WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.พลังงาน เตรียมลงนามซื้อขายโซลาร์ฟาร์ม 25 โครงการ 138.35 MW ภายในเดือนก.พ.นี้

      นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นแสดงความจำนงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่ได้อนุมัติรับซื้อจำนวน 175 โครงการ

      โดยความคืบหน้าของสถานภาพโครงการโซลาร์ฟาร์มนี้ กระทรวงพลังงานพบว่าได้มี 25 โครงการ จำนวน 138.35 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ติดปัญหาใดๆ และขณะนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)อยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเตรียมส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) รับทราบต่อไป คาดว่าจะทำสัญญาได้ภายในเดือนก.พ.นี้

      สำหรับ โครงการฯที่ยังติดปัญหาพื้นที่โครงการฯ กระทรวงพลังงาน พบว่า ได้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะปัญหา ได้แก่ กลุ่มที่ติดปัญหาผังเมืองแต่ไม่ติดปัญหาสายส่ง 57 โครงการ แต่เบื้องต้นพบว่ามีโครงการรวม 27 โครงการ จำนวนรวม 204.50 เมกะวัตต์ ที่แสดงเอกสารว่าไม่ติดปัญหาผังเมืองและยืนยันว่าที่ตั้งเดิมสามารถดำเนินการได้ และเตรียมเสนอเพื่อขออนุมัติการรับซื้อขายไฟฟ้าต่อไป และมี 8 โครงการที่ขอย้ายที่ตั้งใหม่มาแล้ว ขณะที่ 22 โครงการยังไม่มีความเคลื่อนไหว

      กลุ่มที่ติดปัญหาสายส่งไฟฟ้า 82 โครงการ โดยมีผู้ประกอบการยื่นความจำนงที่จะขอย้ายที่ตั้งโครงการใหม่แล้ว 43 แห่ง พบว่าปัจจุบัน 7 โครงการ จำนวนรวม 56 เมกะวัตต์ ได้ข้อสรุปการย้ายที่ตั้งใหม่แล้ว ส่วนอีก 36 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบระบบการรองรับสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และมี 39 โครงการยังไม่มีความเคลื่อนไหว

      กลุ่มที่ติดปัญหาการรองรับสายส่งไฟฟ้าและปัญหาพื้นที่ติดตั้งโครงการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 14 โครงการ พบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นเสนอย้ายที่ตั้งใหม่ 6 โครงการ อยู่ระหว่างการส่งให้กฟผ. ตรวจสอบระบบสายส่ง และมี 8 โครงการที่ไม่มีความเคลื่อนไหว

       อย่างไรก็ตามโครงการโซล่าร์ฟาร์มนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน จะเป็นหน่วยงานหลักที่ยังจะช่วยอำนวยความสะดวกและให้บริการในแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยให้กลุ่มผู้ประกอบการโซล่าร์ฟาร์มที่ประสานงานมายังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯได้จนถึงวันที่  31 มี.ค.58

       นอกจากนี้ ทางสกพ. ได้ออกระเบียบรับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟ) สำหรับบ้านอยู่อาศัยเพื่อรับซื้อไฟฟ้าให้ครบ 100 เมกะวัตต์เรียบร้อยแล้ว โดย สกพ. พร้อมการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 การ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และกฟภ. ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าในส่วนนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 ก.พ.เป็นต้นไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พลังงาน เตรียมลงนามซื้อขายโซลาร์ฟาร์ม 25 โครงการ 138.35 MW ในก.พ.นี้

    กระทรวงพลังงาน เผยโครงการโซลาร์ฟาร์ม จำนวน 25 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวม 138.35 เมกะวัตต์ เตรียมลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับภาครัฐภายในเดือนก.พ.นี้ ขณะที่เร่งเคลียร์ปัญหาให้กับโซลาร์ฟาร์มกลุ่มอื่นๆที่ยังไม่ได้ลงนามซื้อขายไฟฟ้า โดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอกชนเร่งประสานมายังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้

    นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงพลังงานได้เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการที่ยังไม่ได้ยื่นแสดงความจำนงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนพื้นดิน (โซลาร์ฟาร์ม) ซึ่งถือเป็นกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการตอบรับซื้อไฟฟ้าตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) ที่ได้อนุมัติรับซื้อจำนวน 175 โครงการ

    โดยความคืบหน้าของสถานภาพโครงการโซลาร์ฟาร์มนี้ กระทรวงพลังงานพบว่าได้มี 25 โครงการ จำนวน 138.35 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ติดปัญหาใดๆ และขณะนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.)อยู่ระหว่างทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และเตรียมส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(สกพ.) รับทราบต่อไป คาดว่าจะทำสัญญาได้ภายในเดือนก.พ.นี้

    สำหรับ ในส่วนของโครงการฯที่ยังติดปัญหาพื้นที่โครงการฯ  กระทรวงพลังงาน พบว่าได้แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะปัญหา ได้แก่ กลุ่มที่ติดปัญหาผังเมืองแต่ไม่ติดปัญหาสายส่ง 57 โครงการ  แต่เบื้องต้นพบว่ามีโครงการรวม 27 โครงการ จำนวนรวม204.50 เมกะวัตต์ ที่แสดงเอกสารว่าไม่ติดปัญหาผังเมืองและยืนยันว่าที่ตั้งเดิมสามารถดำเนินการได้ และเตรียมเสนอเพื่อขออนุมัติการรับซื้อขายไฟฟ้าต่อไป และมี 8 โครงการที่ขอย้ายที่ตั้งใหม่มาแล้ว ขณะที่ 22 โครงการยังไม่มีความเคลื่อนไหว

    กลุ่มที่ติดปัญหาสายส่งไฟฟ้า 82 โครงการ โดยมีผู้ประกอบการยื่นความจำนงที่จะขอย้ายที่ตั้งโครงการใหม่แล้ว 43 แห่ง พบว่าปัจจุบัน 7 โครงการ จำนวนรวม 56 เมกะวัตต์ ได้ข้อสรุปการย้ายที่ตั้งใหม่แล้ว ส่วนอีก 36 โครงการอยู่ระหว่างการพิจารณาตรวจสอบระบบการรองรับสายส่งของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และมี 39 โครงการยังไม่มีความเคลื่อนไหว

    กลุ่มที่ติดปัญหาการรองรับสายส่งไฟฟ้าและปัญหาพื้นที่ติดตั้งโครงการ ซึ่งมีทั้งสิ้น 14 โครงการ พบว่าขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นเสนอย้ายที่ตั้งใหม่ 6 โครงการ อยู่ระหว่างการส่งให้กฟผ. ตรวจสอบระบบสายส่ง และมี 8 โครงการที่ไม่มีความเคลื่อนไหว

     อย่างไรก็ตาม โครงการโซล่าร์ฟาร์มนี้ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน  จะเป็นหน่วยงานหลักที่ยังจะช่วยอำนวยความสะดวกและให้บริการในแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดยให้กลุ่มผู้ประกอบการโซล่าร์ฟาร์มที่ประสานงานมายังกรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯได้จนถึงวันที่ 31 มี.ค.58

    นอกจากนี้ ทางสกพ. ได้ออกระเบียบรับซื้อไฟฟ้าสำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา(โซลาร์รูฟ) สำหรับบ้านอยู่อาศัยเพื่อรับซื้อไฟฟ้าให้ครบ 100 เมกะวัตต์เรียบร้อยแล้ว  โดย สกพ. พร้อมการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายทั้ง 2 การ ได้แก่ การไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) และกฟภ. ได้ออกประกาศรับซื้อไฟฟ้าในส่วนนี้ ตั้งแต่วันที่ 9 กุ.พ.เป็นต้นไป

    นายทวารัฐ กล่าวย้ำว่า การส่งเสริมพลังงานแสงอาทิตย์ของภาครัฐในปัจจุบัน ยังคงเป็นไปตามแผนแม่บทแห่งชาติในการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(AEDP) และตามมติของกพช. ซึ่งจะชี้ให้เห็นว่านโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์นั้น เป็นการรับซื้อตามแผนงาน ไม่ใช่การรับซื้ออย่างไม่จำกัด โดยปัจจุบันมีเพียงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโซลาร์ฟาร์มที่ค้างท่อ และโซลาร์รูฟสำหรับบ้านอยู่อาศัย

   ขณะที่ในอนาคตอันใกล้จะมีโครงการโซลาร์ตามหน่วยงานราชการและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นไปตามแผน AEDP และมติของกพช.

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!