WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

แนะคสช.เร่งถกกัมพูชาพื้นที่ทับซ้อนเพิ่มแหล่งสำรองก๊าซลดเสี่ยงไฟฟ้าดับ

    แนวหน้า : แหล่งข่าวในวงการพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เกิดกระแสการปฎิรูปโครงสร้างพลังงานของประเทศจากหลายกลุ่มไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลและคาดว่าจะรู้แนวทางการปฎิรูปพลังงานของประเทศอย่างชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ แต่สิ่งที่อยากให้พล.อ.ประยุทธ์ จันโอชา ประธานคสช.เดินหน้าทำเรื่องสำคัญคือ การหางแนวทางในการพัฒนาแหล่งสัมปทานบนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชา ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่คาราคาซังมานาน

   ทั้งนี้ พื้นที่ทับซ้อนด้านพลังงานทางทะเลไทยกับกัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโลเมตรนั้น ไม่สามารถหาข้อยุติได้ในรัฐบาลชุดที่ผ่านๆมา แม้ว่ากระทรวงพลังงานได้พยายามผลักดันให้รัฐบาลไทยเปิดการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานดังกล่าวร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน แต่หลังจากเกิดข้อพิพาทกรณีปราสาทพระวิหาร ทำให้การเจรจาชะงักไป อีกทั้งที่ผ่านมาถูกมองว่า การเจรจาบนพื้นที่ทับซ้อนมีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝง ในขณะที่ในส่วนของกัมพูชาเริ่มมีการเปิดสัมทานขุดเจาะพลังงานและก๊าชที่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ซับซ้อนมากกว่า 30 แปลง ซึ่งยังคงมีปัญหาอยู่ โดยฝ่ายไทยเห็นว่า เป็นการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อน

     ที่ผ่านมาการเจรจาผลประโยชน์บนพื่นที่ทับซ้อนถูกนำไปพ่วงกับกรณีความขัดแย้งประสาทพระวิหาร ทำให้การเจรจาหยุดชะงักไปและที่สำคัญถูกโยงว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อคสช.ก้าวขึ้นมา ก็น่าจะใช้โอกาสนี้เปิดเจรจาผ่านที่ประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา(GCB)และคณะกรรมการร่วม JTC  ซึ่งเชื่อว่า ด้วยเป้าหมายของรัฐบาลเฉพาะกิจคสช.นั้น จะสามารถเจรจาเรื่องดังกล่าว โดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและไม่มีกลุ่มการเมืองแอบแฝง

    แหล่งข่าวกล่าวอีกว่าในที่สุดน่าจะเป็นการเจรจาที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ซึ่งหากเริ่มเจราจาวันนี้ ก็คาดว่าจะใช้เวลาร่วม 10 ปีกว่าจะพัฒนาผลประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนได้ เปรียบเทียบกับการเจรจาบนพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลย์ที่ใช้เวลาเจรจาร่วมถึง 8 ปี ที่สำคัญจะลดปัญหาเรื่องความมั่นคงแหล่งพลังงาน ซึ่งปัจจุบันด้วยเหตุที่เราต้องพึ่งพาพาแหล่งกาซธรรมชาติเพียงไม่กี่แห่ง ทำให้เมื่อมีการหยุดซ่อมบำรุง มักส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบการผลิตไฟฟ้าของไทย ซึ่งเร็วๆนี้ (13 มิ.ย.-10 ก.ค.) ก็จะเกิดขึ้นในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ที่จะต้องหยุดการจ่ายไฟฟ้าในบางพื้นที่ ถ้าหากเรามีแหล่งสำรองพลังงานเพิ่มขึ้น ปัญหาเหล่านี้ก้จะบรรเทาลงและอาจะไม่เกิดขึ้นอีกเลยก็ได้

แนะถกเขมรเจรจาพื้นที่ทับซ้อน พลังงานเร่งเปิดกพช.สางปัญหาเก่า

     ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * พลังงานแนะ คสช.เจรจากับกัมพูชา เคลียร์พื้นที่ทับซ้อนพลังงานทางทะเล ด้าน "สุเทพ" จ่อเสนอ คสช. เปิดประชุม กพช.เร็วๆ นี้ เร่งแก้ปัญหาพลังงานค้างเก่า ทั้งแอลพีจี โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เงินกองทุนน้ำมัน การเปิดสัมปทานรอบ 21 โซลาร์รูฟท็อปและใบ รง.4 กับปั๊มเอ็นจีวี

     แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้เกิดกระแสการปฏิรูปโครงสร้างพลังงานของประเทศจากหลายกลุ่ม ไปยังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และยังอยู่ในขั้นตอนการรวบรวมข้อมูล คาดว่าในเร็วๆ นี้จะสามารถสรุปได้ ทั้งหมด ซึ่งสิ่งที่ต้องการให้ คสช. เร่งเดินหน้าคือการพัฒนาแหล่ง สัมปทานบนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลไทยกับกัมพูชา ที่มีพื้นที่ประมาณ 26,400 ตารางกิโล เมตรนั้น ซึ่งไม่สามารถหาข้อยุติได้ในรัฐบาลชุดที่ผ่านๆ มา แม้ว่ากระทรวงพลังงานได้พยายามผลักดันให้รัฐบาลไทยเปิดการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชา เพื่อพัฒนาแหล่งพลังงานดังกล่าวร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความมั่น คงด้านพลังงาน แต่หลังจากเกิดข้อพิพาทกรณีปราสาทพระวิหาร ทำให้การเจรจาชะงักไป อีกทั้งที่ผ่านมาถูกมองว่าการเจรจาบนพื้นที่ทับซ้อนมีเรื่องของผลประโยชน์แอบแฝง ในขณะที่ในส่วนของกัมพูชาเริ่มมีการเปิดสัมทานขุดเจาะพลังงานและก๊าชที่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ซับซ้อนมากกว่า 30 แปลง ซึ่งยังคงมีปัญหาอยู่ โดยฝ่ายไทยเห็นว่าเป็นการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อน

    "เมื่อ คสช.ก้าวขึ้นมา น่าจะใช้โอกาสนี้เปิดเจรจาผ่านที่ประชุมคณะกรรมการชายแดนไทย-กัมพูชา (GCB) และคณะกรรมการร่วม JTC ซึ่งเชื่อว่าด้วยเป้าหมายของรัฐบาลเฉพาะกิจ คสช.นั้น จะสามารถเจรจาเรื่องดังกล่าวโดยไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนและไม่มีกลุ่มการเมืองแอบแฝง และในที่สุดน่าจะเป็นการเจรจาที่ยึดผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก ซึ่งหากเริ่มเจราจาวันนี้ ก็คาดว่าจะใช้เวลาร่วม 10 ปี กว่าจะพัฒนาผลประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนได้ เปรียบเทียบกับการเจรจาบนพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย ที่ใช้เวลาเจรจาร่วมถึง 8 ปี" แหล่งข่าวกล่าว

    แหล่งข่าวกล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ปลัดกระทรวงพลังงาน จะต้องเสนอเรื่องเร่งด่วนของกระทรวงต่อ พล.อ.ประจิน จั่นตอง ผู้บัญชาการทหารอากาศ รองหัว หน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจพิจารณาก่อนจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานในเร็วๆ นี้

   โดยเรื่องเร่งด่วน อาทิ การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม (แอล พีจี) ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งที่ยังถูกตรึงไว้, โครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนหน่วยที่ 4-7 และสายส่งไฟฟ้าภาคใต้ขนาด 500 เควี ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.), ขออนุมัติการกู้เงินสำ หรับกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัจจุบันติดลบกว่า 7.5 พันล้านบาท, การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 รวมถึงปัญหาใบอนุญาตประ กอบกิจการโรงงาน (รง.4) ทั้งในส่วนของสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และโครงการติดตั้งแผงเซลล์บนหลังคาบ้านอาคาร (โซลาร์รูฟท็อป).

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!