- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 11 February 2016 19:38
- Hits: 2194
ราคาน้ำมันดิบ WTI ลดลงหลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มสูงสุด ขณะที่เบรนท์ปรับเพิ่มขึ้นหลังรัสเซียแนะนำให้ลดกำลังการผลิต
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับตัวลดลงหลังจากสำนักงานสารสนเทศด้านการพลังงานของสหรัฐ (EIA)
รายงานว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐ ณ จุดส่งมอบที่เมืองคุชชิ่ง โอกลาโฮม่า ปรับตัวสู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 65 ล้านบาร์เรล โดยที่น้ำมันเบนซินคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าระดับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ ในขณะที่น้ำมันดีเซลและน้ำมันทำความร้อนคงคลังปรับเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์เอาไว้ว่าจปรับะลดลง 1.6 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตามปริมาณน้ำมันดิบคงคลังโดยรวมปรับตัวลดลงเนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันลดลง
+ ในขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 วันหลังจากที่นายอิกอร์ เซชิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท Rosneft ซึ่งป็นบริษัทพลังงาน ของรัสเซียแนะนำว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ควรจะร่วมมือกันลดกำลังการผลิตวันละ 1 ล้านบาร์เรล เพื่อลดอุปทานส่วนเกินในตลาดที่คาดว่ามีปริมาณถึง 1.5 ล้านบาร์เรล ในขณะที่รัฐมนตรีของประเทศอิหร่านพร้อมที่จะเจรจากับซาอุดิอาระเบียเพื่อลดกำลังการผลิต
- รายงานประจำเดือนของกลุ่มประเทศโอเปก (OPEC) ฉบับล่าสุดระบุว่าในปีนี้ จะมีปริมาณอุปทานส่วนเกินประมาณวันละ 720,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากรายงานครั้งก่อนที่ระบุว่าจะมีปริมาณอุปทานส่วนเกินวันละ 530,000 บาร์เรล โดยที่กลุ่มประเทศโอเปกทำการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 130,000 บาร์เรลต่อวัน สู่ระดับการผลิตที่ 32.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะทีปริมาณความต้องการน้ำมันที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.54 ล้านบาร์เรล/วัน ถูกปรับลดลงเหลือเพียง 1.25 ล้านบาร์เรล/วัน
+ นอกจากนี้ Valero Energy Corp ซึ่งเป็นโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐระบุว่าอาจจะต้องทำการลดกำลังการผลิตลง 25% เนื่องจากว่ามี ค่าการกลั่นที่ไม่คุ้มทุน ประกอบกับมีอุปสงค์สำหรับน้ำมันในช่วงฤดูหนาวที่น้อยลง
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณการส่งออกน้ำมันเบนซินจากจีนเพิ่มขึ้นหลังจากที่ผู้ผลิตน้ำมันในประเทศได้รับอนุญาตจากทางรัฐบาลให้ส่งออกน้ำมันสำเร็จรูปได้ อีกทั้งทางไต้หวันมีการส่งออกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้น 2% หากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเนื่องจากตลาดได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการซื้อน้ำมันดีเซลจากประเทศญี่ปุ่นที่มากขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดยังคงเผชิญภาวะน้ำมันดีเซลล้นตลาดหลังจากทางประเทศคูเวตและมาเลเซีย มีการส่งออกน้ำมันดีเซลมากขึ้น
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 27-34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 29-36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการหารือกันระหว่างกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันดิบว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบหรือไม่
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังจากอิหร่านได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติมหาอำนาจ โดยล่าสุดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.44 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2558 กว่า 20%
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลล่าสุดรายงานโดย EIA เปิดเผยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ (สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ม.ค. 59) ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 7.8 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 502.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์