- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 03 February 2015 22:58
- Hits: 1992
กกพ.สั่งหั่น'เอฟที'พ.ค.-ส.ค. จ่อเบรกสร้างโรงไฟฟ้าหลังพบสำรองทะลุ 40%
ไทยโพสต์ : จามจุรีสแควร์ * เรกูเลเตอร์คาดค่าเอฟทีงวดใหม่ พ.ค-ส.ค.จ่อปรับลดลงได้ หากราคาน้ำมันทรงตัว เตรียมเจรจาเลื่อนการผลิตไฟฟ้าปี 2566-2568 ออกไปหลังพบสำรองพุ่งทะลุ 40% หวั่นถ้าปล่อยไว้ค่าไฟอาจพุ่งถึง 5.66 บาทต่อหน่วย
นายวีระพล จิรประดิษฐ กุล กรรมการกำกับกิจการพลัง งาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ เปิดเผยว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) งวดใหม่เดือน พ.ค.-ส.ค.58 มีโอกาสที่จะปรับลดลงจากระดับ 58.96 สตางค์ต่อหน่วย หากราคาน้ำมันดิบทรงตัวอยู่ในระดับ 50 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ กกพ.อยู่ระหว่างการจัดทำโครง สร้างค่าไฟฟ้าฐานใหม่ในปี 2558-60 ซึ่งพยายามจะทำให้แล้วเสร็จในงวดเดียวกัน หลังจากที่เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2557
"ในเบื้องต้นคาดว่าค่าไฟ ฟ้าฐานที่จะปรับใหม่นั้น จะไม่สูงขึ้นจากเดิม เพราะมีการดูแลต้นทุนที่ดีขึ้น และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะแนวโน้มของการลงทุนของการไฟฟ้า ที่อาจจะเลื่อนออกไปหลังความต้องการใช้ ไฟฟ้าเติบโตไม่มากนัก โดยเติบ โตปีละ 1-2% จากเดิมที่เติบโตปีละ 4-5% แต่ทั้งนี้ ค่าไฟฟ้าฐานจะปรับลดลงเท่าใดนั้น ต้องใช้เวลาศึกษาระยะหนึ่ง"นายวีระพลกล่าว
นายไกรสีห์ กรรณสูต คณะกรรมการ กกพ. กล่าวว่า ปัจจุบันปริมาณสำรองไฟฟ้าของไทยอยู่ในระดับ 25% และคาดว่าจะขึ้นระดับสูงสุดมาอยู่ระดับ 41-42% ในช่วงปี 67 หลังจากนั้นคาดว่าปริมาณสำรองไฟฟ้าจะลดลงเหลือกว่า 20% ดังนั้น ปริมาณสำรองไฟฟ้าที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับสูงช่วง 10 ปีนี้ ทำให้รัฐต้องเจรจาเพื่อขอเลื่อนการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ทั้งในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และเอกชนบางโครงการออกไปด้วย
"กกพ.ได้เจรจากับ กฟผ.เพื่อขอเลื่อนโรงไฟฟ้ายูนิตใหม่ที่เตรียมจะเข้าระบบ ได้แก่ โรงไฟฟ้าพระนครใต้, โรงไฟฟ้าบาง ปะกง, โรงไฟฟ้าวังน้อย, โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา เป็นต้น ส่วนโรงไฟฟ้าเอกชนที่จะเจรจาเลื่อนจ่ายไฟฟ้านั้น จะเป็นโรงไฟฟ้าเอกชนขนาดใหญ่ (IPP) ขนาด 540 เมกะวัตต์ เป็นต้น" นายไกรสีห์กล่าว
นายไกรสีห์กล่าวว่า สำ หรับการพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือพีดีพี 2015 ที่จะใช้ตั้งแต่ปี 2558-2579 ได้จัดทำเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น พบว่าความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มปรับลดลงจากแผนพีดีพีฉบับเดิมอย่างมาก โดยปัจจัยสำคัญมาจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ ที่ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์เอาไว้ และการนำแผนอนุรักษ์และประหยัดพลังงานมาคิดรวมอยู่ในแผนพีดีพี ทำให้ปริมาณสำรองไฟฟ้าปรับสูงขึ้นเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ประมาณ 15%
ทั้งนี้ ในปี 2558 คาดว่าปริมาณสำรองไฟฟ้าจะอยู่ที่ระดับ 25% ของปริมาณการผลิตติดตั้งทั้งระบบ และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี จนมาขึ้นสูงสุดในระดับ 40-42% ในช่วงปี 2566-2568 หลังจากนั้นจึงจะปรับตัวลดลง มาอยู่ที่ระดับ 20% ในปี 2569 ทำให้ต้องมีการเจรจากับผู้ผลิตไฟฟ้ากับทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าไอพีพี และเอสพีพีโคเจน เพื่อขอให้เลื่อนระยะที่จะต้องจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ออกไปตามความสมัครใจ โดยไม่ต้องมีการเสียค่าปรับ ซึ่งจะช่วยลดปริมาณสำรองไฟฟ้าลง และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าไฟฟ้ามากจนเกินไป
"หากภาครัฐไม่ดำเนินการ ใดๆ เพื่อปรับลดปริมาณสำรองไฟฟ้าลง จะส่งผลให้อัตราค่าไฟ ฟ้าปรับขึ้นจากปัจจุบัน 3.86 บาท ต่อหน่วย เป็น 5.66 บาทต่อหน่วย เมื่อสิ้นแผนพีดีพี 2015 ในปี 2579 ดังนั้นจึงยังไม่มีความจำ เป็นต้องเปิดประมูลไอพีพีรอบใหม่ไปจนถึงปี 2568"นายไกรสีห์กล่าว.