WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL22ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นมาก หลังน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ลด ท่ามกลางความไม่แน่นอนจากผลการประชุมเฟด

  +ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงมากสุดในรอบ 7 เดือน ในเมืองคุชชิ่ง รัฐโอกลาโฮมา ซึ่งเป็นแหล่งส่งมอบน้ำมันสำคัญตามสัญญาในตลาด NYMEX โดยราคาน้ำมันดิบมีความผันผวนมาก เนื่องจากนักลงทุนรอดูผลการประชุมการกำหนดนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 17 ก.ย. นี้

  + มีการคาดการณ์ตั้งแต่ช่วงต้นสัปดาห์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐจะลดลงอย่างมาก  โดย Genscape คาดว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังที่จุดส่งมอบคุชชิ่ง จะลดลง 1.8 ล้านบาร์เรล โดยรายงานปริมาณน้ำมันดิบอย่างเป็นทางการจากสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ปรากฎว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่จุดส่งมอบคุชชิ่งปรับลดลง 1.9 ล้านบาร์เรล มากกว่าการคาดการณ์ โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังทั้งหมดของสหรัฐฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 11 ก.ย. 58 ลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล สวนทางกับผลการสำรวจจาก Reuters ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ดี ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นชนิดละประมาณ 3 ล้านบาร์เรล

  + ดัชนีราคาผู้บริโภคของสหรัฐฯ (CPI) ในเดือนส.ค. หดตัวลงร้อยละ 0.1  เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า  หลังราคาน้ำมันเบนซินปรับตัวลดลงประกอบกับราคาของสินค้าอื่นๆ ปรับตัวลดลงเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งแกร่งในช่วงเดือนส.ค. ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง โดยดัชนีเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงในเดือนส.ค. ท่ามกลางการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค และการจ้างงานที่ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลต่อความไม่แน่นอนของการขึ้นอัตราของเฟด ทั้งนี้ดัชนี CPI ขยายตัวร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งหากเฟดตัดสินใจที่จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำต่อไป อาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง และจะทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบจะมีราคาถูกลงสำหรับผู้ถือเงินสกุลอื่น 

  ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณอุปทานในภูมิภาคเอเชียลดลง ในขณะที่อุปสงค์ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ราคาซื้อขายน้ำมันเบนซินล่วงหน้าของสหรัฐฯ ปรับลดลง หลังเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาว

  ราคาน้ำมันดีเซล ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยราคาน้ำมันดีเซลได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ที่ดีจากแอฟริกาตะวันตก และเวียดนาม หลังเวียดนามมีการซื้อน้ำมันดีเซลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนสำหรับนช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ประกอบกับการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในภูมิภาคในช่วงเดือนก.ย. และต.ค. อย่างไรก็ดี ราคาไม่สามารถปรับตัวเพิ่มได้มากนัก หลังอุปทานในภูมิภาคเอเชียและตะวันออกกลางอาจไม่สามารถระบายไปยังภูมิภาคยุโรปได้ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนืออยู่ในระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี

 

ทิศทางราคาน้ำมันดิบ

  ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวที่กรอบ 43-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์

เคลื่อนไหวในกรอบ 46-52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

  จับตาการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ที่จะมีกำหนดจะประชุมครั้งต่อไปในวันที่ 16-17 ก.ย. นี้ ว่าจะพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้หรือไม่ โดยผลสำรวจล่าสุดจาก Bloomber พบว่าโพลที่คาดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในเดือนนี้มีเพียง 48% ถือว่าลดลงจากการสำรวจเมื่อเดือนที่ 77% อย่างไรก็ดี นางเจเน็ต เยลเลน ประธาน Fed ย้ำว่ามีความเหมาะสมที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

  สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) เผยตัวเลขคาดการณ์กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปี 59 ว่าจะลดลง 400,000 บาร์เรลต่อวันสู่ระดับ 8.96 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงกว่า 1 ล้านบาร์เรล เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตสูงสุดในปี 58 ที่ 9.61 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบ (สิ้นสุดวันที่ 4 ก.ย.) ปรับลดลง 13 หลุม สู่ระดับ 662 หลุม ซึ่งถือเป็นการลดลงครั้งแรกจากที่เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 6 สัปดาห์ 

  จับตาความไม่สงบในตะวันออกกลางหลังล่าสุดกลุ่มติดอาวุธรัฐอิสลาม หรือ ไอซิส ได้บุกเข้ายึดครองบ่อน้ำมันจาซาล ซึ่งเป็นบ่อน้ำมันแห่งสุดท้ายที่อยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาลซีเรียแล้วเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทั้งนี้ บ่อน้ำมันจาซาลเป็นบ่อน้ำมันขนาดกลาง ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเมืองโบราณ พัลไมรา ซึ่งถูกกลุ่มไอซิสยึดครองอยู่ และอยู่ใกล้กับแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สำคัญของประเทศซีเรียอีกด้วย อย่างไรดี แม้ว่าซีเรียจะไม่ใช่ผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่แต่อาจทำให้ตลาดกังวลว่าสถานการณ์ดังกล่าวอาจจะบานปลายและส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตน้ำมันรายอื่นๆในตะวันออกกลางได้

  ติดตามเศรษฐกิจจีนว่าจะดำเนินไปในทิศทางอย่างไรต่อไป หลังเศรษฐกิจจีนในช่วงที่ผ่านมาชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กดดันราคาน้ำมันดิบ เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่บริโภคน้ำมันดิบเป็นอันดับ 2 ของโลก โดยล่าสุดตัวเลขการนำเข้าน้ำมันดิบของประเทศจีนปรับตัวลดลงแล้วกว่าร้อยละ 13.4 หรือประมาณ 6.26 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือน ส.ค. นอกจากนี้ ตลาดหุ้นจีนก็ปิดร่วงต่อเนื่อง แม้ว่าทางการจีนจะพยายามออกมาตรการต่างๆ เพื่อสร้างเสถียรภาพในตลาดไปแล้วก็ตาม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!