- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 30 June 2014 09:43
- Hits: 3241
วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2557 เวลา 01:48 น. ข่าวสดออนไลน์
เปิดใจ 'ปิยสวัสดิ์'บอร์ดปตท.คนใหม่-มองสารพัดปัญหาพลังงาน
ข่าวสด รายงานพิเศษ
ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง ผบ.ทอ. ในฐานะรองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายเศรษฐกิจ แต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ 7 ท่าน
ที่น่าสนใจคือ แต่งตั้ง นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีต รมว.พลังงาน เข้ามาเป็นกรรมการ และคาดกันว่าจะได้รับเลือกจากคณะกรรมการนั่งเก้าอี้ประธานบอร์ดปตท. แทนนายปานปรีย์ พหิทธานุกร ที่ลาออกไป
โดยก่อนที่นายปิยสวัสดิ์จะมานั่งกุม บังเหียนปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงพลังงาน เคยมีบทบาทอย่างสูงเกี่ยวกับการเสนอแนะการปฏิรูปพลังงาน ผ่านทาง "กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน"
นายปิยสวัสดิ์เสนอ 6 ข้อเสนอในการปฏิรูปพลังงาน ประกอบด้วย
1.ปรับโครงสร้างราคาพลังงานประเภทต่างๆ ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 2.เพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพในธุรกิจพลังงาน เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค
3.ลดการแทรกแซงโดยมิชอบและแสวงหาประโยชน์ในกิจการพลังงานที่รัฐถือหุ้น และการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4.ปรับปรุงกระบวนการในการกำหนดนโยบาย และการขออนุญาต โดยตั้งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานแบบ EIA ของสหรัฐ
5.สำรวจ พัฒนาและจัดหาแหล่งพลังงาน 6.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด
"เราควรลดบทบาทกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหลือน้อยที่สุด ควรใช้เพียงเพื่อลดความผันผวนราคาในช่วงสั้น แต่ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นการแทรกแซงราคาพลังงานของนักการเมือง เนื่องจากในปี 2547 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือตรึงราคาน้ำมันให้ต่ำกว่าตลาดโลก ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีตั้งกองทุนน้ำมัน ตั้งสถาบันกองทุนพลังงานขึ้นมา เพื่อบริหารเงินกองทุนน้ำมัน และมีอำนาจกู้เงินมาชดเชยการขาดทุนของกองทุนน้ำมันด้วย"นายปิยสวัสดิ์กล่าว และว่า ผลที่ตามมา สถาบันกองทุนพลังงานต้องไปกู้เงินมาประมาณ 8 หมื่นล้านบาทเพื่อตรึงราคา
กระทั่งในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ปี 2549-2550 จึงแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดโดยการลอยตัวราคาน้ำมันตามระบบเดิมอีกครั้ง และสามารถชำระหนี้สินกองทุนน้ำมันทั้งหมดภายในปี 2550
นายปิยสวัสดิ์ บอกอีกว่า แต่หลังจากนั้นทุกรัฐบาลเริ่มใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการตรึงราคาน้ำมันอีกครั้ง เช่น น้ำมันดีเซล กำหนดราคาก๊าซแอลพีจี โดยกำหนดอัตราเงินกองทุนที่สูงมากสำหรับน้ำมันบางชนิด เช่น เบนซิน 95 อัตรา 10 บาท/ลิตร และ ชดเชยในอัตราที่สูงมากสำหรับบางชนิด เช่น แก๊สโซฮอล์ 85 ชดเชยถึง 11.60 บาท/ลิตร ขณะที่ก๊าซแอลพีจีกำหนดเป็นหลายราคา
นายปิยสวัสดิ์ระบุว่า หากการยกเลิกกองทุนน้ำมันทันทีจะทำให้ราคาน้ำมันบางชนิดลดลง แต่บางชนิดก็จะเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันหรือไม่มีการชดเชย
"เบนซิน 95 จะปรับลดลง 10.70 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ลดลง 3.53 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) ลดลง 1.28 บาท แต่แก๊สโซฮอล์ E85 ราคาจะเพิ่มขึ้น 12.41 บาท"
บอร์ด ปตท.คนใหม่กล่าวอีกว่า ส่วนราคาก๊าซแอลพีจีจะถูกลอยตัวโดยอัตโนมัติ และทุกภาคส่วนจะใช้ในราคาเดียวกัน โดยราคาขายปลีกแอลพีจีจะเพิ่มเป็น 26.1 บาทต่อกิโลกรัม
"กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากหากใช้ในวิธีการที่เหมาะสมและโปร่งใส จะช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงสั้นได้ แต่ที่ผ่านมารัฐบาลใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการตรึงราคาน้ำมันในระยะยาว และใช้ไปแนวทางที่ผิด ซึ่งไม่แน่ใจว่าต่อไปในอนาคตรัฐบาลจะดำเนินการในลักษณะนี้อีกหรือไม่"
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ควรยกเลิกกองทุนน้ำมันเพื่อให้ราคาเป็นไปตามตลาดโลกดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถควบคุมนักการเมืองได้
คงต้องจับตาว่าหลังจากเข้ารับตำแหน่งแล้วนายปิยสวัสดิ์จะเดินหน้าตามนโยบายอย่างไร!??
----------------
เส้นทางชีวิต'ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์'
สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การทำงาน เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
งานการเมือง เป็น รมว.พลังงาน ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 ในการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีครั้งนั้นปิยสวัสดิ์ได้ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า
ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งกรรมการธนาคารกสิกรไทย อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเป็นนักวิชาการด้านพลังงาน
โดยก่อนที่นายปิยสวัสดิ์จะมานั่งกุม บังเหียนปตท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงพลังงาน เคยมีบทบาทอย่างสูงเกี่ยวกับการเสนอแนะการปฏิรูปพลังงาน ผ่านทาง "กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน"
นายปิยสวัสดิ์เสนอ 6 ข้อเสนอในการปฏิรูปพลังงาน ประกอบด้วย
1.ปรับโครงสร้างราคาพลังงานประเภทต่างๆ ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 2.เพิ่มการแข่งขันและประสิทธิภาพในธุรกิจพลังงาน เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค
3.ลดการแทรกแซงโดยมิชอบและแสวงหาประโยชน์ในกิจการพลังงานที่รัฐถือหุ้น และการป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4.ปรับปรุงกระบวนการในการกำหนดนโยบาย และการขออนุญาต โดยตั้งสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานแบบ EIA ของสหรัฐ
5.สำรวจ พัฒนาและจัดหาแหล่งพลังงาน 6.ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด
"เราควรลดบทบาทกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหลือน้อยที่สุด ควรใช้เพียงเพื่อลดความผันผวนราคาในช่วงสั้น แต่ที่ผ่านมา กลับกลายเป็นการแทรกแซงราคาพลังงานของนักการเมือง เนื่องจากในปี 2547 สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือตรึงราคาน้ำมันให้ต่ำกว่าตลาดโลก ออกคำสั่งนายกรัฐมนตรีตั้งกองทุนน้ำมัน ตั้งสถาบันกองทุนพลังงานขึ้นมา เพื่อบริหารเงินกองทุนน้ำมัน และมีอำนาจกู้เงินมาชดเชยการขาดทุนของกองทุนน้ำมันด้วย"นายปิยสวัสดิ์กล่าว และว่า ผลที่ตามมา สถาบันกองทุนพลังงานต้องไปกู้เงินมาประมาณ 8 หมื่นล้านบาทเพื่อตรึงราคา
กระทั่งในสมัยรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ปี 2549-2550 จึงแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมดโดยการลอยตัวราคาน้ำมันตามระบบเดิมอีกครั้ง และสามารถชำระหนี้สินกองทุนน้ำมันทั้งหมดภายในปี 2550
นายปิยสวัสดิ์ บอกอีกว่า แต่หลังจากนั้นทุกรัฐบาลเริ่มใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการตรึงราคาน้ำมันอีกครั้ง เช่น น้ำมันดีเซล กำหนดราคาก๊าซแอลพีจี โดยกำหนดอัตราเงินกองทุนที่สูงมากสำหรับน้ำมันบางชนิด เช่น เบนซิน 95 อัตรา 10 บาท/ลิตร และ ชดเชยในอัตราที่สูงมากสำหรับบางชนิด เช่น แก๊สโซฮอล์ 85 ชดเชยถึง 11.60 บาท/ลิตร ขณะที่ก๊าซแอลพีจีกำหนดเป็นหลายราคา
นายปิยสวัสดิ์ระบุว่า หากการยกเลิกกองทุนน้ำมันทันทีจะทำให้ราคาน้ำมันบางชนิดลดลง แต่บางชนิดก็จะเพิ่มขึ้น เพราะไม่มีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันหรือไม่มีการชดเชย
"เบนซิน 95 จะปรับลดลง 10.70 บาท แก๊สโซฮอล์ 95 (E10) ลดลง 3.53 บาท แก๊สโซฮอล์ 91 (E10) ลดลง 1.28 บาท แต่แก๊สโซฮอล์ E85 ราคาจะเพิ่มขึ้น 12.41 บาท"
บอร์ด ปตท.คนใหม่กล่าวอีกว่า ส่วนราคาก๊าซแอลพีจีจะถูกลอยตัวโดยอัตโนมัติ และทุกภาคส่วนจะใช้ในราคาเดียวกัน โดยราคาขายปลีกแอลพีจีจะเพิ่มเป็น 26.1 บาทต่อกิโลกรัม
"กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือที่เป็นประโยชน์มากหากใช้ในวิธีการที่เหมาะสมและโปร่งใส จะช่วยลดความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงสั้นได้ แต่ที่ผ่านมารัฐบาลใช้กองทุนน้ำมันเป็นเครื่องมือในการตรึงราคาน้ำมันในระยะยาว และใช้ไปแนวทางที่ผิด ซึ่งไม่แน่ใจว่าต่อไปในอนาคตรัฐบาลจะดำเนินการในลักษณะนี้อีกหรือไม่"
นายปิยสวัสดิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า ควรยกเลิกกองทุนน้ำมันเพื่อให้ราคาเป็นไปตามตลาดโลกดีที่สุด เพราะเราไม่สามารถควบคุมนักการเมืองได้
คงต้องจับตาว่าหลังจากเข้ารับตำแหน่งแล้วนายปิยสวัสดิ์จะเดินหน้าตามนโยบายอย่างไร!??
----------------
เส้นทางชีวิต'ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์'
สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ
การทำงาน เริ่มรับราชการเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2523 ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน ระดับ 4 กองวางแผนเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์
งานการเมือง เป็น รมว.พลังงาน ในรัฐบาลพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ หลังการรัฐประหาร พ.ศ.2549 ในการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีครั้งนั้นปิยสวัสดิ์ได้ยกเลิกแผนการนำเข้าพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติจากประเทศพม่า
ดำรงตำแหน่งต่างๆ ทั้งกรรมการธนาคารกสิกรไทย อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และเป็นนักวิชาการด้านพลังงาน