WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

energyกพช.ออกมาตรการหนุนโรงไฟฟ้าชีวมวล-ก๊าซชีวภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้-สงขลา และเลื่อนกำหนดจ่ายไฟฟ้าแสงอาทิตย์หน่วยงานราชการ เป็นวันที่ 30 ก.ย. 59

      ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เห็นชอบมาตรการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลและก๊าซชีวภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ตลอดจน เพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มดิบผสมกับน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้า กระบี่จาก 10% เป็น 23%

     สำหรับ มาตรการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลและก๊าซชีวภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลานั้นให้มีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจากผู้ ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก มาก(VSPP) เชื้อเพลิงชีวมวลและก๊าซชีวภาพในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัด ปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ได้แก่ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอสะบ้าย้อย และอำเภอนาทวี ในปริมาณกำลังผลิตติดตั้งประมาณ 50 เมกะวัตต์ ด้วยวิธีแข่งขันด้านราคา(FiT Bidding) แบ่งเป็นเชื้อเพลิงชีวมวล ได้แก่ แกลบ ฟางข้าว ชาน อ้อย กะลาปาล์ม หญ้า หรือเศษวัสดุจากการเกษตรอื่นๆ กำลังผลิตติดตั้งประมาณ 30-40 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงก๊าซชีวภาพ หรือก๊าซที่เกิดขึ้นจากการหมักย่อยสลายของน้ำเสีย ของเสียต่างๆ กำลัง ผลิตติดตั้งประมาณ 10-20 เมกะวัตต์

     นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังเห็นชอบให้เลื่อนวันกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ของโครงการผลิต ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วย งานราชการและสหกรณ์การเกษตร จากเดิมภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2559 เป็นวันที่ 30 กันยายน 2559

     ส่วนความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการเพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์ม ดิบผสมกับน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้า ที่โรงไฟฟ้ากระบี่จาก 10% เป็น 23% โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย(กฟผ.) เพิ่มชั่วโมงการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่และให้พิจารณานำน้ำมันปาล์มดิบ มา ใช้ในการผลิตไฟฟ้าทดแทนน้ำมันเตา หลังจากกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรสวนปาล์มที่มีล้นตลาดอยู่ 200,000 ตัน โดยให้ กฟผ.รับซื้อน้ำมัน ปาล์มปริมาณไม่เกิน 15,000 ตันต่อปี

     ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐใน สูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) กำกับดูแลการดำเนินงานโดย คำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและผลกระทบต่อราคา ไฟฟ้าเป็นสำคัญ

    ที่ประชุมฯ ยังได้เห็นชอบแผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2558-2579 (Energy Efficiency Plan; EEP 2015) ที่กำหนดเป้าหมายจะลดความเข้มการใช้พลังงาน(Energy Intensity:EI) ต่อหน่วยผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี 2579 จากแผนเดิม 25% เพิ่มเป็น 30% เมื่อเทียบกับปี 2553 ซึ่งเป็นการปรับแผนเดิมให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ ปรับแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจและแผนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านขน ส่งตามนโยบาย รัฐบาล ประกอบกับแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง จึงจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนการ อนุรักษ์พลังงานให้เข้มข้นขึ้น ภายใต้ 3 กลยุทธ์ 10 มาตรการ 4 กลุ่มเศรษฐกิจ ได้แก่

     มาตรการบังคับกลุ่มโรงงานและอาคารรวมถึงอาคารภาครัฐด้วยพระราชบัญญัติ การส่งเสริมการ อนุรักษ์พลังงาน ซึ่งเพิ่มความเข้มข้นที่อาจจะนำค่าธรรมเนียมพิเศษในการใช้ไฟฟ้าส่วนเกิน มาตรฐานที่กระทรวงพลังงานกำหนดมาบังคับใช้ การกำหนดให้อาคารใหม่ที่จะก่อสร้างต้องคำนึงถึง การใช้พลังงานต่อพื้นที่ และมาตรการร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนรวมถึงประชาชนในการลงทุน เพื่อลด ใช้พลังงาน เช่น การเปลี่ยนเครื่องจักรอุปกรณ์ การเปลี่ยนหลอดไฟแสงสว่างเป็นหลอด LED การปรับปรุงบ้านหรืออาคาร โรงงานให้ลดการใช้พลังงานลง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการ ผลิตของผู้ประกอบการ ยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่กำลังค่อยๆ ฟื้นตัวด้วย รวมถึงเรื่อง สำคัญตามนโยบายของรัฐบาลคือการปรับโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงให้ สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และ การรณรงค์สร้างจิตสำนึกสร้างวินัยให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันใช้พลังงาน อย่างรู้คุณค่าและประหยัด คาดว่าจะสามารถลดความต้องการใช้พลังงานของประเทศลงคิดเป็นมูลค่ากว่า 8.5 ล้านล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานจะรายงานผลการดำเนินงานตามแผนฯ ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง

    นอกจากนี้ ที่ประชุม กพช.ยังเห็นชอบหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี 2558 ตามที่ กกพ. เสนอ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและแนวทางการกำหนดอัตราค่าบริการในการประกอบกิจการ พลังงานตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2554 เพื่อกำกับดูแลราคาให้มีความเหมาะสม สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และสร้างความเป็นธรรมกับผู้บริโภค เพื่อประกาศใช้ภายในปี 2558 และเมื่อ กพช. เห็นชอบนโยบายโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปี 2559-2563 แล้ว ให้ กกพ. ทบทวนหลักเกณฑ์ การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าตามนโยบายดังกล่าว สำหรับประกาศใช้ภายในปี 2560 ต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!