WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Egatสนชย คำนณเศรษฐกฟผ.คาดขายโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุด 2 เป็นสินทรัพย์ EGATIF ในปี 60

    นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ.มีแผนนำสินทรัพย์ที่เป็นโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ขายเข้ากองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGATIF) ภายในปี 60

     อย่างไรก็ตาม คงต้องรอแผนการลงทุนที่ชัดเจนอีกครั้ง เนื่องจากเป็น กฟผ.เป็นรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับเพิ่งจัดตั้งกองทุน EGATIF โดยมีโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นสินทรัพย์ คิดเป็นมูลค่ากองทุนราว 2  หมื่นล้านบาท ทำให้ กฟผ.ยังต้องนำเงินที่ได้จากการขายสินทรัพย์เข้ากองทุน EGATIF มาลงทุนเพื่อใช้ในการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าและการวางระบบสายส่งตามแผนงานก่อน คาดว่าปีนี้จะใช้งบลงทุน 1 หมื่นล้านบาท และปี 59 จะใช้เงินลงทุนอีก 1 หมื่นล้านบาท

    "เราจะมีการขายสินทรัพย์เข้ากองเพิ่มเติมอีกในปี 60 ซึ่งต้องรอแผนการลงทุนชัดเจนก่อน ยังบอกไม่ได้ว่ามูลค่าที่จะขายเข้ากองเพิ่มอีกเท่าไหร่ ตอนนี้เราเพิ่งจัดตั้งกองทุนไปจึงต้องรอดูผลการลงทุนก่อน ในส่วนของเงินที่ได้จะนำไปสมทบการลงทุนตามแผนการปี 58-59 โดยในปีนี้จะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท และปีหน้าใช้อีก 1 หมื่นล้านบาท"นายสุนชัย กล่าว

  สำหรับ EGATIF เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยวันนี้เป็นวันแรก หลังเสนอขายให้กับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันในราคาหน่วยละ 10.00 บาท

    นายสุทธิพัฒน์ เสรีรัตน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดวาณิชธนกิจและธุรกิจตลาดทุน ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายกองทุนรวม EGATIF เปิดเผยว่า EGATIF เป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ เพื่อเข้าลงทุนในสิทธิในรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าในอนาคตของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นระยะเวลา 20 ปี ในราคาหน่วยละ 10 บาท ได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันอย่างล้นหลาม จากความเชื่อมั่นในศักยภาพของทรัพย์สินและการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่มีประสิทธิภาพ

     ตลอดจนความชัดเจนของรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าที่ EGATIF จะได้รับตลอดอายุการเข้าลงทุน ที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนได้อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ จึงเชื่อว่าหน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF เมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะได้รับการตอบรับที่ดีจากกนักลงทุนอีกครั้ง

      นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.กรุงไทย ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF กล่าวว่า โรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 ที่มีกำลังการผลิตตามสัญญาที่ 670 เมกะวัตต์ ซึ่งกองทุนรวม EGATIF เข้าไปลงทุนนั้น ถือเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าใหม่ที่สุดในปัจจุบันของ กฟผ.มีศักยภาพและความพร้อมในการเดินเครื่องสูง

     อีกทั้ง ทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้แหล่งความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง จึงเป็นโรงไฟฟ้าลำดับต้นๆ ที่ต้องผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบรองรับต้องการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมในย่านศูนย์กลางชุมชนผู้ใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ กฟผ. เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฯ ทั้งหมด ทำให้กองทุนรวม EGATIF ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ตลอดอายุสัญญาการเข้าลงทุนอีกด้วย

     ขณะเดียวกัน กองทุนรวม EGATIF ยังได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย 4 ประเภท เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าฯ ในกรณีที่โรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและมีผลกระทบต่อรายได้ค่าความพร้อมจ่าย อาทิเช่น ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก โดยหากโรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและไม่มีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. จะได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและจะส่งมอบสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่กองทุนรวมฯ

     “จุดเด่นต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้กองทุนรวมฯ มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน สม่ำเสมอ โดยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีนโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว โดยจะจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดายังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ของเงินปันผลเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวมฯ อีกด้วย”นางชวินดา กล่าว

      อินโฟเควสท์

กฟผ.คาดนำโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ขายเข้ากองทุน EGATIF ในปี 60 ด้าน EGATIF เทรดวันแรกสูงกว่าไอพีโอ

       EGATIF เข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก (13 ก.ค.) หลังเสนอขายให้กับนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันในราคาหน่วยละ 10.00 บาท  มั่นใจหลังเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะสร้างผลตอบแทนที่สม่ำเสมอให้แก่นักลงทุน ชี้จุดเด่นกองทุนฯ ลงทุนในสิทธิรายได้ค่าความพร้อมจ่ายของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 ที่มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจนและผันผวนต่ำตลอดอายุสัญญา 20 ปี คาดนำโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ขายเข้ากองทุน EGATIF ในปี 60

   นายสุทธิพัฒน์ เสรีรัตน์ รองผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสูงสุดวาณิชธนกิจและธุรกิจตลาดทุน   ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายกองทุนรวม EGATIF เปิดเผยว่า หลังจากธนาคารได้เปิดให้นักลงทุนจองซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ซึ่งเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานกองแรกที่ได้รับการสนับสนุนโดยรัฐวิสาหกิจ เพื่อเข้าลงทุนในสิทธิในรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าในอนาคตของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 เป็นระยะเวลา 20 ปี ในราคาหน่วยละ 10 บาท พบว่าได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนรายย่อยและนักลงทุนสถาบันอย่างล้นหลาม จากความเชื่อมั่นในศักยภาพของทรัพย์สินและการบริหารจัดการโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนความชัดเจนของรายได้ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้าที่ EGATIF จะได้รับตลอดอายุการเข้าลงทุน ที่สามารถสร้างผลตอบแทนให้แก่นักลงทุนได้อย่างชัดเจนและสม่ำเสมอ จึงเชื่อว่า หน่วยลงทุนกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF เมื่อเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จะได้รับการตอบรับที่ดีจากกนักลงทุนอีกครั้ง

    นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้จัดการกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF กล่าวว่า ในวันนี้ (13 ก.ค.) ถือเป็นวันแรกที่หน่วยลงทุนของกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF ได้เข้าจดทะเบียนและทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยโรงไฟฟ้าพระนครเหนือชุดที่ 1 ที่มีกำลังการผลิตตามสัญญาที่ 670 เมกะวัตต์ ซึ่งกองทุนรวม EGATIF เข้าไปลงทุนนั้น ถือเป็นหนึ่งในโรงไฟฟ้าใหม่ที่สุดในปัจจุบันของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพและความพร้อมในการเดินเครื่องสูง อีกทั้งทำเลที่ตั้งของโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้แหล่งความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง จึงเป็นโรงไฟฟ้าลำดับต้นๆ ที่ต้องผลิตไฟฟ้าส่งเข้าระบบรองรับต้องการใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและภาคอุตสาหกรรมในย่านศูนย์กลางชุมชนผู้ใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ กฟผ. เป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับโรงไฟฟ้าฯ ทั้งหมด ทำให้กองทุนรวม EGATIF ไม่มีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ตลอดอายุสัญญาการเข้าลงทุนอีกด้วย

     ขณะเดียวกัน กองทุนรวม EGATIF ยังได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัย 4 ประเภท เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นต่อโรงไฟฟ้าฯ ในกรณีที่โรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและมีผลกระทบต่อรายได้ค่าความพร้อมจ่าย อาทิเช่น ประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก โดยหากโรงไฟฟ้าฯ ได้รับความเสียหายและไม่มีความพร้อมในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. จะได้รับสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยและจะส่งมอบสินไหมทดแทนดังกล่าวให้แก่กองทุนรวมฯ 

   “กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF จะเป็นกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานในกิจการไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนี้ โดยจุดเด่นต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้กองทุนรวมฯ มีโครงสร้างรายได้ที่ชัดเจน สม่ำเสมอ โดยกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน EGATIF มีนโยบายจ่ายปันผลไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของกำไรสุทธิที่ปรับปรุงแล้ว โดยจะจ่ายเงินปันผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง และนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดายังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ของเงินปันผลเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันจดทะเบียนจัดตั้งกองทุนรวมฯ อีกด้วย” นาง  ชวินดา กล่าว

     ด้านนายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการเดินเครื่องและซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้ามากที่สุดในประเทศไทย เป็นผู้รับผิดชอบเดินเครื่อง บำรุงรักษาและบริหารจัดการโรงไฟฟ้าแห่งนี้ตลอดอายุการลงทุน 20 ปี เพื่อสร้างความมั่นใจในความพร้อมเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 ได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ กฟผ. เข้าถือหน่วยลงทุนร้อยละ 25 เป็นเวลาอย่างน้อย 5 ปี เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนที่ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมฯ ว่าสินทรัพย์ที่ลงทุนนั้นเป็นสินทรัพย์ที่มีศักยภาพที่ดีที่สุดของ กฟผ. อย่างแท้จริง 

    นายสุนชัย  กล่าวต่อว่า คาดว่าจะนำโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 2 ขายเข้าในกองทุน EGATIF ในปี 2560 อย่างไรก็ตามต้องรอแผนการลงทุนอีกครั้งเนื่องจากเป็นรัฐวิสาหกิจ ประกอบกับเพิ่งจัดตั้งกองทุน EGATIF โดยนำโรงไฟฟ้าพระนครเหนือ ชุดที่ 1 จัดตั้งซึ่งมีมูลค่ากองทุน 20,025-20,855 ล้านบาท โดยในปีนี้เตรียมงบลงทุน 1 หมื่นล้านบาท และปีหน้าใช้อีก 1 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้สำหรับขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าและวางระบบสายส่ง

    "อาจจะมีการขายสินทรัพย์เข้ากองเพิ่มเติมในปี 60 ซึ่งต้องรอแผนการลงทุนชัดเจนก่อน แต่ทั้งนี้เราก็เพิ่งจัดตั้งกองทุนไปจึงต้องรอดูผลการลงทุนก่อน ในส่วนของเงินที่ได้ จะนำไปสมทบการลงทุนตามแผนการปี 58-59 โดยในปีนี้จะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท และปีหน้าใช้อีก 1 หมื่นล้านบาท" นายสุนชัย กล่าว

   ราคาหุ้น EGATIF ณ เวลา 11.25 น. อยู่ที่ 10.50 บาท เพิ่มขึ้น 0.50 บาท หรือ 5% จากราคาไอพีโอที่ 10.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 285.93 ล้านบาท

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!