- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 23 March 2015 22:24
- Hits: 1754
ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 42 - 57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 52 - 57 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 0ydi“อุปทานน้ำมันดิบล้นตลาด จับตาการเจรจาโครงการนิวเคลียร์ของอิหร่าน ก่อนถึงเส้นตาย”
บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์
แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (23-27 มี.ค. 58)
ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ยังคงผันผวน โดยตลาดยังคงจับตาการเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจทั้งหกเพื่อหาข้อตกลงเรื่องการจำกัดศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน ที่มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ ก่อนจะถึงกำหนดเส้นตายปลายเดือน มี.ค. นี้ อย่างไรก็ดี ตลาดยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝั่งผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก รวมถึงนอกจากนี้ อุปสงค์น้ำมันดิบที่อาจจะปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงประจำปีของโรงกลั่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย
ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:
จับตาการเจรจาระหว่างอิหร่านกับชาติมหาอำนาจทั้งหก ซึ่งทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องบรรลุกรอบความตกลง และได้ข้อตกลงฉบับสมบูรณ์ภายในวันที่ 1 ก.ค. 58 โดยการเจรจามีจุดมุ่งหมายเพื่อจำกัดศักยภาพด้านนิวเคลียร์ของอิหร่าน เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันดิบ
ของอิหร่าน ซึ่งล่าสุดส่งผลให้อิหร่านยังไม่สามารถส่งออกน้ำมันดิบอีกราว 1 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ ทั้งนี้สหรัฐฯ และกลุ่มชาติมหาอำนาจ ได้ยื่นข้อเสนอให้อิหร่านยอมรับเงื่อนไขการควบคุมโครงการนิวเคลียร์เป็นระยะเวลา 10 ปี เพื่อแลกกับการผ่อนปรนมาตรการคว่ำบาตร อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายพยายามบรรลุข้อตกลงให้ได้ตามที่กำหนดไว้ หลังจากเลื่อนกำหนดเส้นตายไปแล้วสองครั้งในเดือนก.ค. และ พ.ย. 57 ซึ่งการต่ออายุการเจรจาออกไปอีกครั้งคงทำได้ยากมาก เนื่องจากความกดดันภายในของทั้งสหรัฐฯ และอิหร่าน
อุปทานน้ำมันดิบยังคงล้นตลาดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฝั่งผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปก โดยล่าสุดปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในรอบ 80 ปี
ในช่วงกลางเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา โดยยังไม่มีสัญญาณว่าจะปรับตัวลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้จำนวนถังเก็บน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ไม่เพียงพอกับอุปทานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะใกล้นี้ นอกจากนี้ บริษัทผู้ให้บริการเช่าคลังน้ำมัน ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา คาดการณ์ว่าน้ำมันดิบในคงคลัง ณ จุดส่งมอบนี้จะเต็มถังในช่วงเดือน เม.ย. หรือ กลาง พ.ค. 58 เช่นเดียวกับ สำนักงานพลังงานสากล (IEA) ที่คาดการณ์ว่าสถานการณ์อุปทานน้ำมันดิบล้นตลาดจะกดดันตลาดไปถึงช่วงกลางปี 58 จนกว่าตลาดจะสามารถสร้างสมดุลระหว่างอุปทานส่วนเกินกับอุปสงค์ได้
อุปสงค์น้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลงในเดือน มี.ค. นี้ หลังโรงกลั่นน้ำมันทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย เริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ในช่วงไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญที่กดดันราคาน้ำมันดิบในช่วงนี้
หลังจากการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ (FOMC) วันที่ 17-18 มี.ค. ที่ผ่านมา ธนาคารกลางของสหรัฐฯ (FED) ส่งสัญญาณว่ามีความเป็นไปได้ที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงกลางปี หลังจากคงอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำที่ร้อยละ 0 - 0.25 มานานกว่า 6 ปี อย่างไรก็ดี FED ย้ำว่าจะยังไม่เร่งรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากยังรอประเมินข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดก่อน โดยเฉพาะการฟื้นตัวเพิ่มเติมในตลาดแรงงาน ทั้งนี้การตัดสินใจปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งจะกดดันราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวลดลงได้
ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพี Q4/57 ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีภาคการผลิต (Markit PMI) และความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ดัชนีภาคบริการ และดัชนีภาคการผลิตยูโรโซน และดัชนีภาคการผลิตจีน (HSBC PMI)
สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20 มี.ค. 58)
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 0.88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 43.96 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 0.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 54.43 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบลดลงเฉลี่ยอยู่ที่ 52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง โดยราคาน้ำมันดิบได้รับแรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้นสูงสุดในรอบ 12 ปี รวมทั้งความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบที่ล้นตลาด หลังลิเบียวางแผนที่จะส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มมากกว่า 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากท่าเรือ Hariga และ Zueitina ทางตะวันออกของประเทศ ประกอบกับความกังวลที่อิหร่านจะส่งออกน้ำมันดิบได้เพิ่มขึ้น หากมาตรการคว่ำบาตรโครงการนิวเคลียร์จากประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกยุติลง นอกจากนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งยังคงกดดันราคาน้ำมันดิบต่อเนื่อง