- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Saturday, 19 September 2015 08:58
- Hits: 9732
กพช. เดินหน้าบริหารจัดการโครงสร้างน้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก หวังสร้างความยั่งยืนพลังงานไทย
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เห็นชอบ 3 แผนหลักสำคัญ ทั้งแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 – 2579 (Oil Plan 2015) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558-2579 (Gas Plan2015) เพื่อกำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและก๊าซธรรมชาติระยะยาว พร้อมลุยแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง รองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ซึ่งที่ประชุมได้มีการพิจารณาวาระสำคัญด้านพลังงาน โดยเห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP 2015) มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 11.9 เป็นร้อยละ 30 ของปริมาณความต้องการพลังงานรวมของประเทศในปี 2579 โดยปรับเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน รวมทั้งสิ้นประมาณ 19,635 เมกะวัตต์ โดยให้มีกรอบระยะเวลาเดียวกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP 2015) รวมทั้งจะมีการส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลเป็น 14 ล้านลิตร/วัน และเอทานอล 11.3 ล้านลิตร/วัน เป็นต้น และมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน ดำเนินการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) และรายงานความคืบหน้าการดำเนินต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทุก 3 เดือน
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้พิจารณาแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) โดยที่ประชุมมีความเห็นชอบให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กระทรวงพลังงาน ทำหน้าที่รายงานความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) ต่อ กบง. ทุก 3 เดือนเช่นกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้กำหนดทิศทางการบริหารจัดการด้านน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่ระบุภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงานในภาคขนส่งและแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก เช่นการทยอยปรับลดประเภทน้ำมันเบนซินในระยะยาว ที่ควรมีเหลือไม่เกิน 3 ประเภท และใช้เป็นกรอบสำหรับการดำเนินนโยบายส่งเสริมน้ำมันเชื้อเพลิงที่จะได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ และ NGV สำหรับรถสาธารณะ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมต่างๆ รวมถึงความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการพัฒนาด้านพลังงานของประเทศ
ทั้งนี้ ได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์จัดทำแผน 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1. สนับสนุนมาตรการอนุรักษ์พลังงานภาคขนส่ง ผ่านมาตรการผสมผสาน 11 มาตรการ 2. บริหารจัดการชนิดของน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ LPG ที่แม้จะไม่ห้ามใช้ในภาคขนส่งแต่จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์พิเศษในการส่งเสริม ในขณะที่ NGV จะเป็นการส่งเสริมเฉพาะกลุ่มรถสาธารณะและรถบรรทุก 3. ปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงต่อเนื่อง โดยใช้กลไกตลาดเป็นสำคัญ 4. ผลักดันการใช้เชื้อเพลิงเอทานอลและไบโอดีเซลตามแผน AEDP 2015 และ 5. สนับสนุนการลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานน้ำมันเชื้อเพลิง โดยเฉพาะระบบท่อขนส่งน้ำมันและคลังน้ำมันเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่AEC ซึ่งคาดว่าจะไม่มีความจำเป็นในการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันใหม่
อีกทั้ง ยังพิจารณา แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2558 – 2579 (Gas Plan 2015)และหลักการการบริหารจัดการด้านการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ให้มีการแข่งขันและการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในอนาคต โดยเพิ่มจำนวนผู้จัดหาและจำหน่าย การเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้หรือเชื่อมต่อระบบส่งก๊าซธรรมชาติและสถานีแอลเอ็นจี (Third Party Access; TPA) และกำกับดูแลการจัดหา LNG ในระยะสั้น/ระยะยาว โดยมอบหมายให้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชพ.) และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ร่วมกันศึกษาและจัดทำแนวทางการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ให้มีผู้ประกอบการในกิจการ LNG มากกว่าปัจจุบันที่มีเพียง ปตท. เพียงเจ้าเดียว และจัดทำแนวทางการกำกับดูแลด้านการจัดหา LNG ต่อไป
เพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติให้มีเพียงพอในอนาคต ซึ่งได้บูรณาการกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย(PDP 2015) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP 2015)และ แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP 2015) โดยวางยุทธศาสตร์การดำเนินงานใน 4 ยุทธศาสตร์สำคัญเพื่อรองรับต่อความต้องการ โดยสามารถจำกัดการนำเข้า LNGในอนาคตให้อยู่ในระดับที่พอเพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น คือ 1.กระจายความเสี่ยงโดยลดการใช้ก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้า 2. รักษาระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศให้ยาวนานขึ้น 3. จัดหาแหล่ง LNG ที่มีประสิทธิภาพภายใต้รูปแบบที่มีการแข่งขัน 4. มีโครงสร้างพื้นฐานเพียงพอ (ระบบท่อ และ LNG Terminal) และแนวทางด้านการแข่งขันทั้งทางกายภาพ (ทั้งโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และท่าเรือรับ LNG)และกติกาที่สอดรับกับแผนจัดหา (Third Party Access; TPA)
และเห็นชอบในแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 7ก.ย. 2558 ซึ่งแผนระบบรับส่งและโครงสร้างพื้นฐานก๊าซธรรมชาติเพื่อความมั่นคง รองรับความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มมากขึ้นในอนาคต ทั้งจากภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง โดยได้พิจารณาเห็นชอบโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เส้นที่ 5 (Natural Gas Pipeline Network)วงเงินลงทุนรวม 110,100 ล้านบาท โดยมอบหมายให้ ปตท. เป็นผู้ดำเนินการ พร้อมติดตามแนวโน้มความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาใช้ทบทวนรายละเอียดการดำเนินโครงการให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศและประชาชน
กพช.จ่อเบรกสร้างโรงกลั่นเตรียมลดชนิดน้ำมันโซฮอล์
ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ * กพช.อนุมัติ 3 แผนพลังงานระยะยาว ทั้งน้ำมันก๊าซ และพลังงานทดแทน ส่งสัญญาณเบรกสร้างโรงกลั่นน้ำมันในอนาคตเพิ่ม หนุนใช้เชื้อเพลิงชีวภาพแทน เล็งประกาศลดชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซิน โซฮอล์เหลือเพียง 3 ชนิด พร้อมดันเพิ่มสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มในดีเซลเป็น 25%
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมอนุมัติแผนพลังงานระยะยาว 3 แผน ได้แก่ แผนน้ำมัน, แผนก๊าซ และแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (เออีดีพี) โดยทั้ง 3 แผนเป็นแผนระยะยาว 21 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2558-2579
สำหรับ แผนน้ำมันนั้นตั้งเป้าลดการใช้น้ำมันลง 46% จากที่คาดการณ์ว่าจะเกิดการใช้น้ำมันถึง 65,459 กิโลตันน้ำมัน โดยจะเหลือเพียง 35,246 กิโลตันน้ำมัน หรือประมาณ 7 แสนบาร์เรลต่อวัน ในปี 2579 ซึ่งสอดคล้องกับการอนุรักษ์พลังงานด้านภาคขนส่ง โดยเฉพาะระบบราง รถไฟฟ้าในอนาคต ดังนั้นจะส่งผลให้โรงกลั่นน้ำมันจะไม่มีการเปิดโรงงานเพิ่มขึ้น โดยโรงกลั่นในอนาคตจะเป็นโรงกลั่นประเภทเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งหมด เช่น โรงงานเอทานอล โรง งานไบโอดีเซล เป็นต้น พร้อมกันนี้กำหนดให้ปรับลดประเภทน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ลงเหลือ 3 ประเภท จากปัจจุบันมีอยู่ 5 ประเภท
นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ด้านแผนก๊าซนั้นกำหนดปรับลดการใช้ก๊าซจาก 64% เหลือไม่เกิน 40% โดยเฉพาะในภาคการผลิต ไฟฟ้าและการพึ่งพาพลังงานอื่นๆ แทนก๊าซ โดยในช่วง 7 ปีจากนี้ ความต้องการใช้จะทรงตัวที่ 5,200 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หลังจากนั้นใน 8-20 ปีจากนี้จะเริ่มเห็นการลดใช้ก๊าซลง และปลายแผนปี 2579 เหลือ 4,300 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พร้อมเตรียมสร้างคลังรองรับการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เพิ่มขึ้นจาก 2.6-3 ล้านตันต่อปี เป็น 24 ล้านตันต่อปี ในปี 2579
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สำ หรับแผนเออีดีพีนั้น จะเพิ่มสัด ส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มจาก 9% เป็น 20% ซึ่งในเดือน ส.ค.2558 มีพลังงานทดแทนในระบบอยู่ 4,808 เมกะวัตต์ และสิ้นปี 2558 คาดว่าจะเพิ่มเป็น 5,000-6,000 เมกะวัตต์ และปลายแผนจะเพิ่มถึง 19,635 เมกะวัตต์ นอกจากนี้จะกำหนดให้เพิ่มสัดส่วนการผสมน้ำมันปาล์มในดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 7% หรือ บี 7 เป็น 25% หรือ บี 25 ในปลายแผนปี 2579.
ก.พลังงาน ยืนยัน แผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) ยังคงให้สิทธิ์พิเศษ NGV เป็นเชื้อเพลิงที่ได้รับการอุดหนุน และจะยังไม่มีนโยบายเก็บภาษีสรรพสามิต
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ได้อนุมัติแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) และต่อมาเกิดกระแสข่าวที่อาจทำให้เข้าใจไปว่า กระทรวงพลังงานจะมีการพิจารณาให้มีการเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับกลุ่มก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในยานยนต์หรือ NGV เพื่อให้ต้นทุนของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่อยู่ในแผน Oil Plan 2015 ต้องมีการสะท้อนราคาที่แท้จริง นั้น
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า จะยังไม่มีนโยบายในการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในเชื้อเพลิงกลุ่มNGV ดังกล่าวอย่างแน่นอน เนื่องจาก NGV ถือเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งประเภทหนึ่งที่ยังได้รับการสนับสนุน ซึ่งได้กำหนดกรอบแผนในการสนับสนุนเพื่อให้มีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น การกำหนดราคาขายปลีกต่ำกว่าต้นทุน การอุดหนุนราคาเป็นครั้งคราวและ/หรือการได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตเช่นเดียวกับกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่งถือเป็นกลุ่มเชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทน ทั้งนี้จะเห็นว่าแตกต่างจากการบริหารเชื้อเพลิงปกติประเภทกลุ่มน้ำมัน และก๊าซ LPG ที่จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้
นอกจากนี้ แม้ว่าในแผน Oil Plan 2015 จะได้กำหนดหลักการในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ที่จะเน้นให้เกิดกลไกการกำหนดราคาที่สะท้อนต้นทุน และการเก็บภาษีที่เป็นธรรมไว้ให้เป็นหลักการสำคัญในการบริหารเชื้อเพลิงในภาคขนส่งของประเทศ แต่กระทรวงพลังงานยังคงกำหนดให้เชื้อเพลิงที่ได้รับสิทธิส่งเสริมพิเศษนั้น อันได้แก่ NGV ก๊าซชีวภาพอัด (CBG) เอทานอลและไบโอดีเซล ถือว่าเป็นกลุ่มพลังงานทดแทนที่จะได้รับการยกเว้นเป็รกรณีพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้หากจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือไม่จะต้องดูจากปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญถึงจะมีการทบทวนสิทธิพิเศษดังกล่าว
กระทรวงพลังงาน ขอให้ความมั่นใจ ผู้ใช้เชื้อเพลิง NGVในภาคขนส่งว่า จะไม่มีการพิจารณาเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย"นายทวารัฐกล่าว
ก.พลังงาน ยัน ไม่เก็บภาษีสรรพสามิต NGV ชี้ยังยึดนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาด
นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและ แผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ยังไม่มีนโยบายในการเรียกเก็บภาษี สรรพสามิตใน เชื้อเพลิงกลุ่มก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) เนื่องจาก NGV เป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งประเภทหนึ่งที่ยังได้รับการสนับสนุน ซึ่งได้กำหนดสิทธิพิเศษบางประการ เช่น การกำหนดราคาขายปลีกต่ำกว่าต้นทุน การอุด หนุนราคาเป็นครั้งคราวและ/หรือการได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตเช่นเดียว กับกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่งถือเป็นกลุ่มเชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทน ทั้งนี้จะเห็นว่าแตกต่าง จากการบริหารเชื้อเพลิงปกติประเภทกลุ่มน้ำมัน และก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG)ที่จะไม่ได้รับสิทธิ พิเศษเหล่านี้
นอกจากนี้ แม้ว่าในแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) จะได้กำหนดหลักการในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในภาคขนส่งที่จะเน้นให้เกิด กลไกการกำหนด ราคาที่สะท้อนต้นทุน และการเก็บภาษีที่เป็นธรรมไว้ให้เป็นหลักการสำคัญในการบริหารเชื้อเพลิงใน ภาคขนส่งของประเทศ แต่กระทรวงพลังงานยังคงกำหนดให้เชื้อเพลิงที่ได้รับสิทธิส่งเสริมพิเศษนั้น อันได้แก่ NGV ก๊าซชีวภาพอัด (CBG) เอทานอลและไบโอดีเซล ถือว่าเป็นกลุ่มพลังงานทดแทนที่จะ ได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษเพื่อสนับ สนุนให้เกิดการใช้พลังงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือไม่จะต้องดูจากปัจจัยแวดล้อม เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญถึง จะมีการทบทวนสิทธิพิเศษดังกล่าว
"ผู้ใช้เชื้อเพลิง NGV ในภาคขนส่งมั่นใจได้ว่า จะไม่มีการพิจารณาเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้น อย่างแน่นอน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดและ ส่งผล กระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย"นายทวารัฐกล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
ก.พลังงานยันแผน'น้ำมันเชื้อเพลิงปี 58-79 ยังให้สิทธิ์ NGV รับการอุดหนุน
แนวหน้า : นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) เปิดเผยว่า ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)ได้อนุมัติแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2558 - 2579 (Oil Plan 2015) และต่อมาเกิดกระแสข่าวที่อาจทำให้เข้าใจไปว่า กระทรวงพลังงานจะมีการพิจารณาให้มีการเก็บภาษีสรรพสามิตสำหรับกลุ่มก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในยานยนต์หรือ NGV เพื่อให้ต้นทุนของเชื้อเพลิงแต่ละชนิดที่อยู่ในแผน Oil Plan 2015 ต้องมีการสะท้อนราคาที่แท้จริง นั้น
ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานขอยืนยันว่า จะยังไม่มีนโยบายในการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตในเชื้อเพลิงกลุ่ม NGV ดังกล่าวอย่างแน่นอน เนื่องจาก NGV ถือเป็นเชื้อเพลิงในภาคขนส่งประเภทหนึ่งที่ยังได้รับการสนับสนุน ซึ่งได้กำหนดกรอบแผนในการสนับสนุนเพื่อให้มีสิทธิพิเศษบางประการ เช่น การกำหนดราคาขายปลีกต่ำกว่าต้นทุน การอุดหนุนราคาเป็นครั้งคราวและ/หรือการได้รับยกเว้นภาษีสรรพสามิตเช่นเดียวกับกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ ได้แก่ เอทานอลและไบโอดีเซล ซึ่งถือเป็นกลุ่มเชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทน ทั้งนี้จะเห็นว่าแตกต่างจากการบริหารเชื้อเพลิงปกติประเภทกลุ่มน้ำมัน และก๊าซ LPG ที่จะไม่ได้รับสิทธิพิเศษเหล่านี้
นอกจากนี้ แม้ว่าในแผน Oil Plan 2015 จะได้กำหนดหลักการในการบริหารจัดการเชื้อเพลิงในภาคขนส่ง ที่จะเน้นให้เกิดกลไกการกำหนดราคาที่สะท้อนต้นทุน และการเก็บภาษีที่เป็นธรรมไว้ให้เป็นหลักการสำคัญในการบริหารเชื้อเพลิงในภาคขนส่งของประเทศ แต่กระทรวงพลังงานยังคงกำหนดให้เชื้อเพลิงที่ได้รับสิทธิส่งเสริมพิเศษนั้น อันได้แก่ NGV ก๊าซชีวภาพอัด (CBG) เอทานอลและไบโอดีเซล ถือว่าเป็นกลุ่มพลังงานทดแทนที่จะได้รับการยกเว้นเป็รกรณีพิเศษเพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้พลังงานภายในประเทศมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ หากจะมีการพิจารณาเปลี่ยนแปลงหรือไม่จะต้องดูจากปัจจัยแวดล้อมเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญถึงจะมีการทบทวนสิทธิพิเศษดังกล่าว
"กระทรวงพลังงาน ขอให้ความมั่นใจ ผู้ใช้เชื้อเพลิง NGV ในภาคขนส่งว่า จะไม่มีการพิจารณาเก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นพลังงานสะอาดและส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย”นายทวารัฐกล่าว