WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL36ราคาน้ำมันดิบดิ่งลงอีกครั้ง จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่ไม่เปลี่ยนแปลงหลังการเจรจา ณ กรุงโดฮาสิ้นสุดลง
 - ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลง หลังผลการประชุมระหว่างประเทศผู้ส่งออกน้ำมันดิบรายใหญ่ ได้แก่ ประเทศซาอุดิอาระเบีย รัสเซีย กาตาร์ และ เวเนซุเอลา ณ กรุงโดฮา เมื่อวานนี้จบลงพร้อมกับข้อตกลงที่ว่า ประเทศที่เข้าประชุมจะไม่เพิ่มปริมาณน้ำมันดิบออกสู่ตลาด แต่จะคงกำลังการผลิตไว้ในระดับเดียวกับที่ผ่านมา โดยข้อตกลงดังกล่าวจะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อประทศอื่นๆไม่เพิ่มกำลังการผลิตด้วยเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดี ปริมาณการผลิตในเดือน ม.ค. ของทั้งสี่ประเทศอยู่ในระดับสูง การคงปริมาณการผลิตครั้งนี้จึงอาจมีผลไม่มากนักต่อราคาน้ำมัน
  - ขณะที่อิหร่านยังไม่มีข้อตกลงใดๆ และเดินหน้าทำการผลิตและส่งออกน้ำมันดิบ โดยจะไม่คงกำลังการผลิตเท่ากับเดือน ม.ค. ดังข้อตกลง เนื่องจากต้องการส่วนแบ่งการตลาดคืนมาให้เร็วที่สุดจากช่วงที่ถูกนานาชาติคว่ำบาตร
  - Goldman Sachs คาดว่าการเจรจาในครั้งนี้จะเกิดผลต่อราคาน้ำมันดิบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากปริมาณน้ำมันดิบยังคงล้นตลาดและประเทศอื่นๆ ยังไม่มีท่าทีตอบรับการเจรจาในครั้งนี้
  - นอกจากนี้ Genscape รายงานว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับสูงขึ้น 705,000 บาร์เรลในสัปดาห์ที่ 12 ก.พ. มาอยู่ที่ 65.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งใกล้กับความสามารถในการจุทั้งหมดที่ 73 ล้านบาร์เรล ยิ่งส่งผลต่อความกังวลต่อสถานการณ์น้ำมันดิบล้นตลาดในปัจจุบัน

      ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ สอดคล้องกับการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันเบนซินที่ตลาด NYMEX อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศแทนซาเนีย
  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากอุปสงค์ที่ทรงตัวในภูมิภาคเอเชีย อย่างไรก็ดี ยังมีอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศ มาเลเซียและเวียดนาม

ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 28-35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
  ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 31-38 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่น่าจับตามอง
  จับตาการหารือระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกว่าจะได้ข้อสรุปในประเด็นปรับลดกำลังการผลิตเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบได้หรือไม่ หลังล่าสุดทั้งอิหร่านและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ออกมาแสดงความพร้อมมากขึ้นที่จะเจรจาในประเด็นดังกล่าว
  ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องไปแตะระดับสูงสุดในประวัติการณ์ที่ 65 ล้านบาร์เรล ซึ่งคิดเป็นกว่าร้อยละ 89 ของปริมาณถังน้ำมันทั้งหมด โดยประเด็นดังกล่าวสร้างความกังวลว่าพื้นที่ในการจัดเก็บน้ำมันดิบ ณ จุดส่งมอบอาจจะไม่เพียงพอ
  สถานการณ์ภาวะอุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจะเป็นอย่างไร หลัง IEA คาดปีนี้น้ำมันจะยังคงล้นตลาดอยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวันไตรมาสแรก และกว่า 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในไตรมาสสอง หลังผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกยังคงปริมาณการผลิตในระดับสูงเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด

Daily_Oil_TH 2016.02.17

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!