WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เรกูเลเตอร์โวยภาคใต้เมินลดใช้ไฟฟ้า

    ไทยโพสต์ : จามจุรีสแควร์ * กกพ.โวยคนใต้เมินประหยัดไฟ รับ 7 วันหลังดันใช้มาตรการดีมานด์เรสปอนส์ ลดใช้ไฟฟ้าได้เพียง 39 เมกะวัตต์ จากผู้สมัครร่วมโครงการทั้ง สิ้น 222 ราย จ่อชงใช้เป็นมาตร การฉุกเฉินถาวรลดใช้ไฟฟ้าทั่ว ประเทศ 2,000 เมกะวัตต์ กระทบ ค่าเอฟที 1.30 สตางค์ต่อหน่วย

    นางพัลลภา เรืองรอง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า การใช้มาตรการ 'ดีมานด์เรสปอนส์'มาตรการลดการใช้ไฟฟ้าภาคสมัครใจในช่วงที่ปิดซ่อมท่อก๊าซธรรมชาติแหล่งพื้นที่ร่วมพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) 7 วันที่ผ่านมานั้น พบว่าการลดใช้ไฟฟ้าได้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยลดได้เพียงแค่ 39 เมกะวัตต์ จากผู้สมัครร่วมโครงการทั้งสิ้น 222 ราย

    ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการให้ เงินตอบแทน 4 บาทต่อหน่วย สำหรับผู้ที่ลดใช้ไฟฟ้าได้นั้น ยังไม่สร้างแรงจูงใจเพียงพอ ประกอบกับช่วงนี้โรงงานภาคใต้มีคำสั่งซื้อสินค้า(ออเดอร์) เข้ามา โดยเฉพาะโรงงานยางพาราและโรงงานผลิตเบียร์ ทำให้การลดใช้ไฟฟ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายขั้นต่ำที่ 50 เมกะวัตต์ แต่เรกูเล เตอร์ยังเปิดรับผู้เข้าร่วมโครงการในภาคใต้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ช่วยกันลดใช้ไฟฟ้าในช่วงนี้ให้ได้ปริมาณมากขึ้น โดยขณะนี้มีผู้สมัครเพิ่มขึ้นรวมเป็น 240 รายแล้ว

   ทั้งนี้ เรกูเลเตอร์จะเตรียมนำมาตรการดีมานส์เรสปอนส์มาใช้เป็นมาตรการฉุกเฉินถาวรเฉพาะช่วงเกิดวิกฤติไฟฟ้าในไทย โดยจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาเห็นชอบต่อไป โดยมีเป้าหมายลดใช้ไฟฟ้าไว้ถึง 2,000 เมกะวัตต์ แต่ต้องเพิ่มแรงจูงใจให้มากขึ้น โดยให้เงินตอบแทนจาก 4 บาทต่อหน่วย เป็น 10-12 บาทต่อหน่วย ตามแต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งถือว่าคุ้มค่าเมื่อเทียบกับที่จะต้องเผชิญกับปัญหาไฟฟ้าดับฉุกเฉิน ซึ่งคิดเป็นค่าเสียหาย ถึง 81 บาทต่อหน่วย หรือต้องใช้เงินทั้งหมด 20,000 ล้านบาท และทำให้ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) เพิ่มขึ้นเพียง 1.30 สตางค์ ต่อหน่วย เป็นเวลา 10 ปี.

สหภาพกฟผ.ร้องคสช.สอบการทำงาน'กกพ.'

   ไทยโพสต์ : บางกรวย * สร.กฟผ.ทำหนังสือร้อง คสช.ตรวจสอบการทำงานเรกูเลเตอร์ พร้อมขอให้ทบทวนการตั้งคณะกรรมการสรรหาชุดใหม่ หวั่นเป็นกลุ่มทุนดึงพวกพ้องเข้ามากอบโกยผลประโยชน์ชาติ

    แหล่งข่าวกระทรวงพลัง งานเปิดเผยว่า ประธานสหภาพ แรงงานรัฐวิสาหกิจ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (สร.กฟผ.) ได้ทำหนังสือถึงคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อขอให้เข้ามาตรวจสอบและปรับเปลี่ยนระ บบโครงสร้างพลังงานไฟฟ้า โดยในหนังสือระบุว่า ที่ผ่านมากลุ่มนายทุนได้เข้ามาครอบงำและมีบทบาทในการกำกับดูแลกิจการไฟฟ้า จัดสรรผลประโยชน์ที่เอื้อ ต่อพรรคพวกตัวเอง ทำให้นโย บายการบริหารจัดสรรด้านพลัง งานบิดเบี้ยว ขาดธรรมาภิบาลที่ดี ดังนั้นจึงเรียกร้องให้ คสช.เข้ามาจัดระบบด้านไฟฟ้าใน 4 ด้าน

     โดยข้อแรก ต้องการให้ คสช.ทบทวนคณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการกำกับกิจการพลัง งาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ใหม่ เพราะคณะกรรมการสรรหาชุด ปัจจุบันแต่งตั้งสมัยรัฐบาลรักษาการ ลงนามโดยนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รักษาการรองนายกรัฐ มนตรี ซึ่งเป็นรัฐบาลที่ไม่ชอบ ธรรม มีปัญหาเรื่องทุจริตคอร์รัป ชัน หากปล่อยให้คณะกรรมการสรรหานี้คัดเลือกเรกูเตอร์ชุดใหม่เข้ามา จะกลายเป็นเครือข่ายกลุ่มนายทุน

    2.ขอให้ตรวจสอบนโยบาย ของเรกูเลเตอร์ด้านการให้สัดส่วนผลิตไฟฟ้าระหว่าง กฟผ.กับเอกชน ซึ่งปัจจุบันให้เอกชนมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่า กฟผ.ที่มีเพียง 39% เท่านั้น ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่คำนึงถึงความมั่นคงไฟฟ้าของประเทศ 3.ขอให้ตรวจสอบการเร่ง ประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนขนาด ใหญ่(ไอพีพี) ในปี 2556 ที่มีกำลังการผลิตถึง 5,000 เมกะวัตต์ ซึ่งบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด ชนะการประมูลเพียงรายเดียว ซึ่งมีข้อน่าสงสัยตั้งแต่การทำเงื่อนไขการประมูล(ทีโออาร์) และยังพบว่าเร กูเลเตอร์เร่งรีบจัดทำแผนพัฒนา การผลิตไฟฟ้าระยะยาว (พีดีพี) เกินไป

   และ 4.เรกูเลเตอร์อนุญาตให้สร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (เอสพีพี) อย่างผิดวัตถุประสงค์ ซึ่งเอสพีพีควรเป็นโรงไฟฟ้าด้านพลังงานทดแทน แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ซึ่งทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยของประชาชนต้องปรับเพิ่มขึ้น ดังนั้นขอให้ คสช.เร่งเข้ามาตรวจสอบและปฏิรูประบบไฟฟ้าดังกล่าวด้วย

    แหล่งข่าวเรกูเลเตอร์กล่าวว่า เรกูเลเตอร์ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการสรรหา ให้ ครม.ชุดที่ผ่านมาพิจารณาและอนุมัติผ่านไปแล้ว แต่ขณะนี้ คสช.ยัง ไม่ให้คณะกรรมการสรรหาดำเนินการพิจารณาหาเรกูเลเตอร์ชุดใหม่ ซึ่งหมดวาระ 4 คน ไปตั้งแต่ ก.พ.2557 ที่ผ่านมา จากทั้งหมดที่มีอยู่ 7 คน ซึ่งคาดว่า คสช.ต้อง การปฏิรูปโครงสร้างพลังงานทั้งระบบให้เสร็จก่อน จึงจะมาพิจารณาเรื่องการสรรหาเรกูเลเตอร์.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!