- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 08 February 2016 16:11
- Hits: 1360
ไทยออยล์ คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 8-12 ก.พ.59 และสรุปสถานการณ์ฯ 1-5 ก.พ.59
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (8 - 12 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้ คาดว่า ยังคงผันผวน เนื่องจากการหารือกันระหว่างรัสเซียและผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าโอกาสที่จะปรับลดกำลังการผลิตเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงต้องการรักษาส่วนแบ่งการตลาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานส่วนเกินจากอิหร่านที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงสนับสนุนหลังจากผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในสหรัฐฯ ประกาศว่าจะปรับลดการลงทุนในการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบลงในปี 2559
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
จับตาการหารือกันระหว่างรัสเซียและผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบหรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้ นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย แสดงความพร้อมในการเข้าร่วมการประชุมกับผู้ผลิตในกลุ่มโอเปก ซึ่งอาจมีการพิจารณาข้อเสนอในการปรับลดกำลังผลิตลงร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม หลังการเจรจากันระหว่างรัสเซียและเวเนซุเอลาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อตกลงเพื่อปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก นอกจากนี้ วาณิชธนกิจรายใหญ่รายหนึ่ง ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่ทางกลุ่มโอเปกและรัสเซียจะลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่กลัวที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด รวมไปถึงอิหร่านที่ยังไม่สมัครใจในการหารือครั้งนี้จนกว่าจะเพิ่มกำลังการส่งออกได้รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังจากอิหร่านได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติมหาอำนาจ โดยล่าสุดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.44 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในปี 2558 กว่า 20% โดยอิหร่านวางแผนที่จะส่งออกน้ำมันดิบส่วนราคาน้ำมันดิบผันผวน จากความไม่แน่นอนในการหารือกันเพื่อปรับลดกำลังการผลิตระหว่างรัสเซียและกลุ่มโอเปก
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (8 - 12 ก.พ. 59)
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้คาดว่ายังคงผันผวน เนื่องจากการหารือกันระหว่างรัสเซียและผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบยังคงมีความไม่แน่นอนสูง โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าโอกาสที่จะปรับลดกำลังการผลิตเป็นไปได้ค่อนข้างยากเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงต้องการรักษาส่วนแบ่งการตลาด นอกจากนี้ ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานส่วนเกินจากอิหร่านที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม ตลาดได้รับแรงสนับสนุนหลังจากผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ในสหรัฐฯ ประกาศว่าจะปรับลดการลงทุนในการสำรวจและผลิตน้ำมันดิบลงในปี 2559
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
จับตาการหารือกันระหว่างรัสเซียและผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกว่าจะมีการปรับลดกำลังการผลิตลงเพื่อพยุงราคาน้ำมันดิบหรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้ นายอเล็กซานเดอร์ โนวัค รัฐมนตรีพลังงานของรัสเซีย แสดงความพร้อมในการเข้าร่วมการประชุมกับผู้ผลิตในกลุ่มโอเปก ซึ่งอาจมีการพิจารณาข้อเสนอในการปรับลดกำลังผลิตลงร้อยละ 5 อย่างไรก็ตาม หลังการเจรจากันระหว่างรัสเซียและเวเนซุเอลาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อตกลงเพื่อปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบระหว่างผู้ผลิตในกลุ่มโอเปกและนอกกลุ่มโอเปก นอกจากนี้ วาณิชธนกิจรายใหญ่รายหนึ่ง ให้ความเห็นว่ามีความเป็นไปได้น้อยมากที่ทางกลุ่มโอเปกและรัสเซียจะลดกำลังการผลิตลงเนื่องจากผู้ผลิตส่วนใหญ่กลัวที่จะสูญเสียส่วนแบ่งการตลาด รวมไปถึงอิหร่านที่ยังไม่สมัครใจในการหารือครั้งนี้จนกว่าจะเพิ่มกำลังการส่งออกได้รวมทั้งสิ้น 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังจากอิหร่านได้รับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจจากชาติมหาอำนาจ โดยล่าสุดปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะอยู่ที่ 1.44 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในปี 2558 กว่า 20% โดยอิหร่านวางแผนที่จะส่งออกน้ำมันดิบส่วนใหญ่กว่า 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปยังภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอินเดีย จีน และญี่ปุ่น เนื่องจากยังประสบกับปัญหาเรื่องระบบการประกันภัยและการทำธุรกรรมทางการเงิน ในการส่งออกน้ำมันดิบไปยังทวีปยุโรป ล่าสุดในเดือน ม.ค. ปริมาณการส่งออกอยู่ที่ 1.83 แสนบาร์เรลต่อวันและจะปรับเพิ่มเป็น 3แสนบาร์เรลต่อวันในเดือน ก.พ. นอกจากนี้ อิหร่านยังเตรียมเพิ่มการส่งออกน้ำมันไปยังญี่ปุ่นจาก 110,000 บาร์เรลต่อวันในช่วงที่ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจ เป็น 300,000 บาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องโดยข้อมูลล่าสุดรายงานโดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ ฯ( EIA) เปิดเผยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ (สิ้นสุด ณ วันที่ 29 ม.ค. 59) ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 7.8 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 502.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นระดับที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นราว 0.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับกำลังการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันที่ปรับลดลงร้อยละ 0.8 นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกันที่ระดับ5.9 ล้านบาร์เรล ขณะที่ ปริมาณน้ำมันกลุ่มให้ความร้อนปรับลดลง 0.7 ล้านบาร์เรล
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน และยอดค้าปลีกของสหรัฐฯ ยอดค้าปลีก และผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของจีน ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม และจีดีพี (Q4/15) ของยูโรโซน
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 – 5 ก.พ.59)
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง 2.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 30.89 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับตัวลดลง 0.68 เหรียญสหรัฐฯ ปิดที่ 34.06 เหรียญสหรัฐฯ ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 29.95 เหรียญสหรัฐฯ โดยตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากข่าวการหารือเพื่อปรับลดกำลังการผลิต แม้ว่าจะยังมีความไม่แน่นอน นอกจากนี้ ตลาดยังคงได้รับแรงหนุนจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนค่าลง เนื่องจากตลาดคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ จะยังคงไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งต่อไปในเดือน มี.ค. เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจยังคงเปราะบาง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจจีนโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมที่ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีภาคการผลิตจีน (NBS Manufacturing PMI) ประจำเดือน ม.ค. ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับที่ต่ำสุดในรอบ 4 ปี ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์