- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Wednesday, 18 February 2015 15:44
- Hits: 2040
ปตท.ยืนยันนโยบายพลังงานของรัฐบาล เพื่อประเทศและประชาชนไทย
มุ่งเน้นการสร้างความมั่นคงทางพลังงาน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้คนไทยทุกคนได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง เป็นธรรม และยั่งยืน
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานของรัฐบาลปัจจุบัน ปตท. ขอให้ข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นราคาก๊าซธรรมชาติไม่ปรับขึ้นหรือลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลก นั้น เนื่องมาจากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทย อ้างอิงราคาน้ำมันเตาในตลาดโลกย้อนหลัง 6-12 เดือน จึงทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติไม่สามารถปรับได้ทันทีตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
สำหรับ การสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลเป็นพลังงานทดแทนนั้น พบว่าต้นทุนเอทานอลที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอล์นั้น ไม่ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากเป็นผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอลผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อนำมากลั่นประมาณ 1,400 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี
ในส่วนของก๊าซ LPG ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา กระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้เอกชนทุกราย สามารถนำเข้าก๊าซ LPG ได้อย่างเสรี แต่เนื่องจากเห็นว่าการนำเข้าไม่คุ้มค่า จึงไม่มีเอกชนรายใดนำเข้าก๊าซ LPG นอกจาก ปตท. รายเดียวในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่จัดหาพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดปรับราคาทุก 3 เดือน อ้างอิงกับราคาต้นทุน 3 ส่วน คือ ส่วนที่ผลิตได้จากก๊าซในอ่าวไทย จากโรงกลั่นน้ำมันและจากการนำเข้า ดังนั้น ราคาก๊าซ LPG จึงมีโอกาสปรับขึ้นหรือลงในอนาคตตามราคาตลาดโลก ที่สำคัญ การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาขายปลีกยังคงเดิมที่ 24.16 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้ง ผู้บริโภคภาคครัวเรือนที่เป็น ร้านค้า หาบเร่แผงลอย และผู้มีรายได้น้อย ยังคงได้รับการช่วยเหลือให้สามารถใช้ก๊าซ LPG ได้ในราคาเท่าเดิมคือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านการจัดสรรก๊าซ LPG ซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ได้เป็นการจัดสรรให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากแต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเท่าเทียมกันในการได้รับการจัดสรรทรัพยากร และประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ ทั้งนี้ การนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการผลิตก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบเป็นไปตามแผนพัฒนาประเทศในโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ตั้งแต่ปี 2525 ที่กำหนดให้สร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ควบคู่ไปกับโรงแยกก๊าซฯ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติบางส่วนมาเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ แทนที่จะเอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแต่เพียงอย่างเดียว และจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งล่าสุด ผู้ใช้ก๊าซ LPG ทุกภาคส่วน รวมถึงกลุ่มปิโตรเคมีก็ใช้ต้นทุนราคาเดียวกัน ที่ปรับขึ้นลงตามราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเช่นกัน
ในประเด็นการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 มีความจำเป็นเนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของไทยที่พิสูจน์แล้ว (P1) เมื่อเทียบกับปริมาณใช้ในปัจจุบัน หากไม่มีการขุดเจาะเพิ่มจะมีใช้ได้อีกไม่เกิน 7 ปี อีกทั้ง ก๊าซธรรมชาติในประเทศมีราคาที่ถูกกว่าราคาก๊าซที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการเปิดให้มีการสำรวจเพื่อหาแหล่งก๊าซใหม่ จะเป็นโอกาสให้ไทยสามารถเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองในประเทศ แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะพบแหล่งก๊าซจริงหรือไม่
นอกจากนี้ การที่ ปตท. ได้ทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาต้าร์ ในรูปแบบสัญญาระยะยาว 20 ปี ปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็นเพียง 6% ของความต้องการใช้ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นแหล่งพลังงานสำรอง หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่แหล่งผลิตก๊าซต้องหยุดซ่อมบำรุง หรือจัดส่งก๊าซได้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
“การกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศ รัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันพิจารณาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน นอกจากนี้ การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล จะช่วยให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานมากขึ้น รวมทั้ง ยังช่วยสนับสนุนเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่นๆ ในประเทศ ยังจะช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย” นายไพรินทร์ กล่าวย้ำในตอนท้าย
PTT ยืนยันไทยจำเป็นต้องเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เหตุถ้าไม่ขุดเจาะก๊าซเพิ่ม จะมีใช้ไปอีกแค่ 7 ปี
PTT ยืนยันไทยจำเป็นต้องเปิดสัมปทานรอบที่ 21 เหตุถ้าไม่ขุดเจาะก๊าซเพิ่ม จะมีใช้ไปอีกแค่ 7 ปี เผยปตท.สผ.เล็งเข้าประมูลงานสำรวจขุดเจาะ หากรัฐเปิดสัมปทาน ยันแม้ราคาน้ำมันลง แต่แก๊ซโซฮอล์-ก๊าซ LPGไม่จำเป็นต้องลงตาม เหตุที่มาของต้นทุนต่างกัน ชี้รัฐหนุนใช้แก๊สโซฮอลผ่านกองทุนฯ ประหยัดงบนำเข้าน้ำมันปีละ 2หมื่นลบ.
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)หรือ PTT เปิดเผยถึงประเด็นการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ว่า มีความจำเป็นเนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของไทยที่พิสูจน์แล้ว (P1)เมื่อเทียบกับปริมาณใช้ในปัจจุบัน หากไม่มีการขุดเจาะเพิ่มจะมีใช้ได้อีกไม่เกิน 7 ปี อีกทั้ง ก๊าซธรรมชาติในประเทศมีราคาที่ถูกกว่าราคาก๊าซที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการเปิดให้มีการสำรวจเพื่อหาแหล่งก๊าซใหม่ จะเป็นโอกาสให้ไทยสามารถเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองในประเทศ แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะพบแหล่งก๊าซจริงหรือไม่
นอกจากนี้ การที่ ปตท.ได้ทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาต้าร์ ในรูปแบบสัญญาระยะยาว 20 ปี ปริมาณ 2 ล้านตันต่อปี ซึ่งคิดเป็นเพียง 6% ของความต้องการใช้ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นแหล่งพลังงานสำรอง หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่แหล่งผลิตก๊าซต้องหยุดซ่อมบำรุง หรือจัดส่งก๊าซได้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
“การกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศ รัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันพิจารณาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน นอกจากนี้ การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล จะช่วยให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานมากขึ้น รวมทั้ง ยังช่วยสนับสนุนเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่นๆ ในประเทศ ยังจะช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย”นายไพรินทร์ ระบุ
ทั้งนี้ หากรัฐเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 นั้นทางบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ก็จะเข้าร่วมในการประมูลสัมปทานดังกล่าวในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตของ ปตท.สผ.ที่จะต้องมีการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาอัตราการผลิตให้สม่ำเสมอ ซึ่งขณะนี้ทางปตท.สผ.ก็ได้มีการทำเอกสารเสนอไปยังกระทรวงพลังงานแล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา
นายไพรินทร์ กล่าวต่อว่า ตนรู้สึกห่วงใย เกี่ยวกับเรื่องพลังงานจากที่มีผู้โจมตีและบิดเบือนและดิสเครดิตรัฐบาลทำให้รัฐบาลขาดความน่าเชื่อถือ รวมถึงให้ประชาชนสับสน เช่น มองว่ารัฐบาลและเอกชนมีข้อมูลขัดแย้งกันในเรื่องปริมาณการสำรองก๊าซธรรมชาติของไทย (P1) ซึ่งรัฐบาลบอกว่าจะมีก๊าซใช้ไม่เกิน 7 ปี แต่ ปตท.บอกว่าจะมีก๊าซใช้ไปอีก 20 ปีซึ่งที่จริงแล้วการสำรองก๊าซธรรมชาติมีพอใช้ไม่เกิน 7 ปีเป็นเรื่องจริง แต่อีก 20 ปีปตท.ได้มีทำสัญญานำก๊าซธรรมชาติจากกาตาร์ จำนวน 2 ล้านตันต่อปี คิดเป็นเพียง 6% ของความต้องการใช้ทั้งหมดที่ประะเทศไทยมีความต้องการใช้ 40ล้านตัน โดยเป็นก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ LNG ในอ่าวของประเทศไทย 30 ล้านตัน และนำเข้ามา 10 ล้านตัน ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน
"การนำข้อมูลสองส่วนมารวมกันเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง อยากให้ประชาชนมีการเชื่อข้อมูลของภาครัฐ ถึงแม้จะไม่เชื่อข้อมูลของ ปตท.ก็ตาม เพราะรัฐเป็นผู้วางเรื่องนโยบายและทำเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ"นายไพรินทร์ กล่าว
นายไพรินทร์ กล่าวต่อถึง กรณีที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานของรัฐบาลปัจจุบัน ปตท.ขอให้ข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูต้องในประเด็นราคาก๊าซธรรมชาติไม่ปรับขึ้นหรือลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกนั้น เนื่องมาจากราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทย อ้างอิงราคาน้ำมันเตาในตลาดโลกย้อนหลัง 6-12 เดือน จึงทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติไม่สามารถปรับได้ทันทีตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
สำหรับ การสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอลเป็นพลังงานทดแทนนั้น พบว่าต้นทุนเอทานอลที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอล์นั้น ไม่ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากเป็นผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอลผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อนำมากลั่นประมาณ 1,400 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยประมาณ 20,000 ล้านบาทต่อปี
ในส่วนของก๊าซ LPG ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา กระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้เอกชนทุกราย สามารถนำเข้าก๊าซ LPG ได้อย่างเสรี แต่เนื่องจากเห็นว่าการนำเข้าไม่คุ้มค่า จึงไม่มีเอกชนรายใดนำเข้าก๊าซ LPG นอกจากปตท.รายเดียวในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่จัดหาพลังงานให้กับประเทศ
นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)มีผลตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดปรับราคาทุก 3เดือน อ้างอิงกับราคาต้นทุน 3 ส่วน คือ ส่วนที่ผลิตได้จากก๊าซในอ่าวไทย จากโรงกลั่นน้ำมันและจากการนำเข้า ดังนั้น ราคาก๊าซ LPG จึงมีโอกาสปรับขึ้นหรือลงในอนาคตตามราคาตลาดโลก ที่สำคัญ การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาขายปลีกยังคงเดิมที่24.16 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้ง ผู้บริโภคภาคครัวเรือนที่เป็น ร้านค้า หาบเร่แผงลอย และผู้มีรายได้น้อย ยังคงได้รับการช่วยเหลือให้สามารถใช้ก๊าซ LPG ได้ในราคาเท่าเดิมคือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านการจัดสรรก๊าซ LPG ซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ได้เป็นการจัดสรรให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากแต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเท่าเทียมกันในการได้รับการจัดสรรทรัพยากรและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ทั้งนี้ การนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการผลิตก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบเป็นไปตามแผนพัฒนาประเทศในโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ตั้งแต่ปี 2525 ที่กำหนดให้สร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ควบคู่ไปกับโรงแยกก๊าซฯ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติบางส่วนมาเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ แทนที่จะเอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแต่เพียงอย่างเดียว และจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งล่าสุด ผู้ใช้ก๊าซ LPG ทุกภาคส่วนรวมถึงกลุ่มปิโตรเคมีก็ใช้ต้นทุนราคาเดียวกัน ที่ปรับขึ้นลงตามราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเช่นกัน
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
PTT แจงข้อกล่าวหาหลังถูกโจมตี ยืนยันมุ่งมันสร้างความมั่นคงพลังงานชาติ
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.(PTT) เปิดเผยว่า ตามที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับนโยบายพลังงานของรัฐบาลปัจจุบัน ปตท. ขอให้ข้อเท็จจริงเพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในประเด็นราคาก๊าซธรรมชาติไม่ปรับขึ้นหรือลงตามราคาน้ำมันในตลาดโลกนั้น เนื่องมาจากราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของไทย อ้างอิงราคาน้ำมันเตาในตลาดโลกย้อนหลัง 6-12 เดือน จึงทำให้ราคาก๊าซธรรมชาติไม่สามารถปรับได้ทันทีตามราคาน้ำมันในตลาดโลก
สำหรับ การสนับสนุนการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์เป็นพลังงานทดแทนนั้น พบว่าต้นทุนเอทานอลที่ใช้ผสมเป็นแก๊สโซฮอล์นั้น ไม่ขึ้นกับราคาน้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากเป็นผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทน ดังนั้น รัฐจึงจำเป็นต้องสนับสนุนการใช้แก๊สโซฮอล์ผ่านกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ เพื่อนำมากลั่นประมาณ 1,400 ล้านลิตร/ปี คิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยราว 20,000 ล้านบาท/ปี
ในส่วนของก๊าซปิโตรเลียมเหลว(LPG) ตั้งแต่ปี 54 เป็นต้นมา กระทรวงพลังงานเปิดโอกาสให้เอกชนทุกราย สามารถนำเข้าก๊าซ LPG ได้อย่างเสรี แต่เนื่องจากเห็นว่าการนำเข้าไม่คุ้มค่า จึงไม่มีเอกชนรายใดนำเข้าก๊าซ LPG นอกจาก ปตท. รายเดียวในฐานะรัฐวิสาหกิจที่มีหน้าที่จัดหาพลังงานให้กับประเทศ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ตามมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีผลตั้งแต่วันที่ 2 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งกำหนดปรับราคาทุก 3 เดือน อ้างอิงกับราคาต้นทุน 3 ส่วน คือ ส่วนที่ผลิตได้จากก๊าซในอ่าวไทย จากโรงกลั่นน้ำมันและจากการนำเข้า ดังนั้น ราคาก๊าซ LPG จึงมีโอกาสปรับขึ้นหรือลงในอนาคตตามราคาตลาดโลก
อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งนี้ ไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อผู้บริโภค เนื่องจากราคาขายปลีกยังคงเดิมที่ 24.16 บาทต่อกิโลกรัม อีกทั้ง ผู้บริโภคภาคครัวเรือนที่เป็น ร้านค้า หาบเร่แผงลอย และผู้มีรายได้น้อย ยังคงได้รับการช่วยเหลือให้สามารถใช้ก๊าซ LPG ได้ในราคาเท่าเดิมคือ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม
ด้านการจัดสรรก๊าซ LPG ซึ่งเป็นทรัพยากรของประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่ได้เป็นการจัดสรรให้กับกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเฉพาะ หากแต่ต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ความเท่าเทียมกันในการได้รับการจัดสรรทรัพยากร และประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ
ทั้งนี้ การนำก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการผลิตก๊าซ LPG เป็นวัตถุดิบเป็นไปตามแผนพัฒนาประเทศในโครงการอีสเทิร์นซีบอร์ด ตั้งแต่ปี 2525 ที่กำหนดให้สร้างอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ควบคู่ไปกับโรงแยกก๊าซฯ เพื่อนำก๊าซธรรมชาติบางส่วนมาเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์สูงสุด และใช้เป็นแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ แทนที่จะเอาไปใช้เป็นเชื้อเพลิงแต่เพียงอย่างเดียว และจากการปรับโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ครั้งล่าสุด ผู้ใช้ก๊าซ LPG ทุกภาคส่วน รวมถึงกลุ่มปิโตรเคมีก็ใช้ต้นทุนราคาเดียวกัน ที่ปรับขึ้นลงตามราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกเช่นกัน
ในประเด็นการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 มีความจำเป็นเนื่องจากปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติของไทยที่พิสูจน์แล้ว (P1) เมื่อเทียบกับปริมาณใช้ในปัจจุบัน หากไม่มีการขุดเจาะเพิ่มจะมีใช้ได้อีกไม่เกิน 7 ปี อีกทั้ง ก๊าซธรรมชาติในประเทศมีราคาที่ถูกกว่าราคาก๊าซที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งการเปิดให้มีการสำรวจเพื่อหาแหล่งก๊าซใหม่ จะเป็นโอกาสให้ไทยสามารถเพิ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติได้เองในประเทศ แต่ยังมีความไม่แน่นอนว่าจะพบแหล่งก๊าซจริงหรือไม่
นอกจากนี้ การที่ ปตท. ได้ทำสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) จากประเทศกาต้าร์ ในรูปแบบสัญญาระยะยาว 20 ปี ปริมาณ 2 ล้านตัน/ปี ซึ่งคิดเป็นเพียง 6% ของความต้องการใช้ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับประเทศ รองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และเป็นแหล่งพลังงานสำรอง หากเกิดเหตุฉุกเฉินที่แหล่งผลิตก๊าซต้องหยุดซ่อมบำรุง หรือจัดส่งก๊าซได้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้
"การกำหนดนโยบายพลังงานของประเทศ รัฐบาล กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ร่วมกันพิจารณาบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐานสากล โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงานและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานของประเทศ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้ใช้พลังงานอย่างทั่วถึง เป็นธรรมและยั่งยืน"นายไพรินทร์ กล่าว
นายไพรินทร์ กล่าวอีกว่า การพัฒนาพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล และไบโอดีเซล จะช่วยให้ประเทศสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานมากขึ้น รวมทั้ง ยังช่วยสนับสนุนเกษตรกร ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่เพียงเท่านั้น การส่งเสริมการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนรูปแบบอื่นๆ ในประเทศ ยังจะช่วยลดความเสี่ยงในการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
อินโฟเควสท์