WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รมว.พลังงาน ยันเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ชี้ หากเลิกหวั่นกระทบความเชื่อมั่น นลท.

   นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน กล่าวยืนยันว่า จะเดินหน้าเปิด สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ตามแผนที่ได้ประกาศไว้ ซึ่งจะครบกำหนดให้  เอกชนยื่นขอสัมปทานภายใน 18 ก.พ.นี้ แม้สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ไม่เห็นด้วย  ทั้งนี้ ในแง่การบริหารงาน เมื่อประกาศไปแล้วต้องดำเนินการต่อ ไม่เช่นนั้นนานาชาติจะหมดความเชื่อถือ แต่ก็พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะของ สปช.

   "ยืนยันว่า การใช้ระบบสัมปทานครั้งนี้ เป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับ ประเทศไทย ที่มีแหล่งทรัพยากรน้อย เมื่อมีน้อย ก็นับว่าเป็นความเสี่ยง โดย ในระบบนี้หากลงทุนแล้วพบปิโตรเลียมน้อยก็คุ้ม สำหรับการลงทุนแต่หากเจอมาก ก็เป็นเรื่องที่ดี" รมว.พลังงาน กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

พลังงานรุกสัมปทานปิโตรรอบ 21

     บ้านเมือง : นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และสมาชิกสภาปฏิรูปด้านพลังงาน หรือ สปช. เปิดเผยว่า ได้หารือและรายงานถึงกรณีมติ สปช. 130 ต่อ 79 คะแนนที่ ไม่เห็นด้วยข้อเสนอคณะกรรมาธิการปฏิรูปพลังงาน สปช. เสียงข้างมาก ให้เดินหน้าสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ต่อนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน ในช่วงเช้าวันนี้ (14 ม.ค.) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการยังไม่มีนโยบายเปลี่ยนแปลงใด กระทรวงพลังงาน จึงพร้อมที่จะเดินหน้าตามกรอบเดิม

   "คงต้องรอให้ สปช.ส่งรายงานผลสรุปอย่างเป็นทางการมาก่อน หลังจากนั้นจะดูข้อเสนอต่างๆ แต่หลักการปัจจุบันยังไม่เปลี่ยน แปลงใดๆ เพราะกระทรวงพลังงานมีหน้าที่บริหารและมีหน้าที่รับฟังจาก สปช. ทางกระทรวงพลังงานพร้อมเดินหน้าตามรัฐบาล โดยการศึกษาเรื่องนี้เป็นไปตามที่รัฐบาลส่งมาให้ สปช.ศึกษาหลังประกาศปิดสัมปทานรอบ 21 ไปเมื่อวันที่ 21 ต.ค.57 และเห็นว่า สัมปทานรอบ 21 ควรเปิดตามที่ประกาศไปแล้วเพราะเป็นเรื่องจำเป็น" นายคุรุจิต กล่าว

   นายคุรุจิต กล่าวว่า ทาง สปช.พลังงาน ศึกษา 3 ประเด็น คือ 1.ให้เปิดสัมปทานรอบ 21 ใช้ระบบสัมปทานประเทศระบบที่ 3 หรือไทยแลนด์ทรี 2.ยกเลิกสัมปทาน 21 แล้วให้ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต หรือพีเอสซี และ 3.เปิดสัมปทานรอบ 21 ใช้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส หรือระบบที่ 3 พิเศษ และให้ศึกษาระบบพีเอสซีว่าสมควรจะใช้ในการประกาศเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบต่อไปหรือไม่ ซึ่ง สปช.พลังงานได้เลือกข้อสรุปที่ 3 ส่งต่อให้รัฐบาล

    นางพวงทิพย์ ศิลปศาสตร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า ขณะนี้การเปิดสัมปทานรอบ 21 ยังเป็นไปตามมติ ครม. โดยจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 ก.พ.58 เช่นเดิม โดยมีผู้สนใจมาขอดูข้อมูลทั้งรายเก่าและรายใหม่นับสิบราย ซึ่งจะมีการยื่นขอมากน้อยแค่ไหนคงจะต้องรอดูช่วงสัปดาห์สุดท้ายก่อนปิดรับข้อเสนอ

    ทั้งนี้ ยืนยันว่าการดำเนินการทั้งหมดไม่ได้เป็นการเร่งรีบเพราะได้เตรียมการเปิดมาตั้งแต่ปี 2553 ด้วยเหตุที่ไทยต้องการก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นแต่การจัดหาในประเทศเริ่มน้อยลง ดังนั้นการเปิดสัมปทานฯ ครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซฯ ภายในประเทศเพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ที่ปัจจุบันไทยก็ต้องพึ่งพิงการนำเข้าพลังงานกว่า 50% ของความต้องการใช้ภาพรวมหรือคิดเป็นมูลค่าปีละกว่า 1.44 ล้านล้านบาท

    โดยระบบสัมปทานรอบ 21 ผลประโยชน์ของรัฐไม่น้อยกว่า พีเอสซี โดยแบ่งปันผลประโยชน์ของรัฐและเอกชนในสัดส่วน 72% ต่อ 28% หลังหักจากค่าใช้จ่ายไปแล้ว และการดำเนินการไม่ซ้ำซ้อน โปร่งใสกว่าเพราะทุกอย่างเป็นไปตามที่รัฐประกาศ

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!