WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รัฐบาล เดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียม 21 ‘วิษณุ’ เผยรัฐทำได้ แม้มติ สปช.ค้าน ด้าน ก.พลังงาน เปิดให้เอกชนยื่นคำขอสิทธิภายในวันที่ 18 ก.พ.นี้

     รัฐบาล เดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียม 21 ‘วิษณุ’เผยรัฐทำได้ แม้มติ สปช.ค้าน ด้าน ก.พลังงาน เปิดให้เอกชนยื่นคำขอสิทธิภายในวันที่ 18 ก.พ.นี้ ชี้ จำเป็นเหตุแหล่งก๊าซในไทย จะหมดลงในอีกไม่ถึง 7 ปีข้างหน้า     

     นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลยังมีอำนาจเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ได้ต่อไป แม้ว่าเมื่อวานนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จะลงมติด้วยเสียงข้างมากคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)ปฏิรูปพลังงาน

   "เป็นอำนาจรัฐบาลสามารถพิจารณาเดินหน้าต่อได้ แต่เรื่องนี้จะขอทบทวนและขอดูรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรจาก สปช.ก่อน ไม่ถึงกับตีตก แต่เป็นการท้วงติงด้านวิธีการ"นายวิษณุ กล่าว

   ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรก็จะมีการชี้แจงกลับไปยัง สปช.เพื่อให้นำไปทบทวนตามกฎหมายที่ระบุไว้ว่าเป็นอำนาจที่รัฐบาลดำเนินการได้เอง เพียงแต่ตามมารยาทก็ควรส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาก่อน ส่วนจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรขึ้นอยู่กับรัฐบาลตัดสินใจว่าจะดำเนินการรือไม่

    ด้านนายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน และสมาชิกสภาปฏิรูป แห่งชาติ(สปช.) กล่าวว่า แม้วานนี้สมาชิก สปช.ลงมติไม่เห็นชอบกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ปฏิรูปพลังงาน ที่เสนอเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยระบบ สัมปทาน ภายใต้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส(Thailand III Plus) แต่กระทรวงพลังงานจะเดินหน้าเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ตามแผนที่ได้ประกาศไว้ โดยได้เปิดให้นักลงทุนที่สนใจยื่นขอสัมปทาน ตั้งแต่วันที่ 21 ต.ค.57 และจะปิดรับข้อเสนอในวันที่ 18 ก.พ.58 

    นายคุรุจิต ยืนยันว่า มีความจำเป็นต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียม เนื่องจาก แหล่งก๊าซที่พิสูจน์แล้วในไทย จะหมดลงในอีกไม่ถึง 7 ปีข้างหน้า 

    "ศักยภาพแหล่งปิโตรเลียมของไทย ไม่สมบูรณ์มากนัก หากเสนอผล ประโยชน์รัฐสูงเกินไป ก็จะไม่จูงใจการลงทุน สุดท้ายจะกระทบต่อประชาชน หาก ไม่มีการลงทุน ก็ต้องนำก๊าซเข้ามาทั้งหมด กระทบค่าไฟฟ้า" นายคุรุจิต กล่าว

   ขณะที่นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงพลังงาน ระบุว่ารัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจกรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยมองในทิศทางเดียวกันว่าสปช.ไม่ได้คัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม เพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของกมธ.ตามข้อเสนอ แต่อาจจะเห็นด้วยกับแนวทางเลือกอื่นๆที่มีผู้เสนอเข้ามาด้วยเช่นกัน

   "เรื่องที่ สปช.ให้ความเห็นจากการประชุมเมื่อวานนี้ แล้วจะนำเสนอรัฐบาล ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร ยังไม่ทราบ...79 เสียงเห็นด้วย อีก 130 เสียงบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ก็ไปเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆซึ่งมี 3-4 ทางเลือก"นายพรายพล กล่าว

   นายพรายพล กล่าวอีกว่า กมธ.ปฎิรูปพลังงาน ที่เสนอให้สภาฯพิจารณาเปิดสัมปทานรอบ 21 ต่อไปได้ แต่ขณะเดียวกันก็ให้ศึกษาการจัดเตรียมระบบการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อพร้อมที่จะใช้ในอนาคต ซึ่งมีเสียงเห็นด้วย 79 เสียง ส่วนอีก 130 เสียงบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ไปเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆ ซึ่งมี 3-4 ทางเช่นกัน

    เช่นแนวทางเลือกของนางสาวรสนา โตสิตระกูล ที่ให้หยุดการเปิดสัมปทานดังกล่าว และหันมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต รวมถึงให้ภาครัฐเข้าไปสำรวจก่อน ขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งของนายอลงกรณ์ พลบุตร เห็นว่าการเปิดสัมปทานควรแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นการให้สัมปทานการสำรวจ และหากพบปิโตรเลียมก็จะมาตกลงการให้สัมปทานการผลิตว่าจะเป็นรูปแบบใดระหว่างการให้สัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต หรือบางรายเสนอให้มีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม แต่มีข้อจำกัดของแปลง

  "ก็มีทางเลือก 3-4 แนวทางเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่ง 130 เสียงที่โหวตให้ทางเลือกเหล่านี้ เลยไม่รู้ว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทางเลือกของใคร...มติบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอของ กมธ. ซึ่ง กมธ.บอกว่าให้เปิด แต่เสียงที่ไม่เห็นด้วย คือเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆ ไม่ใช่มติที่ไม่ให้เปิด"นายพรายพล กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

วิษณุระบุรัฐเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียม 21 ต่อได้ แม้มติ สปช.ค้าน

    นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่ารัฐบาลยังมีอำนาจเดินหน้าเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ได้ต่อไป แม้ว่าเมื่อวานนี้สภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) จะลงมติด้วยเสียงข้างมากคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะกรรมาธิการ (กมธ.)ปฏิรูปพลังงาน

    "เป็นอำนาจรัฐบาลสามารถพิจารณาเดินหน้าต่อได้ แต่เรื่องนี้จะขอทบทวนและขอดูรายงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรจาก สปช.ก่อน ไม่ถึงกับตีตก แต่เป็นการท้วงติงด้านวิธีการ"นายวิษณุ กล่าว

    ทั้งนี้ หากรัฐบาลจะดำเนินการอย่างไรก็จะมีการชี้แจงกลับไปยัง สปช.เพื่อให้นำไปทบทวนตามกฎหมายที่ระบุไว้ว่าเป็นอำนาจที่รัฐบาลดำเนินการได้เอง เพียงแต่ตามมารยาทก็ควรส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาก่อน ส่วนจะมีข้อเสนอแนะอย่างไรขึ้นอยู่กับรัฐบาลตัดสินใจว่าจะดำเนินการรือไม่

    อนึ่ง กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ที่สนใจยื่นคำขอสิทธิสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแปลงสำรวจต่างๆ เขตพื้นที่บนบกและในทะเลอ่าวไทย รวม 29 แปลง  ประกอบด้วย แปลงบนบก 23 แปลง  และแปลงในทะเลอ่าวไทย 6 แปลง โดยให้ยื่นคำขอดังกล่าวภายในวันที่ 18 ก.พ.นี้

    ขณะที่นายพรายพล คุ้มทรัพย์ ผู้ช่วยรมต.ประจำกระทรวงพลังงาน ระบุว่ารัฐบาลโดยนายกรัฐมนตรีจะต้องตัดสินใจกรณีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยมองในทิศทางเดียวกันว่าสปช.ไม่ได้คัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม เพียงแต่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางของกมธ.ตามข้อเสนอ แต่อาจจะเห็นด้วยกับแนวทางเลือกอื่นๆที่มีผู้เสนอเข้ามาด้วยเช่นกัน

  "เรื่องที่ สปช.ให้ความเห็นจากการประชุมเมื่อวานนี้ แล้วจะนำเสนอรัฐบาล ส่วนรัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร ยังไม่ทราบ...79 เสียงเห็นด้วย อีก 130 เสียงบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ก็ไปเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆซึ่งมี 3-4 ทางเลือก"นายพรายพล กล่าวผ่านรายการโทรทัศน์

   เมื่อวานนี้ สปช.มีการประชุมเพื่อพิจารณารายงานศึกษาเรื่องการเปิดให้สัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ที่กมธ.ปฏิรูปพลังงาน เสนอสมาชิก โดยได้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง ก่อนจะลงมติไม่เห็นด้วยกับรายงานของกรรมาธิการปฏิรูปพลังงานเสียงข้างมากที่มีข้อสรุปให้เปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ด้วยคะแนนเสียง 130 ต่อ  79 เสียง และงดออกเสียง 21 เสียง

    เนื่องจากมองว่ารายงานฉบับนี้ไม่น่าเชื่อถือ เพราะมีแต่บุคคลากรที่ทำงานด้านพลังงานทั้งนั้น และการพิจารณาในเรื่องนี้ส่วนใหญ่ไม่ได้ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม จึงควรชะลอการเปิดสัมปทานออกไปก่อน จนกว่าจะมีคำตอบถึงผลดีผลเสีย และผลกระทบที่ชัดเจน ทั้งนี้ ที่ประชุมยังเสนอให้ส่งข้อเสนอและข้อสังเกตของสมาชิกไปให้รัฐบาลเพื่อพิจารณาด้วย

    นายพรายพล กล่าวอีกว่า กมธ.ปฎิรูปพลังงาน ที่เสนอให้สภาฯพิจารณาเปิดสัมปทานรอบ 21 ต่อไปได้ แต่ขณะเดียวกันก็ให้ศึกษาการจัดเตรียมระบบการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อพร้อมที่จะใช้ในอนาคต ซึ่งมีเสียงเห็นด้วย 79 เสียง ส่วนอีก 130 เสียงบอกว่าไม่เห็นด้วย แต่ไปเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆ ซึ่งมี 3-4 ทางเช่นกัน

   เช่นแนวทางเลือกของนางสาวรสนา โตสิตระกูล ที่ให้หยุดการเปิดสัมปทานดังกล่าว และหันมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต รวมถึงให้ภาครัฐเข้าไปสำรวจก่อน ขณะที่อีกทางเลือกหนึ่งของนายอลงกรณ์ พลบุตร เห็นว่าการเปิดสัมปทานควรแบ่งเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกเป็นการให้สัมปทานการสำรวจ และหากพบปิโตรเลียมก็จะมาตกลงการให้สัมปทานการผลิตว่าจะเป็นรูปแบบใดระหว่างการให้สัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต หรือบางรายเสนอให้มีการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม แต่มีข้อจำกัดของแปลง

  "ก็มีทางเลือก 3-4 แนวทางเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่ง 130 เสียงที่โหวตให้ทางเลือกเหล่านี้ เลยไม่รู้ว่าเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับทางเลือกของใคร...มติบอกว่าเห็นด้วยหรือไม่กับข้อเสนอของ กมธ. ซึ่ง กมธ.บอกว่าให้เปิด แต่เสียงที่ไม่เห็นด้วย คือเห็นด้วยกับทางเลือกอื่นๆ ไม่ใช่มติที่ไม่ให้เปิด"นายพรายพล กล่าว

                อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!