WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

   

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (23-27 ก.พ. 58)  

  ราคาน้ำมันดิบสัปดาห์นี้ยังคงผันผวน โดยตลาดยังจับตาผลการเจรจาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกรีซ  รวมถึงสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้กำลังการผลิตน้ำมันดิบของลิเบียลดลงได้ นอกจากนี้ ราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงส่งผลให้บริษัทน้ำมันหลายแห่งทั่วโลกเริ่มชะลอการลงทุนขุดเจาะและผลิตน้ำมันซึ่งอาจทำให้อุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินในตลาดโลกลดลง โดยล่าสุด Baker Hughes เปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะน้ำมันดิบหลังตัวเลขหลุมขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดยังได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาด และความต้องการใช้น้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาส 2 เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยเฉพาะยิ่งในภูมิภาคเอเชีย

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  กรีซกำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่อาจจะต้องถอนตัวออกจากกลุ่มประเทศยูโรโซน หลังการเจรจากับบรรดาเจ้าหนี้ยุโรปยุติลงโดยไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ทั้งนี้ โครงการอัดฉีดเงินช่วยเหลือ (Bailout) ให้กับกรีซราว 240,000 ล้านยูโร กำลังจะหมดอายุลงในสิ้นเดือนนี้ ซึ่งหากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ กรีซก็จะไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินสดจากธนาคารยุโรป (ECB) ได้ และอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ดี ต้องติดตามว่าจะมีการจัดประชุมวาระพิเศษขึ้นเพื่อหาข้อสรุปอีกครั้งหรือไม่ ซึ่งความไม่แน่นอนของของเศรษฐกิจยูโรโซนนี้ส่งผลให้ค่าเงิน

ยูโร เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลล่าสหรัฐ อ่อนค่าลงต่อเนื่อง

  จับตาสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ยังคงปะทุต่อเนื่อง โดยล่าสุดประเทศอียิปต์เปิดฉากโจมตีทางอากาศใส่ฐานที่มั่นของกลุ่มไอเอส (IS) ในประเทศลิเบีย ซึ่งเป็นการตอบโต้หลังกลุ่มไอเอสสังหารชาวอียิปต์ 21 คน ที่นับถือศาสนาคริสต์นิกายคอปติก และเป็นแรงงานยากจนที่ข้ามแดนโดยฝ่าฝืนคำเตือนของรัฐบาล เข้าไปหางานทำในลิเบีย อย่างไรก็ดี เหตุการณ์ไม่สงบในลิเบียที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะคลี่คลาย ส่งผลให้กำลังผลิตน้ำมันของประเทศลดลงจากระดับสูงสุดเกือบ 1.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน เหลือเพียง 3.5 แสนบาร์เรลต่อวัน

  จับตาปริมาณการขุดเจาะน้ำมันดิบของโลกว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หลังจากที่บริษัทน้ำมันหลายแห่งทั่วโลก เริ่มชะลอการลงทุนในการขุดเจาะและผลิตน้ำมันลง โดยล่าสุด Baker Hughes เปิดเผยข้อมูลการขุดเจาะน้ำมันดิบหลังตัวเลขหลุมขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ (ณ วันที่ 13 ก.พ. 58) ลดลงต่อเนื่องอีก 48 หลุม จากสัปดาห์ก่อนหน้า เหลือเพียง1,056 หลุม ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับแต่ปี 2554 ทั้งนี้ การลดลงของปริมาณหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบทั่วโลก ถือเป็นการส่งสัญญาณว่า ราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำส่งผลให้บริษัทผู้ผลิตน้ำมันหลายแห่งเริ่มชะลอการผลิตน้ำมันลง ซึ่งอาจจะทำให้อุปทานน้ำมันดิบที่ล้นตลาดอยู่ในขณะนี้ปรับตัวลดลงได้ อย่างไรก็ดี แม้ตัวเลขหลุมขุดเจาะจะปรับลดลง แต่นักวิเคราะห์คาดว่าจะยังไม่กระทบต่อการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในระยะสั้น แต่อาจส่งผลในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า โดยล่าสุดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในสัปดาห์ที่ผ่านมายังอยู่ในระดับสูงราว 9.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  ตลาดน้ำมันดิบอาจได้รับแรงกดดันในช่วงไตรมาส 2 ที่จะเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น โดยเฉพาะยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบปรับตัวลดลง และกดดันราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ อุปทานน้ำมันดิบส่วนเกินจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกทั่วโลกยังคงล้นตลาดอยู่ราว 2 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้บริโภค จีดีพี Q4/14 รายจ่ายในการบริโภคของบุคคล ยอดขายบ้านที่รอปิดการขายสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (16-20 ก.พ. 58)

  ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 2.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 50.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 1.30 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปิดที่ 60.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยอยู่ที่ 58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

  ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอย่างผันผวนและปรับเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงต้นสัปดาห์ โดยปัจจัยหนุนหลักมาจาก ปริมาณหลุมขุดเจาะของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง การที่บริษัทผู้ผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ประกาศปรับลดค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนในการผลิตน้ำมันลง ปัญหาความไม่สงบในลิเบียที่ถูกกดดันเพิ่มเติมจากการที่อียิปต์ได้โจมตีฐานที่มั่นของกลุ่ม IS ในลิเบีย และตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจของยูโรโซนที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันดิบได้ปรับตัวลดลงในช่วงปลายสัปดาห์ โดยได้รับแรงกดดันจากการที่สถาบันปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้น ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่าขึ้น และวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลตรุษจีนทำให้สภาพคล่องในการซื้อขายลดลง

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!