลังซาอุดิอาระเบีย กาต้าร์ เวเนซุเอลา อิรัก และรัสเซียตกลงที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับการผลิตในเดือน ม.ค. ประกอบกับ อิหร่านเองที่ออกมาสนับสนุนความพยายามในการรักษาเสถียรภาพราคาโดยการคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับการผลิตเดือน ม.ค. แม้ว่าอิหร่านจะไม่ได้มีการระบุชัดเจนว่าจะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดิมหรือไม่
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 504.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดในรอบหลายปี ประกอบกับ น้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ยังคงอยู่ในระดับที่สูงถึง 64.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 89 ของความจุของถังเก็บน้ำมัน แม้ว่าอาทิตย์ที่ผ่านมาจะมีความพยายามในการส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเพื่อลดปริมาณสต๊อกน้ำมันดิบก็ตาม
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตาม
วันที่ ดัชนี ก่อนหน้า ประกาศ
วันศุกร์ ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ - ม.ค. (MoM) -0.1% 0.0%
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคยูโรโซน - ก.พ. -6.3 -9.0
วันจันทร์ ดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน - ก.พ. 52.3 51.0
ดัชนีภาคการบริการยูโรโซน - ก.พ. 53.6 53.6
วันอังคาร ความเชื่อมันผู้บริโภคสหรัฐฯ - ก.พ. 98.10
วันพุธ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ 0.544M
วันพฤหัสบดี ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน 0.00
จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ 262K
ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ -5.1%
วันศุกร์ รายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ 0
จีดีพี Q4/15 สหรัฐฯ 0.7%
ราคาขายปลีก (บาท/ลิตร)
UG95 GSH95 GSH91 E20 E85 Diesel
ราคาขายปลีก 29.06 22.10 21.68 19.54 16.89 20.69
ราคาน้ำมันดิบผันผวนจากความไม่แน่นอนของผลการเจรจาระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (22 - 26 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่าจะยังคงผันผวน เนื่องจากความพยายามในการลดหรือคงกำลังการผลิตที่ระดับปัจจุบันของผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและรัสเซียยังไม่มีข้อสรุปที่แน่นอน แม้ว่าอิหร่านจะออกมาสนับสนุนความพยายามในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันดิบ แต่ความเป็นไปได้ที่อิหร่านจะลดหรือคงปริมาณการผลิตที่ระดับปัจจุบันนั้นมีค่อนข้างน้อย ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจะยังคงไม่คลี่คลายและส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบไม่สามารถฟื้นตัวขึ้นได้มากนัก อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดิบสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงตามปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 ปี
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
จับตาการเจรจาระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกโอเปกต่อการปรับลดหรือคงกำลังการผลิตว่าจะออกมาในทิศทางใด หลังซาอุดิอาระเบีย กาต้าร์ เวเนซุเอลา อิรัก และรัสเซียตกลงที่จะคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนมกราคม ประกอบกับ อิหร่านเองออกมาสนับสนุนความพยายามของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันดิบ ด้วยการคงปริมาณการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกับการผลิตในเดือนมกราคม อย่างไรก็ดีไม่ได้มีการระบุอย่างชัดเจนว่าปริมาณการผลิตจะถูกคงไว้ที่ระดับเดิมต่อไปหรือไม่ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าโอกาสที่อิหร่านจะลดหรือคงการผลิตที่ระดับปัจจุบันมีค่อนข้างน้อย เนื่องจากอิหร่านเองต้องการจะเพิ่มปริมาณการผลิตให้กลับไปสู่ระดับก่อนที่จะถูกคว่ำบาตรเพื่อฟื้นรายได้ให้กับประเทศ โดยข้อมูลล่าสุดพบว่าอิหร่านมีการเพิ่มปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากเดิมที่ระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวันก่อนได้รับการยกเลิกคว่ำบาตรมาอยู่ที่ราว 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนกุมภาพันธ์และจะเพิ่มขึ้นเป็นราว 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมีนาคม หลังมีการเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบไปยังตลาดยุโรปเพิ่มมากขึ้น
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.พ. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 ติดต่อกัน โดยปรับตัวลดลงกว่า 3.3 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 499.1 ล้านบาร์เรล เนื่องจากมีการนำเข้าน้ำมันดิบลดลง ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับลดลง 0.18 ล้านบาร์เรลมาอยู่ที่ระดับ 64.82 ล้านบาร์เรล หลังปริมาณน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องสร้างความกังวลว่าพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบอาจจะไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทน้ำมันเพิ่มการส่งออกน้ำมันดิบมากขึ้น โดยคาดว่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นนั้นจะเป็นการส่งออกไปยังยุโรป
ปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังราคาน้ำมันดิบที่ปรับลดลงอย่างมากทำให้ไม่คุ้มค่าต่อการขุดหลุมใหม่ โดยจากข้อมูลล่าสุดรายงานโดย Baker Hughes พบว่าจำนวนหลุมขุดเจาะในสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ 12 ก.พ. 59 ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2553 ที่ 439 หลุมและมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องหลังบริษัทขุดเจาะหลายรายมีการปรับลดงบประมาณ โดยบริษัทลงทุนทางการเงินใหญ่ในสหรัฐฯ อย่าง Raymond James คาดหลุมขุดเจาะจะลดลงต่อเนื่องในครึ่งปีแรกเนื่องจากราคาน้ำมัน WTI จะอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 40 เหรียญฯ ก่อนปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในครึ่งปีหลัง เมื่อราคาน้ำมัน WTI ดีดตัวเพิ่มขึ้นไปเฉลี่ยที่ระดับ 60 เหรียญฯ
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและบริการของยูโรโซน ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ยอดขายบ้านใหม่สหรัฐฯ ยอดสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ รายจ่ายส่วนบุคคลสหรัฐฯ และ จีดีพี Q4/15 สหรัฐฯ
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (15 – 19 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 29.64 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 0.35 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 33.01 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 31 เหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดได้รับแรงหนุนหลังจากอิหร่านออกมาขานรับว่าจะสนับสนุนความพยายามของซาอุดิอาระเบียและรัสเซียในการสร้างเสถียรภาพต่อราคาน้ำมันโดยการคงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบไว้ที่ระดับปริมาณการผลิตในเดือนมกราคม ถึงแม้ว่าอิหร่านไม่ได้ระบุไว้ว่าจะคงกำลังการผลิตไว้ที่ระดับเดียวกันกับเดือนมกราคม ตามผู้ผลิตรายอื่นในกลุ่มโอเปก แต่การแสดงความพร้อมของอิหร่านที่จะร่วมมือกับผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปกถือเป็นสัญญาณเชิงบวก เนื่องจากเป็นการร่วมมือครั้งแรกในรอบ 15 ปี ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 12 ก.พ. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องติดกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ประมาณ 499.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น