WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปิยสวัสดิ์ แนะรื้อโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนกลไล-ป้องกันการแทรกแซง

     นายปิยสวัสดิ์ อัมะนันทน์ อดีตรมว.พลังงาน ในฐานะประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม กล่าวในงานสัมนาเรื่อง'พลังงานไทย ปฎิรูปอย่างไรให้ถูกทาง'ว่า ปัญหาพลังงานของประเทศไทยมาจากการนำเข้าพลังงานสูง โดยมียอดนำเข้าสุทธิ 1 ล้านล้านบาท และมีปริมาณสำรองจำกัด ซึ่งยิ่งน่าเป็นห่วงว่าปริมาณสำรองมีแนวโน้มลดลง จึงจำเป็นต้องนำเข้าพลังงานมากและในราคาที่สูง จึงจะส่งผลค่า Ft ที่ติดรวมในโครงสร้างค่าไฟฟ้าสูงขึ้นด้วย

     ขณะเดียวกันโครงสร้างราคาพลังงานของไทยบิดเบือนค่อนข้างมาก โดยน้ำมันเบนซินมีราคาแพงเกินไป เพราะถูกหักเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงและเก็บภาษีสูงมาก ในขณะที่ดีเซลแทบไม่มีการเก็บภาษี ส่วนราคาขายก๊าซธรรมชาติ(NGV)ก็ต่ำเกินไป นอกจากนี้มีการแทรกแซงจากรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ รวมไปถึงการแทรกแซงของฝ่ายการเมือง หรือกลุ่มผลประโยชน์ โดยเฉพาะนโยบายประชานิยมที่เอาใจประชาชนระยะสั้น แต่จะส่งเสียต่อประเทศในระยะยาว

     ดังนั้น จึงเสนอให้มีการปฏิรูปพลังงานด้วยการปรับโครงสร้างราคา เพื่อนำไปสู่การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยราคาพลังงานควรจะสะท้อนตลาดที่แท้จริงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้ใช้ทุกกลุ่ม รวมทั้งควรจะสะท้อนต้นทุนด้วย เพื่อให้มีการแข่งขันที่แท้จริง ปัจจุบัน บมจ.ปตท.(PTT)มีส่วนแบ่งการตลาดพลังงานในประเทศมากเกินไป ทำให้เกิดข้อสงสัยในการกำหนดราคา นอกจากนั้น ยังเห็นวา ปตท.ควรแยกธุรกิจท่อก๊าซออกมา อาจให้ฝ่ายรัฐถือหุ้นเกิน 50% ได้ แต่ไม่ควรเต็ม 100% และเปิดให้บุคคลที่ 3 ร่วมใช้ท่อก๊าซได้

     นายปิยสวัสดิ์ ยังเสนอให้หยุดการแทรกแซงกิจการพลังงานจากฝ่ายการเมืองหรือกลุ่มผลประโยชน์โดยส่งคนของตัวเองมาเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร จึงควรแยกฝ่ายการบริหาร และฝ่ายกำกับนโยบาย โดยจะต้องไม่ส่งข้าราชการประจำเข้ามาเป็นกรรมการ และการบริหารงานก็ไม่ต้องส่งเรื่องไปที่กระทรวงที่จะส่งผ่านให้คณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติการลงทุนหรือแต่งตั้งบุคคลที่เข้าบริหารงาน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ควรจะทำให้การเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ยากขึ้น ฉะนั้นรัฐควรลดการถือครองสัดส่วนหุ้นให้ต่ำกว่า 50%

     นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานควรเร่งหาข้อยุติการเปิดแปลงสัมปทานรอบใหม่ หรือรอบที่ 21 และเร่งการเจรจากับกัมพูชาและเร่งหาข้อยุติในการร่วมมือในแหล่งปิโตรเลียมที่อยู่ระหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งจะเป็นแหล่งผลิตใหญ่ที่ไทยจะมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น รวมทั้ง ปรับปรุงพื้นที่แหล่งปิโตรเลียมภาคเหนือที่อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงกลาโหมปัจจุบันไม่มีความคืบหน้าในการพัฒนา อีกทั้งมุ่งให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมรประสิทธิภาพ

    "ราคาพลังงานต้องสะท้อนกลไกตลาด ถ้าเราไม่ทำ การผลิตก๊าซของเราก็ลดลง การนำเข้า LNG มากขึ้น จะทำให้ค่าไฟสูงขึ้นในอีก 10, 20,  30 ปีอีกมาก การปฏิรูปพลังงานเป็นเรื่องที่รัฐบาลร้องเอาไปทำ รัฐบาลต้องรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย"นายปิยสวัสดิ์ กล่าว

อินโฟเควสท์

นักวิชาการชี้ 'ดีเซล'ควรปล่อยให้ลอยตัว

    แนวหน้า : ดร.รักไทย บูรพ์ภาค อาจารย์พิเศษวิทยาลัยปิโตรเลียม และปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยเปิดเผยว่า ไม่เห็นด้วยกับนโยบายอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เพราะการอุดหนุราคาน้ำมัน ทำให้กลไกราคาน้ำมันทุกชนิดถูกบิดเบือนไป โดยเฉพาะกรณีเก็บเงินภาษีน้ำมันกลุ่มเบนซินในระดับสูง เพื่อนำมาอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร

     “ถือว่าเป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ควรจะทยอยลอยตัวราคาดีเซล ซึ่งในระหว่างนี้ ก็ควรสนับสนุนให้กลุ่มนี้หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์หรือ เอ็นจีวีแทน หากสามารถปรับขึ้นดีเซลได้  เชื่อว่ารัฐคงไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บเงินจากเบนซินมากถึงขนาดนี้ และจะทำให้ราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินลดลงมาได้”ดร.รักไทย กล่าว

    ส่วนกระแสการปฏิรูปพลังงานที่หลายฝ่ายพยายามเรียกร้องให้ บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) ลดการผูกขาดด้านพลังงานลงว่า โดยส่วนตัวแล้วสนับสนุนให้ภาครัฐควรทยอยเข้ามาถือหุ้นใน ปตท.เพิ่มมากขึ้นในระดับ 70-80 % จากปัจจุบันถืออยู่ที่ 51 % ด้วยซ้ำ เพื่อให้ภาครัฐมีอำนาจในการบริการจัดการด้านนโยบายพลังงานมากขึ้น เป็นการสร้างความชัดเจนระหว่างการเป็นรัฐวิสาหกิจ และเอกชน

    นอกจากนี้ ควรแยกการบริหารจัดการของ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ซึ่งทำธุรกิจขุดเจาะในต่างประเทศออกจากปตท.ให้เป็นเอกชนอย่างแท้จริง เชื่อว่าหากแยกรายได้ และกำไรของ ปตท.สผ.ออกจาก ปตท. จะทำให้เห็นโครงสร้างรายได้ของ ปตท.ชัดเจนมากขึ้น และยังเป็นการลดความเสี่ยงด้านการลงทุนจากการนำเงินของปตท.ซึ่งเป็นบริษัทแม่นำออกไปลงทุนด้วย

     ส่วนธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันนั้น หากเพิ่มสัดส่วนให้ภาครัฐเข้าถือหุ้นในปตท.มากขึ้นได้ ก็ถือว่า ภาครัฐได้เข้ามาดูแลในส่วนนี้ ถือเป็นการดูแลประชาชนได้ทางหนึ่ง

จี้ปฏิรูปราคาพลังงาน ภาคใต้เสี่ยงไฟฟ้าดับ

     ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต *'ปิยสวัสดิ์'ปฏิรูปพลังงาน ฝากรัฐบาลใหม่เร่งปฏิรูปโครงสร้างราคาสะท้อนต้นทุน พลังงานแจ้งผู้ว่าฯ จังหวัดภาคใต้ 14 แห่งรับมือวิกฤติไฟฟ้า มิ.ย.นี้

     นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในงานสัมมนา "พลังงานไทย : ปฏิรูปอย่างไรให้ถูกทาง" ว่า ฝากถึงรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาบริหารประเทศ ให้เร่งปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงานควบคู่ไปกับการปฏิรูปการเมืองที่เป็นเรื่องสำคัญของประเทศ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ สะท้อนต้นทุนที่ แท้จริง และสร้างความเป็นธรรม ให้กับผู้ใช้น้ำมัน โดยลดการอุด หนุนราคาพลังงาน เช่น ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) และก๊าชธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) ที่ทำให้เกิดการบิดเบือนโครงสร้างราคา เพราะปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าชธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) จากต่างประ เทศ ที่มีแนวโน้มราคาสูงขึ้นมา ใช้ในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าในอนาคตปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รัฐบาลใหม่ต้องลดความ ซ้ำซ้อนกติกาในการขอใบอนุญาต ประกอบกิจการด้านพลังงาน พร้อม กับเดินหน้าเจรจาลงทุนแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชา โดยใช้กระทรวงการต่างประเทศเป็นเจ้าภาพ เพราะจะเป็นแหล่งพลังงานที่มีศักยภาพเข้ามาช่วยเสริมความมั่นคง

    นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผย ภายหลังการซ้อมแผนรองรับสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน ประ จำปี 2557 ว่า กระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องซ้อมแผนรับมือวิกฤติไฟฟ้าภาคใต้ที่จะถึงเกิดขึ้นจริงในวันที่ 13 มิ.ย.-10 ก.ค.2557 นี้ ในกรณีแหล่งก๊าซธรรมชาติพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) จะปิดซ่อมรวม 28 วัน เพื่อให้เกิดการประสานและทำงานร่วมกันได้อย่างรวดเร็วในช่วงที่เกิดวิกฤติไฟฟ้าดังกล่าว

   แหล่งข่าวกระทรวงพลัง งานกล่าวว่า จากการตรวจสอบความเป็นไปได้ในการลดใช้ไฟฟ้าภาคเอกชนในพื้นที่ภาคใต้ คาดว่าจะไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 250 เมกะวัตต์ โดยกระทรวงพลัง งานคาดว่าจะมีเพียงแค่ 169 เมกะวัตต์เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตาม ข้อเท็จจริงการตรวจสอบผู้ประ กอบการต่างๆ ที่สามารถลดใช้ไฟฟ้าได้จริง ดังนั้น ระบบไฟฟ้าภาคใต้ยังนับว่าเสี่ยงไฟฟ้าไม่เพียงพอสูงในช่วงวิกฤติดังกล่าว.

Energy7-5

พลังงานไทย : ปฏิรูปอย่างไรให้ถูกทาง

สัมมนาเรื่อง'พลังงานไทย : ปฏิรูปอย่างไรให้ถูกทางวันพุธที่ 7 พฤษภาคม 2557 ที่ผ่านมา ณ ห้องวิภาวดีบอลรูม ซี โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ ลาดพร้าว

            ลำยอง ปกป้อง นายกสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดงานสัมมนาหัวข้อ พลังงานไทย : ปฏิรูปอย่างไรให้ถูกทาง

โดย ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์

ประธานมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

คุณทรงภพ  พลจันทร์

อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ

คุณสุรงค์ บูลกุล

ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจโครงสร้างพื้นฐาน

บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน)

                ดำเนินรายการ โดย คุณฌาณวิทย์ ไชยศิริวงศ์ 

เอกสารประกอบ

การสัมมนา ‘พลังงานไทย : ปฏิรูปอย่างไรให้ถูกทาง’

ข้อสงสัย โครงสร้างราคาน้ำมันขายปลีกในไทยใช้สูตรอ้างอิงราคาสิงคโปร์ บวกค่าขนส่ง บวกค่าปรับคุณภาพน้ำมันให้เป็นคุณภาพยูโร4

คำถามคือว่า โรงกลั่นก็อยู่ในประเทศไทย แต่

1.ทำไมต้องอ้างอิงราคาสิงคโปร์

2.ทำไมต้องบวกค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทยอีก

3.ทำไมต้องบวกค่าปรับคุณภาพน้ำมันเป็นยูโร4 ซึ่งเพือนบ้านใครก็ใช้แค่ยูโร2 เป็นเพราะผู้ค้าน้ำมันต้องการอัพราคาขายให้คนไทยแพงๆ ในขณะที่เอาน้ำมันส่งออกไปขายต่างประเทศในราคาถูกใช่หรือไม่

ข้อเท็จจริง

1.คำว่า ‘ราคาสิงคโปร์’นั้น ไม่ใช่ราคาของประเทศสิงคโปร์กำหนด แต่เป็นราคาที่ซื้อขายของตัวแทนกว่า 300 บริษัท ที่สะท้อนราคาน้ำมันในภูมิภาคนี้  และด้วยระบบการค้าเสรีที่มีการแข่งขันสูง ประเทศต่างๆ สามารถนำเข้าจากประเทศสิงคโปร์ซึ่งมีโรงกลั่นขนาดใหญ่ได้

หากโรงกลั่นของไทยเรากำหนดราคาเองที่แตกต่างจากราคาอ้างอิงสิงคโปร์ก็จะเกิดผลเสียคือ หากโรงกลั่นกำหนดราคาแพงกว่าราคาอ้างอิงสิงคโปร์แล้วละก็ ผู้ค้าปลีกน้ำมันในไทยก็จะนำเข้าจากสิงคโปร์เอง ซึ่งจะส่งผลให้ไม่มีคนซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทย ทำให้โรงกลั่นขาดทุนจนต้องปิดตัวลง

แต่หากโรงกลั่นไทย(ซึ่งมีต้นทุนแพงกว่าโรงกลั่นสิงคโปร์)ยอมขายขาดทุนโดยกำหนดราคาถูกกว่าราคาอ้างอิงสิงคโปร์ก็จะส่งผลเสียให้ผู้ค้าทุกรายมาแห่ซื้อน้ำมันจากโรงกลั่นไทย ซึ่งจะส่งผลให้โรงกลั่นมีน้ำมันไม่พอขาย จนทำให้ราคากลับสูงขึ้นไปเท่ากับราคาอ้างอิงสิงคโปร์อยู่ดี แต่ผลก็คือว่าโรงกลั่นไทยจะต้องเจ๋งจากการขาดทุนเพราะขายถูก

   นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของการมีโรงกลั่น เพื่อให้ประเทศสามารถพึ่งตนเองทางด้านการกลั่นอีกด้วย จึงจำเป็นต้องให้ธุรกิจโรงกลั่นของไทยอยู่รอดได้โดยอ้างอิงราคาตลาดสากล ซึ่งก็คือราคาสิงคโปร์นั้นเอง

2.การที่น้ำมันอยู่ที่โรงกลั่นในไทยโดยอ้างอิงราคาสิงคโปร์ แต่โรงกลั่นไทยบวกค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทย หรือที่เรียกกันว่า Import Parityนั้น ไม่ได้เป็นการค้ากำไร เนื่องจากว่าการที่โรงกลั่นคิดค่าขนส่งนั้นต้องไม่ลืมว่า ไทยต้องนำเข้าน้ำมันดิบเข้ามากลั่น ซึ่งการขนน้ำมันดิบมากลั่นนั้นก็มีค่าขนส่งนั่นเอง อีกทั้ง Import Parity เป็นหลักปฏิบัติของการกำหนดราคาสากล ซึ่งผู้ค้าน้ำมันทุกรายก็ใช้หลักการเดียวกัน

3.การใช้น้ำมันคุณภาพยูโร4นั้นเป็นไปตามนโยบายของภาครัฐเรื่องการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประชาชนทั้งประเทศ ซึ่งในอนาคตประเทศต่างๆก็มีทิศทางจะทะยอยปรับคุณภาพน้ำมันมาให้เหมือนไทยเช่นกัน

กรณีการส่งออกน้ำมันไปต่างประเทศในราคาที่ถูกกว่าราคาจำหน่ายในประเทศนั้น ข้อเท็จจริงคือ ราคาส่งออกไปต่างประเทศนั้นเปลี่ยนแปลงตามสภาวะการแข่งขัน ซึ่งจะมีช่วงที่ราคาแพงกว่าหรือถูกกว่าราคาในประเทศ

ข้อสงสัย ทำไมที่ขายให้คนไทยนั้นแพงกว่าราคาน้ำมันที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ

 ข้อเท็จจริง คือ ต้นทุนเนื้อน้ำมันสำเร็จรูปที่ขายให้คนไทยนั้นไม่ได้แพงกว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ส่งออกไปขายต่างประเทศ ทั้งนี้ หากเปรียบเทียบกับราคาขายปลีกน้ำมันในไทยกับที่ขายในต่างประเทศแล้วก็จะเห็นว่า การทำให้ราคาน้ำมันถูกหรือแพงเป็นนโยบายทางด้านภาษีของแต่ละประเทศเป็นหลัก เช่น หากประเทศใดมีการเก็บภาษีมาก น้ำมันก็จะแพงมาก ในขณะที่ถ้าประเทศใดเก็บภาษีน้อยกว่าอีกประเทศ ประชาชนในประเทศที่มีภาษีน้อยก็จะจ่ายค่าน้ำมันถูกกว่าประเทศที่เก็บภาษีมาก

ข้อสงสัย  คนไทยต้องใช้น้ำมัน 600,000 บาร์เรล/วัน เรามีเอง 300,000 บาร์เรล/วัน ต้องนำเข้าเพียง 300,000 บาร์เรล/วัน การนำเข้าที่ 800,000 บาร์เรล/วัน ตามที่ ปตท.อ้าง จึงไม่ใช่ความต้องการใช้ของคนไทยทั้งหมดการนำเข้ามาเพื่อทดแทนน้ำมันดิบของไทยที่ถูกส่งออก  ทดแทนคอนเดนเสทที่ใช้ในธุรกิจปิโตรเคมี นอกนั้นกลั่นเป็นน้ำมันสำเร็จรูปส่งออก

ข้อเท็จจริง ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สพน.) ประเทศไทยมีการนำเข้าน้ำมันดิบจากตะวันออกกลาง เนื่องจากมีคุณภาพน้ำมันที่กลั่นได้ดีเซลมาก เพราะประเทศต้องการ ปริมาณนำเข้าโดยรวมอยู่ที่ประมาณ862,000 บาร์เรล/วัน ส่วนการผลิตน้ำมันดิบในประเทศ มีอยู่ประมาณ 148,000 บาร์เรล/วัน ในจำนวนนี้มากกว่าครึ่งเป็น คอนเดนเสท  ส่วนการส่งออกนั้นอยู่ที่ 41,000 บาร์เรล/วัน เพียง 4-5% ของการใช้น้ำมันดิบเท่านั้น  เนื่องจากน้ำมันดิบบางชนิดมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเท่านั้น

ข้อสงสัย  กองทุนน้ำมัน คือตัวการที่ทำให้ราคาน้ำมันแพง เป็นกองทุนที่ประกันกำไรของผู้ค้าน้ำมัน ส่งผลให้ราคาน้ำมันบิดเบือน มีการนำกองทุนน้ำมันไปชดเชย E85 ถึง 11.60 บาท ด้วยการกำหนดราคาหน้าโรงกลั่น E85 ให้สูงกว่าเบนซิน 95 และค่าการตลาดถึงลิตรละ 5 บาท เป็นการทำให้ราคาสูงมาก กองทุนน้ำมันไปอุดหนุนให้ปิโตรเคมีในราคาต่ำกว่าตลาดโลกของแลพีจีถึง 40%

ข้อเท็จจริง  การนำเอากองทุนน้ำมันมาประกันกำไรให้ผู้ค้าน้ำมันนั้นไม่เป็นความจริง   ทั้งนี้ ประโยชน์แท้จริงของกองทุนน้ำมัน ได้ช่วยลดภาระให้กับผู้บริโภค ให้มิต้องแบกรับภาระในยามราคาน้ำมันโลกขึ้นสูงอย่างต่อเนื่อง มาหลายยุคหลายสมัย

ข้อสงสัย  ประเทศไทยใช้ระบบสัมปทานมาตั้งแต่ ปี 2514 ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านรอบๆ ไทย ทั้งพม่า กัมพูชา มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ล้วนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต แต่ประเทศไทยยังคงยืนหยัดจะใช้ระบบสัมปทานต่อไป ซึ่งเป็นวิธี การคิดส่วนแบ่งที่ล้าหลัง และด้อยกว่าระบบแบ่งปันผลผลิตของประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ผลประโยชน์ตกอยู่กับเอกชน ไม่ใช่ประเทศ ขณะที่มาเลเซีย ปิโตรนาสยังเลือกใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะเห็นว่าเป็นระบบในการให้สิทธิในการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่ทำให้ประเทศและคนมาเลเซียได้ประโยชน์สูงสุด

ข้อเท็จจริง ประเทศไทยภาครัฐเป็นผู้กำหนดรูปแบบการจัดเก็บรายได้จากการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมเข้ารัฐปตท. เป็นผู้ปฏิบัติรายหนึ่ง โดยบริษัท ปตท.สผ. ต้องเข้าประมูล  และดำเนินการ เช่นเดียวกับบริษัทเอกชนการกำหนดรูปแบบการจัดเก็บรายได้จากการสำรวจและผลิตของแต่ละประเทศจะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

กรณีประเทศไทยใช้ระบบสัมปทาน Thailand I และ III ซึ่งมีข้อดีคือ ต้องสำรวจผลิตภายในเวลาที่กำหนด โดยเจ้าของประเทศไม่ต้องรับความเสี่ยงแม้แต่บาทเดียว ขณะเดียวกันอุปกรณ์การผลิต จะตกเป็นของรัฐเท่าที่ต้องการ การรื้อถอนก็เป็นหน้าที่ของผู้รับสัมปทาน เทียบกับมาเลเซียแล้ว ไทยมีความเสี่ยงในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมสูงกว่า และมีขนาดปริมาณสำรองเล็กกว่า รวมทั้งมีต้นทุนในการพัฒนาสูงกว่า จึงไม่สามารถกำหนดการเงื่อนไขที่ให้ประโยชน์รัฐแบบแบ่งปันผลผลิตได้เหมือนมาเลเซีย

ไทยเคยมีการคิดทบทวนการใช้ระบบจัดเก็บรายได้จากโดยอ้างอิงระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract :PSC) แบบมาเลเซีย ทำให้เกิด Thailand II  (ปี 2528)  ซึ่งกำหนดการจัดเก็บค่าภาคหลวงสูงมากเพราะต้องการให้รายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นมากๆ แต่เกิดปัญหาเพราะแหล่งปิโตรเลียมที่ค้นพบมีขนาดเล็กไม่เหมือนเท่ามาเลเซียและประเทศอื่น ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ จึงมีผู้มายื่นสัมปทานเพียง 7 ราย ซึ่งเข้ามาสำรวจแล้วพัฒนาต่อไม่ได้ จนภายหลังยังมีผู้นำพื้นที่สัมปทานมาคืนอีกด้วย ทำให้การสำรวจสัมปทานหยุดชะงักลง ไม่มีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มเติม ทั้งๆ ที่ช่วงที่ออก Thailand II คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะสูงขึ้นและจะเจอแหล่งปิโตรขนาดใหญ่ จนทำให้ต้องยกเลิก Thailand II ในปี 2528 มาใช้ระบบ Thailand III (พรบ.ปิโตรเลียม ฉบับ 4 ปี 2532) ที่เหมาะสมกับประเทศเรามากกว่าและใช้กันมาถึงทุกวันนี้

ลองพิจารณาว่าหากเงื่อนไขสัมปทานของไทยปัจจุบันเอื้อประโยชน์ให้บริษัทน้ำมันมาก ก็น่าจะมีบริษัทมายื่นขอประมูลสัมปทานในรอบที่ผ่านๆ มากันคึกคัก แต่ในความเป็นจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ยังมีแปลงสัมปทานในไทยอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีใครมาขอดำเนินการ แม้แต่ปิโตรนาสเองก็ไม่เคยมาขอสัมปทานในไทย ทุกวันนี้มีแต่บริษัทที่ทะยอยขายกิจการในไทยทั้งที่มีการพบและผลิตแล้ว เช่น Shell, BP, Harrods, Pearl, Hess เพราะไปลงทุนที่อื่นคุ้มกว่า ซึ่งหากรัฐตั้งเงื่อนไขกำหนดให้บริษัทเอกชนนำเงินจากการสำรวจผลิตเข้ารัฐมากๆ เพียงอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงความเหมาะสมในด้านอื่นๆ ต่อไปอาจไม่มีเอกชนรายใดสนใจเข้ามาสำรวจหรือพัฒนาแหล่งพลังงานในไทยอีก ส่งผลไทยไม่สามารถค้นพบแหล่งปริมาณสำรองพลังงานเพิ่มขึ้นมาชดเชยส่วนใช้ไป ซึ่งปริมาณสำรองก๊าซในไทยขณะนี้สามารถใช้ได้เป็นเวลาอีก 7-14 ปี เท่านั้น

ตารางแสดงเปรียบเทียบความแตกต่างของการกำหนดสัญญาสัมปทานแต่ละรูปแบบ

อย่างไรก็ตาม จากข้อมูลเปรียบเทียบผลประโยชน์จากแหล่งสัมปทานในไทย ไม่ได้น้อยที่สุดในอาเซียน ตั้งแต่ปี 2514-2554 มูลค่าการขายปิโตรเลียมที่แหล่งผลิต เป็นมูลค่าสูงถึง 3.415 ล้านล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายที่ผู้รับสัมปทาน จ่ายให้กับรัฐ คือ ค่าภาคหลวง ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ รวมเป็นเงิน 1.074 ล้านล้านบาท ผู้รับสัมปทานเท่ากับ 0.88 ล้านล้านบาท ซึ่งมากกว่ารายได้ของผู้รับสัมปทานในสัดส่วน 55:45

ปัญหาเรื่องพลังงาน มิใช่เรื่องของการมีพลังงานที่มีราคาถูก แต่อยู่ที่การมีพลังงานใช้อย่างเพียงพอในทุกๆ สถานการณ์ของประเทศภายใต้ราคาที่เป็นธรรม รวมทั้งจะต้องส่งเสริมให้การใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะสร้างความยั่งยืนทางพลังงานให้กับประเทศได้ นอกจากนี้ การผูกขาดทางด้านพลังงานนั้นก็มิได้มีอยู่จริง เนื่องจาก ไม่สามารถมีธุรกิจรายใดรายหนึ่ง รับผิดชอบการบริหารพลังงานของประเทศทั้งระบบ เนื่องจากเป็นเงินทุนขนาดมหาศาล

ข้อสงสัย  EIA จัดประเทศไทยมีก๊าซฯ มากในลำดับที่ 24 ของโลก แสดงว่าไทยมีก๊าซธรรมชาติเหลือเฟือ

ข้อเท็จจริง

  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ตัวเลขปริมาณการผลิต และการจัดอันดับการผลิตก๊าซธรรมชาติไม่ได้เป็นตัวชี้วัดว่าประเทศมีปริมาณก๊าซฯ มากอย่างที่เข้าใจกัน ต้องดูหลายปัจจัยประกอบกัน เพราะตราบเท่าที่ประเทศยังมีปริมาณก๊าซฯ ไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ประเทศก็ยังคงต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ประเทศไทยผลิตก๊าซธรรมชาติไม่พอใช้ในประเทศ โดยไทยใช้ก๊าซธรรมชาติมากกว่าปริมาณที่ผลิตได้เองถึงกว่า 24% จึงจำเป็นต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ เพื่อให้เรามีพลังงานใช้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มขึ้นทุกวัน และให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในระยะยาว
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ปี 2555 ประเทศไทยปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ 4,957 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (สูงเป็นอันดับ 19 ของโลก) คิดเป็นสัดส่วน 1.4% ของโลก
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ผลิตได้เองในประเทศ 3,994 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (รวมแหล่ง JDA ไทย-มาเลเซีย) (อันดับที่ 24 ของโลก) คิดเป็นสัดส่วน 1.1% ของโลก
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ในขณะที่อเมริกา และรัสเซียผลิตได้ถึง 19.3% และ 18.4% ตามลำดับ เพียงแค่ 2 ประเทศรวมกันก็ผลิตได้เกือบจะครึ่งของโลก

(ข้อมูลจาก BP Statistical Review of World Energy 2012)

  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ (Net Import) คือ ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากต่างประเทศ และนำเข้าในรูปแบบ LNG กว่า 950 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (อันดับที่ 21 ของโลก) (นำเข้าจากพม่า 820 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน / LNG 130 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน)
  • http://www.corehoononline.com/templates/newsline/images/strelica_red.gif); font-family: Verdana, Arial, Helvetica, sans-serif; font-size: 11px; color: rgb(40, 87, 154); list-style: square; background-position: 0px 7px; background-repeat: no-repeat no-repeat;">ไทยผลิตก๊าซฯ ไม่พอใช้ ต้องนำเข้าก๊าซฯ จากพม่ามาตั้งแต่ปี 2541 และเพราะความต้องการใช้พลังงานของเราเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ วันนี้ การนำเข้าก๊าซฯ จากประเทศเพื่อนบ้านก็ยังไม่เพียงพอ ในปี 2554 เราจึงต้องนำเข้าก๊าซฯ ในรูปของเหลว หรือ LNG ที่ต้องผ่านกระบวนการแปลงสถานะก๊าซให้เป็นของเหลว และขนส่งทางเรือมาจากตะวันออกกลาง และนำมาแปลงสภาพกลับเป็นสถานะก๊าซ ทำให้ก๊าซฯ มีราคาแพงขึ้น

ทีมา: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) / U.S. Energy Information Administration (EIA)

ข้อสงสัย  จริงหรือที่ปิโตรเคมีใช้ก๊าซถูกกว่าการใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า

ข้อเท็จจริง

• ก๊าซธรรมชาติที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับโรงแยกก๊าซฯ เป็นก๊าซที่จัดหาได้จากอ่าวไทยเท่านั้น และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงแยกก๊าซฯ ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายเป็นเชื้อเพลิงในประเทศ (ภาคครัวเรือน อุตสาหกรรม และขนส่ง) และอีกส่วนหนึ่งจำหน่ายเป็นวัตถุดิบตั้งต้นให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมี

• ในขณะที่ ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า นอกจากจะใช้ก๊าซจากอ่าวไทยแล้ว ยังต้องใช้ก๊าซที่นำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ก๊าซจากพม่า และ LNG  ซึ่งมีราคาสูงกว่าก๊าซที่จัดหาจากอ่าวไทยมาก เพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ

• ก๊าซอ่าวไทย เป็นก๊าซคุณภาพดีเพราะมีองค์ประกอบที่สามารถแยกเป็นก๊าซประเภทต่างๆ ที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ ขณะที่ก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าจากพม่า และ LNG  ประกอบด้วยก๊าซมีเทนเป็นส่วนมาก ไม่สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้ จึงใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรมและรถยนต์เท่านั้น 

• อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ช่วยสร้างงาน สร้างรายได้เข้าประเทศจากการส่งออก และก่อให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องมากมาย อาทิ อุตสาหกรรมผลิตอุปกรณ์ชิ้นส่วนยานยนต์  ที่ช่วยส่งให้ไทยกลายเป็นฐานการผลิตรถยนต์แห่งใหญ่ของภูมิภาคได้  ผลักดันให้เศรษฐกิจของชาติเติบโต

ข้อสงสัย  ทำไมคนไทยใช้ก๊าซแพงทั้งทื่ขุดได้จากอ่าวไทย แต่ขายในราคาตลาดโลก?

ข้อเท็จจริง

• ราคาซื้อขายก๊าซธรรมชาติไม่มีราคาตลาดให้อ้างอิง การคำนวณราคาซื้อขายก๊าซแต่ละแหล่งจึงต้องอิงกับราคาน้ำมันเตาและดีเซลในตลาดโลกซึ่งเป็นเชื่อเพลิงทางเลือกที่ใช้ผลิตไฟฟ้าแทนได้ เพื่อให้ราคาสามารถแข่งขันกันได้ เป็นโครงสร้างราคามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทย

• โดยมีคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)เป็นผู้กำหนดสูตรราคาซื้อขายก๊าซธรรมชาติ ปตท.เป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามนโยบาย

ข้อสงสัย  ภาคอีสานพบซากไดโนเสาร์เยอะ แสดงว่าต้องมีแหล่งปิโตรเลียมมาก

ข้อเท็จจริง

• การมีซากไดโนเสาร์ไม่ได้แปลว่าต้องมีปิโตรเลียม  แต่ความจริงคือ ก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบที่รวมเรียกว่า ปิโตรเลียม จะเกิดขึ้นได้ต้องมี 5 ปัจจัยสำคัญร่วมกัน ขาดข้อหนึ่งข้อใดไม่ได้ ประกอบด้วย

1.หินต้นกำเนิดปิโตรเลียม เป็นหินตะกอนที่มีสารอินทรีย์ หรือซากพืช ซากสัตว์ขนาดเล็กจำนวนมากที่ทับถมกันนับล้านปีภายใต้ความร้อนและความกดดันตามธรรมชาติ ก่อนแปรสภาพเป็นก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบ

2. การเคลื่อนที่ของปิโตรเลียมจากหินต้นกำเนิด ไปยังหินกักเก็บ

3. หินกักเก็บปิโตรเลียม  เป็นหินที่มีความพรุนจนของเหลวสามารถไหลผ่านได้ และมีรอยแตกหรือโพรงดีพอที่จะให้ปิโตรเลียมกักเก็บได้

4. หินปิดกั้น เป็นหินปิดทับบนหินกักเก็บ มีเนื้อละเอียดจนก๊าซหรือของเหลวผ่านได้ยาก ทำให้ปิโตรเลียมไม่สามารถเล็ดลอดออกมากได้

5. โครงสร้างกักเก็บปิโตรเลียม เป็นโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สามารถกักเก็บหรือกั้นปิโตรเลียมไว้ได้

• ดังนั้น การพบซากไดโนเสาร์ในภาคอีสานจำนวนมากหรือน้อย ไม่ใช่สิ่งแสดงว่าประเทศไทยจะมีปิโตรเลียมสะสมหรือมีแหล่งปิโตรเลียมอยู่มาก แต่ต้องขึ้นกับว่าพื้นที่นั้น ๆ มีองค์ประกอบสำคัญ 5 ปัจจัยข้างต้นครบทุกข้อ หรือไม่ 

• ก๊าซธรรมชาติที่ค้นพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปัจจุบันนั้น ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าเกิดมาจากซากของสิ่งมีชีวิตที่สะสมตัวในทะเล และทะเลสาบที่มีอายุมากกว่า 200 ล้านปี ก่อนที่จะมีไดโนเสาร์กำเนิดขึ้นมาในโลกนี้

*********************************

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!