- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Sunday, 15 February 2015 17:35
- Hits: 2243
พพ.กระทรวงพลังงาน รณรงค์ความปลอดภัย สร้างความมั่นใจในการผลิตและใช้พลังงานทดแทนทั่วประเทศ
บ้านเมือง : พลังงาน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์ในโลกปัจจุบัน และมีแนวโน้มทวีความต้องการและความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสวนทางกับทรัพยากรด้านพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัดเช่นประเทศไทย ที่มีพลังงานค่อนข้างน้อย ไม่เพียงพอ ทำให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ รวมถึงหลายหน่วยงานได้ศึกษา ค้นคว้า แสวงหาพลังงานทดแทนอื่นๆ มาใช้ทดแทนพลังงานหลักที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน ตลอดจนส่งเสริมให้มีการผลิตและใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop) ก๊าซชีวมวล โดยเทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น (Biomass Gasification) และก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นต้น
ในการผลิตและใช้พลังงานทดแทนดังกล่าวที่ผ่านมา พบว่าผู้ผลิตและ ผู้ใช้ยังขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุดังที่นำเสนอผ่านสื่อมวลชนอยู่เป็นระยะๆ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน จึงได้จัดโครงการรณรงค์ความปลอดภัยจาก การผลิตและการใช้พลังงานทดแทนขึ้น โดยได้จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ด้านความปลอดภัยในการผลิตและใช้พลังงานทดแทนทั้ง 3 เทคโนโลยี รวมถึงคัดเลือกอาสาสมัครพลังงาน (อส.พน.) จำนวน 105 คน เข้าอบรมเพิ่มพูนความรู้ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2557 ที่ผ่านมา เพื่อทำหน้าที่เป็นวิทยากรตัวคูณ รณรงค์จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้การผลิตและใช้พลังงานทดแทนอย่างปลอดภัยในชุมชน ฟาร์ม และโรงงานต่างๆ จำนวน 300 แห่งทั่วประเทศ
ปัจจุบันวิทยากรตัวคูณ ได้เริ่มกระจายตัวออกปฏิบัติภารกิจในแต่ละภูมิภาคแล้ว โดยภาคเหนือเริ่มลงพื้นที่ในระดับชุมชนก่อน เช่นที่จังหวัดเชียงราย วิทยากรตัวคูณนำโดยนายสมศักดิ์ ดอนชัย นายบัญญัติ จอมใจ และนายภูวนัย ไชยชมภู จัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย เมื่อวันที่ 20 ม.ค.58 และที่จังหวัดอุตรดิตถ์ ว่าที่ ร.ต.สุรวุฒิ เพ็งป่าแต้ว จัดกิจกรรมให้ความรู้ที่ชุมชนบ้านห้วยบง ต.ป่าเช่า อ.เมือง จ.อุตรดิตถ์ วันที่ 24 ม.ค.58 ซึ่งเป็นชุมชนต้นแบบ
การทำก๊าซชีวภาพจากครัวเรือนระดับจังหวัด เป็นต้น โดยผู้เข้าร่วมอบรมส่วนใหญ่มีทั้งผู้ที่สนใจและคนในชุมชนที่มีการผลิตและใช้พลังงานทดแทนทั้ง 3 เทคโนโลยี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดขอนแก่น วิทยากรตัวคูณ จำนวน 7 คน ได้แก่ นายสุภีร์ ดาหาร นายไพรลี เบ้าวัน นายบุญจันทร์ ซาซุม นายสมควร ซาซุม นายสมชัย วรวัตร นายสุพิศาล แสนเหลา และ น.ส.ทรรศนีย์ เนื่องคันธีร์ เริ่มลงพื้นที่ในระดับฟาร์ม โดยจัดกิจกรรมให้ความรู้ ณ โคราช ไบโอฟาร์ม ต.หัวทะเล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ วันที่ 26 ม.ค.58 ซึ่งที่ฟาร์มแห่งนี้มีการติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โดยนำก๊าซที่ได้ไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนใช้ในฟาร์ม ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า
ต่อมาในภาคกลาง ที่จังหวัดสระบุรี วิทยากรตัวคูณ นายเสทื้อน คงเยือกเย็น นายสวาท ทองดีมีศรี นางสินีนาฏ พัจนสุนทร และ
นางปาณิสรา ชาญชัยศรี ได้ลงพื้นที่จัดกิจกรรมให้ความรู้ในโรงงานที่มี การติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ วันที่ 23-24 ม.ค.58 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ บริษัท ไทยไบโอแก๊ส เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ต.สองคอน อ.แก่งคอย จ.สระบุรี บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ต.ตาลเดี่ยว อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และบริษัท เบทาโกรไฮบริดอินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด 2 สาขา คือที่ ต.มะนาวหวาน อ.พัฒนานิคม และ ต.ศิลาทิพย์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ผู้เข้าอบรมมีทั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) และพนักงานที่เกี่ยวข้อง กับระบบผลิตและการใช้ก๊าซชีวภาพรวมกว่า 100 คน
และที่ภาคใต้ วิทยากรตัวคูณ 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นายธีรวุฒิ สิทธิสุราษฎร์ นายปิยบุตร หลิวปลอด นายสุธี ภักดีไทย นายศุภชัย เอี่ยมจันทร์ และจังหวัดชุมพร ประกอบด้วย นายชำนิ พ่วงแม่กลอง นายสุชาติ ทองศรี และนายฉลองชาติ ยังปักษี ได้ร่วมทีมกันจัดกิจกรรมให้ความรู้ ณ บริษัทซีเฟรชอินดัสตรี ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ชุมพร เมื่อวันที่ 3 ก.พ.58 ที่ผ่านมา โดยบริษัทแห่งนี้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ประโยชน์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงาน และสร้างรายได้เพิ่มจากการขายไฟฟ้าคืนให้กับการไฟฟ้าด้วย
สำหรับ กิจกรรมในช่วงการอบรมแต่ละแห่งจะทำรูปแบบเดียวกันคือ วิทยากรตัวคูณจะบรรยายให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากการผลิตและใช้พลังงานทดแทนกับผู้เข้าอบรม โดยใช้คู่มือและสารคดีแอนิเมชั่นที่โครงการจัดทำขึ้นเป็นสื่อประกอบการเผยแพร่ มีการแนะนำและสาธิตการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล กรณีที่ต้องปฏิบัติงานในพื้นที่ที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงมีการซักถาม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ต่างๆ ร่วมกัน
สิ่งสำคัญนอกจากการมุ่งใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าแล้ว ที่ไม่ควรมองข้ามและต้องใส่ใจคือเรื่องความปลอดภัย การจัดกิจกรรมให้ความรู้ของโครงการ ในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ผลิตและผู้ใช้ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนเกิดความตระหนักและช่วยกันตรวจสอบ ดูแล และบำรุงรักษาระบบอย่างสม่ำเสมอ
นี่เป็นเพียงแค่กิจกรรมบางส่วนเท่านั้น ซึ่งวิทยากรตัวคูณของโครงการทั้ง 105 คน จะยังคงเดินหน้ารณรงค์เผยแพร่ความรู้ต่อไปเรื่อยๆ ทั้งในชุมชน ฟาร์ม และโรงงานต่างๆ อีกกว่า 300 แห่งทั่วประเทศ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง และสร้างความมั่นใจให้ประชาชนหันมาผลิตและใช้พลังงานทดแทนเพิ่มมากขึ้น ก็จะช่วยสร้างความมั่นคงให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืนในอนาคต
"Energy Safety ใช้พลังงานอย่างปลอดภัย มั่นใจกันทุกคน"
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : ศูนย์บริการวิชาการด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
โทรศั๋ท์ 02-223-0021-9 กด 3 เว็บไซต์ www.dede.go.th
กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ณ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยโป่ง จ.เชียงราย
การสาธิตการใช้อุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคล
ผู้เข้าอบรมศึกษาข้อมูลในคู่มือ ประกอบการบรรยาย
ผู้เข้าอบรมรับชมสารคดีแอนิเมชั่นความปลอดภัย จากการผลิตและการใช้พลังงานทดแทน
วิทยากรตัวคูณบรรยายให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยจากการผลิตและใช้พลังงานทดแทน
กิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ณ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) จ.สระบุรี