- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 11 March 2015 11:39
- Hits: 1906
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 2-6 มี.ค. 58 และ แนวโน้มสัปดาห์ที่ 9-13 มี.ค. 58
สัปดาห์ ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 60.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 1.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 58.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 0.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 50.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 3.24 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 77.02 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 1.67 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 74.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· นาย Li Keqiang นายกรัฐมนตรีจีน ปรับลดเป้าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของจีน ในปี 2558 มาอยู่ที่ 7.0% ซึ่งเป็นเป้าหมายทางเศรษฐกิจที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 ปีจากเดิมคาดว่าเติบโตที่ 7.5%
· กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดสั่งซื้อสินค้าจากโรงงาน (Factory Orders) เดือน ม.ค. 58 ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 0.2% สวนทางกับผลสำรวจนักวิเคราะห์ (หลังจากที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน 3.5% ในเดือน ธ.ค. 57) ชี้ถึงสภาพภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯยังคลอนแคลน เนื่องจากผลกระทบจากค่าเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น
· Reuters รายงาน เอเชียนำเข้าน้ำมันดิบอิหร่าน ในเดือน ม.ค. 58 ลดลงจากปีก่อน 21.5% มาอยู่ที่ 0.98 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำกว่าระดับ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน
· CFTC รายงานสถานะการลงทุนสัญญาซื้อขายน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.พ. 58 กลุ่มผู้จัดการกองทุนลดจำนวนสัญญาซื้อสุทธิ (Net Long Position) ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 7,737 สัญญา มาอยู่ที่ 230,138 สัญญา
· Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 27 ก.พ. 58 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 10.3 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 444.4 ล้านบาร์เรล สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์คาดการณ์จะเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 6.3 ล้านบาร์เรล และทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ครั้งใหม่
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· ธนาคารแห่งชาติของจีน (PBOC) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 5.35% และปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนโยบายลง 0.25% มาอยู่ที่ 2.50% เป็นการปรับลดครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือน เพื่อเพิ่มสภาพคล่องในตลาดเงินและกระตุ้นการใช้จ่ายเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อต่ำ
· Reuters และ University of Michigan รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ เดือนก.พ.58 ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 95.4 จุด จากตัวเลขเบื้องต้นที่ 93.6 จุด โดยได้แรงหนุนจากแนวโน้มการจ้างงานและค่าแรงที่ดีขึ้น และกระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการ GDP สหรัฐฯ ตลอดทั้งปี 2557 เศรษฐกิจสหรัฐฯ ขยายตัว 2.4% ดีกว่าระดับเฉลี่ย 2.2% ในช่วงปี 2553-2556
· รายงานฉบับเดือน ก.พ. 58 ของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ (Energy Information Agency – EIA) ประเมินอุปสงค์น้ำมันดิบโลกปี 2558 ใน อยู่ที่ 92.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน (+1.03 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.1%) ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ Non-OPEC เติบโตอยู่ที่ 0.83 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.5% )
· Reuters รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของ OPEC เดือน ก.พ. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 0.35 ล้านบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 29.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดในรอบ 8 เดือน สาเหตุหลักเกิดจากสภาพอากาศที่เลวร้ายในอิรักส่งผลให้การส่งออกล่าช้า
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปิดตลาดในแดนลบเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้รับอิทธิพลจากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ท่ามกลางความกังวลของนักลงทุนถึงท่าทีของธนาคารกลางสหรัฐฯในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ล่าสุด CFTC รายงานสถานะการลงทุนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอน สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 มี.ค. 58 กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับลดสถานะการซื้อสุทธิ ทั้งนี้เลขาธิการ OPEC นาย Abdullah al-Badri ย้ำกับสื่อในงาน Middle East Oil & Gas Show Conference ที่บาห์เรนว่าผู้ผลิตในกลุ่ม OPEC ไม่ควรปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพื่ออุดหนุนผู้ผลิต Shale ทางด้านปัจจัยภูมิรัฐศาสตร์กลุ่มติดอาวุธบุกเข้าจู่โจมแหล่งผลิตน้ำมันดิบ al-Ghani ของลิเบียและสังหารหน่วยรักษาความปลอดภัยไป 11 คน ทางด้านเทคนิคสัปดาห์นี้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 58.0 – 62.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 47.0 - 50.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และดูไบจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 55.8 – 60.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นจาก Platts รายงาน โรงกลั่นน้ำมันที่ส่งออก Gasoline รายใหญ่ของเอเชียมีแผนปิดซ่อมบำรุงหลายแห่ง อาทิ บริษัท Wepec ในจีน ประกาศปิดโรงกลั่น Dalian (กำลังการกลั่น 200,000 บาร์เรลต่อวัน) ช่วง 20 เม.ย.-25 พ.ค. 58 ซึ่งปกติส่งออก Gasoline 92 RON ปริมาณ 270,000 – 290,000 บาร์เรลต่อเดือน บริษัท Reliance ในอินเดีย ประกาศปิด CDU No.1 (กำลังการกลั่น 330,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Jamnagar (กำลังการกลั่น 660,000 บาร์เรลต่อวัน) และ บริษัท Essar ในอินเดีย ปิดโรงกลั่น Vadinar (กำลังการกลั่น 400,000 บาร์เรลต่อวัน) ประกอบกับ PAJ รายงานยอดส่งออก Gasoline ของญี่ปุ่น สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 28 ก.พ. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 29% มาอยู่ที่ 720,000 บาร์เรล ขณะที่ปริมาณสำรองเชิงพาณิชย์ทรงตัวอยู่ที่ 10.78 ล้านบาร์เรล คาดว่าส่วนผสม Gasoline และ Alkylate ได้ถูกส่งจากญี่ปุ่นไปยังชายฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม Platts คาด อินโดนีเซียจะนำเข้า Gasoline ในเดือน มี.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 150,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 8.85 ล้านบาร์เรล ประกอบด้วย Mogas 88 RON ปริมาณ 8.15 ล้านบาร์เรล และที่เหลือเป็น Mogas 92 RON และ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรอง Gasoline เชิงพาณิชย์ บริเวณ ARA (Amsterdam-Rotterdam-Antwerp) สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ก.พ. 58 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 7.4% มาอยู่ที่ 7.49 ล้านบาร์เรล โดยสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 74.5-79.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจาก Platts รายงาน ตลาด Gasoil ในเอเชียคึกคักโดยผู้ซื้อเร่งนำเข้า เนื่องจากญี่ปุ่น เกาหลีใต้และไต้หวันเริ่มทยอยปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันตั้งแต่เดือนมี.ค. 58 และหน่วยงานศุลกากร (General Administration of Customs) ของจีนรายงาน ยอดส่งออก Gasoil ในเดือน ม.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 74.1% และลดลงจากปีก่อน 81.1% มาอยู่ที่ 521,500 บาร์เรล ต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง กอปรกับ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรอง Gasoil เชิงพาณิชย์ บริเวณ ARA สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 26 ก.พ. 58 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.0% มาอยู่ที่ 23.20 ล้านบาร์เรล จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากเริ่มมีการส่งออกสู่ East Coast ของสหรัฐฯ ซึ่งเผชิญสภาพอากาศหนาวจัด ทั้งนี้ คาดว่า Arbitrage สู่สหรัฐฯ ในช่วง 2-3 สัปดาห์นี้ จะมีประมาณ 7.45 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Platts คาด อินโดนีเซียจะนำเข้า Gasoil 0.35%S ในเดือนมี.ค. 58 ลดลงจากเดือนก่อน 50% มาอยู่ที่ 400,000 บาร์เรล และ คณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (NDRC) ของจีนยกเลิกการประกาศเพดานราคาหน้าโรงกลั่นน้ำมัน (Ex-Refinery) สำหรับ Jet Fuel เพื่อให้บริษัท PetroChina บริษัท Sinopec และบริษัท CNOOC ตั้งราคาตามกลไกตลาด อีกทั้ง Abu Dhabai National Oil Co. (ADNOC) จากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ส่งออก Diesel เที่ยวเรือแรกจากโรงกลั่น Ruwais (กำลังการกลั่น 415,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่ได้รับการขยายกำลังการกลั่นกว่า 2 เท่ามาอยู่ที่ระดับประมาณ 830,000 บาร์เรลต่อวัน ปัจจุบันมีอัตราการกลั่นอยู่ที่ประมาณ 50-60% และคาดว่าจะสามารถเริ่มส่งออก Gasoline เที่ยวเรือแรกได้ในเดือน เม.ย. หลังหน่วย Residual Fluid Catalytic Cracking (RFCC) เริ่มดำเนินการ สัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 72.5-77.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล