- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Saturday, 01 August 2015 14:34
- Hits: 1978
กฟผ.ยันการรับฟังความคิดเห็นโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาเป็นไปตามกฎหมาย
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ.ชี้แจงการจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3) ของโครงการโรงไฟฟ้าเทพาและท่าเทียบเรือ ณ อ.เทพา จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 27-28 ก.ค.58 ว่า กฟผ.ได้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนด และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทุกคน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าร่วมประชุม และร่วมแสดงความเห็นตามระเบียบและเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยไม่มีการปิดกั้น และไม่มีการจ่ายเงินเป็นรายบุคคลเพื่อชักจูงให้ชุมชนมาร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นหรือเห็นด้วยกับโครงการ
ส่วนการช่วยเหลือค่าเดินทางให้แก่รถปิคอัพคันละ 500 บาทนั้น บริษัทที่ปรึกษาการจัดทำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ดำเนินการตามความเห็นร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนแต่ละหมู่บ้าน โดยการจัดรถปิคอัพรวมกันเดินทางมาพร้อมกันคันละ 8-10 คน ซึ่งบางตำบลอยู่ห่างไกลจากสถานที่จัดงาน เป็นเงิน 500 บาท และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน เป็นค่าเช่าเหมารถรับส่งทั้งไปและกลับรวมค่าน้ำมันรถ ต่อ 1 คัน ต่อวัน รวมทั้ง การมอบสิ่งของใส่ในถุงผ้า หลังการลงทะเบียน ก็มีเพียงเอกสารร่างรายงานฯ น้ำ ขนม และคูปองสำหรับข้าวกล่องอาหารกลางวันเท่านั้น
นายสหรัฐ กล่าวต่อไปว่า กรณีมีข่าวการห้ามกลุ่มผู้คัดค้านเข้าไปในสถานที่จัด และไม่สามารถแสดงความคิดเห็น ในความเป็นจริง มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา ที่ออกคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อป้องกันเหตุร้าย และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย ให้แก่ ทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ จึงไม่อนุญาตให้นำเครื่องเสียง ป้าย หรืออุปกรณ์ที่อาจเป็นอาวุธได้ เข้ามาในสถานที่จัด โดยทุกคนสามารถลงชื่อแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มาลงชื่อวันแรก 49 คน และวันที่สอง 51 คน มีทั้งผู้ที่สนับสนุน คัดค้าน แสดงข้อห่วงใย และข้อเสนอแนะ อย่างรอบด้าน และผู้ที่มาลงชื่อทุกคนได้แสดงความคิดเห็นตามกติกาคนละ 5 นาทีเท่าๆ กัน จนครบทุกคน ซึ่ง กฟผ. พร้อมนำความเห็นของประชาชนไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อให้โรงไฟฟ้าเทพา สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
กฟผ.ยันโรงไฟฟ้าฯเทพาโปร่งใส โต้ใช้เงินอุดปากคนเห็นต่าง
แนวหน้า : นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะโฆษก กฟผ. ชี้แจงถึงรายละเอียด การจัดรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (ค.3) ของโครงการโรงไฟฟ้าเทพาและท่าเทียบเรือ ณ อ.เทพา จ.สงขลา ระหว่างวันที่ 27 และ 28 ก.ค.58 ว่า
"กฟผ.ได้ดำเนินการตามระเบียบ ข้อบังคับ ที่กำหนด และอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนทุกคน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้เข้าร่วมประชุม และร่วมแสดงความเห็นตามระเบียบและเจตนารมณ์ของกฎหมาย โดยไม่มีการปิดกั้น และไม่มีการจ่ายเงินเป็นรายบุคคลเพื่อชักจูงให้ชุมชนมาร่วมเวทีรับฟังความคิดเห็นหรือเห็นด้วยกับโครงการ ส่วนการช่วยเหลือค่าเดินทางให้แก่รถปิคอัพคันละ 500 บาทนั้น บริษัทที่ปรึกษาการจัดทำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ได้ดำเนินการตามความเห็นร่วมกับผู้นำชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ชุมชนแต่ละหมู่บ้าน โดยการจัดรถปิคอัพรวมกันเดินทางมาพร้อมกันคันละ 8-10 คน ซึ่งบางตำบลอยู่ห่างไกลจากสถานที่จัดงาน เป็นเงิน 500 บาท และมีใบเสร็จเป็นหลักฐาน เป็นค่าเช่าเหมารถรับส่งทั้งไปและกลับรวมค่าน้ำมันรถ ต่อ 1 คัน ต่อวัน รวมทั้ง การมอบสิ่งของใส่ในถุงผ้า หลังการลงทะเบียน ก็มีเพียงเอกสารร่างรายงานฯ น้ำ ขนม และคูปองสำหรับข้าวกล่องอาหารกลางวันเท่านั้น" นายสหรัฐ กล่าว
นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี กล่าวต่อไปว่า กรณีมีข่าวการห้ามกลุ่มผู้คัดค้านเข้าไปในสถานที่จัด และไม่สามารถแสดงความคิดเห็น ในความเป็นจริง มาตรการการดำเนินงานของจังหวัดสงขลา ที่ออกคำสั่งกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อป้องกันเหตุร้าย และสร้างความมั่นใจในความปลอดภัย ให้แก่ ทุกฝ่ายสามารถแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ จึงไม่อนุญาตให้นำเครื่องเสียง ป้าย หรืออุปกรณ์ที่อาจเป็นอาวุธได้ เข้ามาในสถานที่จัด โดยทุกคนสามารถลงชื่อแสดงความคิดเห็นได้ ทั้งนี้ ผู้ที่มาลงชื่อวันแรก 49 คน และวันที่สอง 51 คน มีทั้งผู้ที่สนับสนุน คัดค้าน แสดงข้อห่วงใย และข้อเสนอแนะ อย่างรอบด้าน และผู้ที่มาลงชื่อทุกคนได้แสดงความคิดเห็นตามกติกาคนละ 5 นาทีเท่าๆ กัน จนครบทุกคน ซึ่ง กฟผ. พร้อมนำความเห็นของประชาชนไปพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน เพื่อให้โรงไฟฟ้าเทพา สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ก.พลังงาน รอฟังรัฐบาลจะให้ชะลอก่อสร้างโรงไฟฟ้ากระบี่หรือไม่ ระบุมีความจำเป็น ทั้งลดความเสี่ยงด้านเชื้อเพลิงและต้นทุนค่าไฟฟ้าในอนาคต
นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงานและประธานคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ในขณะนี้ยังไม่ได้รับคำสั่งจากรัฐบาลให้ชะลอแผนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ การเดินหน้าโครงการยังเป็นไปตามแผน โครงการอยู่ระหว่างรอการพิจารณาแผนอีเอชไอเอหรือรายงานแผนการป้องกันผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และในเช้านี้ก่อน 09.00 น.กำหนดการเปิดรับซองเสนอการก่อสร้างจากเอกชนก็ยังสามารถเสนอได้ถึงวันที่ 5 สิงหาคม 2558 อย่างไรก็ตามมีข้อกำหนดชัดเจนว่าจะทำสัญญาว่าจ้างก่อสร้างก็ต่อเมื่ออีเอชไอเอผ่านการพิจารณาแล้วภายในระยะเวลา 6 เดือน
"จะเลื่อนเวลาเปิดรับซองก่อสร้างจาก 5 ส.ค.หรือไม่ ก็คงรอฟังผลการเจรจาระหว่างผู้คัดค้านกับตัวเทนรัฐบาลที่ทำเนียบรัฐบาลในเช้าวันนี้ กรณีเลื่อนหรือไม่คงไม่ใช่เรื่องการแพ้ชนะ แต่ทุกอย่างควรจะดูถึงกติกากฏหมายประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ซึ่งในขณะนี้จากการที่ก๊าซเจดีเอปิดซ่อมก็เห็นได้ชัดว่าไฟฟ้าในภาคใต้มีความเสี่ยง"นายคุรุจิต กล่าว
ปลัดกระทรวงพลังงาน ย้ำว่า ไฟฟ้าที่ภาคใต้มีความเสี่ยง เพราะผลิตไฟฟ้าไม่พอ เห็นชัดจากขณะนี้แหล่งก๊าซเจดีเอหยุดซ่อมวันที่ 21-25 ก.ค.โรงไฟฟ้าจะนะต้องหยุดเดินเครื่อง 700 เมกกะวัตต์ใช้น้ำมันผลิตทดแทนบางส่วน ค่าไฟฟ้าก็เพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาดที่ดูแลป้องกันมลพิษและต้นทุนค่าไฟฟ้าต่ำ
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทั้งปัญหาโรงไฟฟ้ากระบี่มีแนวโน้มชะลอ จากที่ก่อนหน้านี้นายรัฐมนตรีสั่งชะลอการเปิดสำรวจปิโตรเลียมรอบ 21 เป็นแรงกดดันการทำงานของกระทรวงพลังงานหรือไม่ นายคุรุจิต กล่าวว่า เป็นหน้าที่ที่กระทรวงพลังงานต้องผลักดันให้เกิดขึ้นทั้ง 2โครงการ เพื่อให้เกิดขึ้นทั้ง 2 เรื่องเพราะปัญหาเห็นชัดจากความเสี่ยงการพึ่งพาก๊าซเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าถึงร้อยละ70 ในขณะที่ก๊าซฯในประเทศลดน้อยลง จึงต้องเตรียมความพร้อมทั้งการกระจายเชื้อเพลิงและเร่งสำรวจใหม่ ไม่เช่นนั้นไทยคงต้องพึ่งพาก๊าซเหลวนำเข้าหรือแอลเอ็นจีทดแทนทั้งหมด จะกระทบต่อค่าไฟฟ้าและมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย