WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

จับตาปฏิรูปพลังงานต่อ 'ณรงค์ชัย' เดินหน้าปล่อยราคาเผาจริงรับปีมะแม

บ้านเมือง : สลักจิตร ผิวพรรณ์...รายงาน

     กระแสความเคลื่อนไหวเรื่องการปฏิรูประบบพลังงาน ถือเป็นประเด็นร้อนที่หลายฝ่ายจับตา โดยยกแรกของการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน ประเดิมปล่อยลอยตัวราคาก๊าซหุงต้ม (LPG) สะท้อนตลาดโลก การตัดสินใจเชิงรุกทันทีทั้งที่คาดการณ์กันว่า น่าจะปรับหลังจากปีใหม่ นโยบายจากนี้ไปของกระทรวงพลังงานจะเดินไปในทิศทางใด

    โดยทิศทางพลังงานในปี 2558 ประเด็นที่ต้องติดตามต่อเนื่องคือ การปฏิรูปโครงสร้างราคาพลังงาน ทั้งก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) กลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล เพราะถือว่าเป็นการปรับครั้งใหญ่ โดยอาศัยจังหวะของการเป็นรัฐบาลเฉพาะกิจในการบริหารจัดการ เนื่องจากการปรับโครงสร้างครั้งนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีทั้งผู้ที่ได้ประโยชน์และได้รับผลกระทบ เปิดปัญหาเชิงโครงสร้างพลังงาน

    นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึง "นโยบายและทิศทางพลังงานไทย" ว่า เรื่องพลังงานของไทยมีปัญหาในเชิงโครงสร้างมาก ถ้าไม่แก้ไขเชิงโครงสร้างในไม่ช้าพลังงานแทนที่จะช่วยเศรษฐกิจไทย จะเป็นตัวฉุดที่สำคัญยิ่ง แต่การกำหนดนโยบายพลังงานยากมาก มีประเด็น 4 กลุ่มใหญ่ต้องนำมาเป็นปัจจัยในการพิจารณา ได้แก่ 1.เรื่องความยั่งยืน 2.ความปลอดภัย ต้องมีพลังงานพอใช้ 3.เศรษฐกิจ เรื่องราคา ต้นทุนพลังงาน 4.ระบบนิเวศ การปล่อยคาร์บอนมีผลต่อโลกร้อน

    สำหรับ 3 แกนหลักที่ผมคิดในการกำหนดนโยบาย 1.การใช้พลังงาน ต้องการให้มีดีมานด์น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ มีดุลยภาพตามซัพพลาย ผลิตได้ในประเทศดี ใช้สอดคล้องกับที่มี ราคาต้องต่ำสุด คงที่ แต่ปัจจุบันการใช้ไม่มีดุลยภาพเพราะนโยบายรัฐบาลที่ผ่านมาทำให้ราคาบิดเบือน นโยบายตอนนี้ต้องทำการปรับโครงสร้างราคาทั้งหมด ให้ราคาเบนซินกับดีเซลมาอยู่ในระนาบเดียวกัน เสียภาษีแบบเดียวกัน ต้องส่งเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน ก๊าซต้องสะท้อนต้นทุน ต้องเสียภาษี และนำเงินเข้ากองทุนเหมือนกัน และเงินกองทุนใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคา ไม่ใช่มาอุดหนุนราคา

     2.นโยบายเรื่องการผลิต แบ่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีราคาภายใน การเปิดสัมปทานรอบใหม่รอบที่ 21 ใครสนใจยื่นขอสิทธิ์ในการสำรวจภายในวันที่ 18 ภุมภาพันธ์ 2558 ส่วนสัมปทานปิโตรเลียมในอ่าวไทยที่กำลังจะหมดอายุลงในปี 2565-2566 เมื่อหมดสัมปทานสมบัติตกเป็นของแผ่นดิน เราจะนำสมบัตินี้ไปดำเนินการตามนโยบายของเรา บางคนไปมโนว่าจะต่อสัมปทานให้กับคนเก่า เราไม่มโนด้วย จะมีการจ้างผลิตหรืออะไรต้องมาพิจารณากัน

    ทั้งนี้ ต้องมีการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาพลังงานทดแทนต่างๆ เรื่องเอทานอลจะทำอย่างไรให้นำมาใช้ มากขึ้น รวมถึงต้องเพิ่มการแข่งขัน เช่น ปตท.ต้องขายหุ้นบางจาก และสตาร์ ปิโตรเลียมฯ ออกไปจะทำให้เสร็จครึ่งแรกของปี 2558 ซึ่งจะมีการจัดระบบท่อน้ำมันและท่อก๊าซ ได้มีมติของ ปตท.แล้วจะแยกระบบท่อก๊าซออกจาก ปตท. ส่วนปัญหาเรื่องท่อในทะเลเป็นเรื่องกฎหมายตีความ แล้วแต่ศาล สั่งอะไรมาก็ทำตามนั้น ถึงแม้ทรัพย์สินไม่อยู่ แต่ทรัพยสิทธิ์ยังอยู่ต่อไป เพราะ ปตท.เป็นผู้ลงทุนเอง ใครที่ไปมโนว่าจะเกิดผลกระทบต่อมูลค่าทรัพย์สิน (Asset Value) ต่อหุ้นต่ออะไร ไม่จริง

เดินหน้าโรงไฟฟ้าถ่านหินเต็มสูบ

    นโยบายเรื่องไฟฟ้ามีปัญหามาก ต้องดำเนินการเรื่องระบบไฟฟ้าและการรับซื้อไฟ การขาย การอนุญาตไฟฟ้าให้ได้ หลักการสำคัญต้องมีปริมาณสำรองไฟฟ้าพร้อมจ่าย (Base Load) ใครจะมโน ไปว่า ต่อไปนี้มีลม มีแสงอาทิตย์ มันไม่คงที่ จะต้องมีการใช้ถ่านหินเพิ่มขึ้น ต้องให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.กระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์เกิดขึ้นให้ได้ภายในปีหน้า ไม่ว่าจะมีการประท้วงอะไรก็ตาม รวมทั้งการเปลี่ยนเครื่องที่แม่เมาะ เพราะการนำเข้าก๊าซธรรมชาติแพงกว่าถ่านหิน ส่วนจัดหาไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้าน ต้องมีการจำกัดปริมาณไม่เกินกี่เปอร์เซ็นต์ อย่างที่ทราบบ้านใครบ้านมัน

    สำหรับ การรับซื้อไฟฟ้าจากภาคเอกชน การทำ SPP กับ IPP ต้องให้สมเหตุสมผล โดยเฉพาะการพิจารณา SPP ที่ทำการผลิตไฟฟ้าในระบบพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Co-GENERATION) ไม่เข้าใจว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร เจตนาตอนนั้นคือ ใช้พลังงานมาผลิตไอน้ำ แล้วผลิตไฟฟ้าด้วย ได้เป็นบายโปรดักต์ แต่ทำไปทำมากลายเป็นผลิตไฟฟ้าขาย แล้วมีไอน้ำเป็นบายโปรดักต์ ไม่รู้ทำได้ยังไง ไม่รู้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ตอนนั้นอนุญาตได้อย่างไร ค่อนข้างสับสนเล็กน้อย สิ่งที่เกิดขึ้นคือทำให้เราต้องซื้อไฟฟ้าจาก SPP ในต้นทุนที่สูงกว่า ในกรณีที่หากจะซื้อจาก IPP

    ต่อไปถ้าจะทำแผน PDP ใหม่ต้องนำเรื่องนี้มาพิจารณาด้วย ข้อมูลที่มี IPP ที่เสียบปลั๊กแล้วประมาณ 10,000 เมกะวัตต์ (MW) ส่วน SPP กำลังการผลิตประมาณ 4,000 MW อยู่ระหว่างกำหนดผลิตไฟเข้าระบบ (COD) อีก 4,000 MW และมีตัวที่มีปัญหาอีก 1,000 กว่า MW ที่ต้องพิจารณาเรื่องของอายุสัญญาที่จะหมดลง ซึ่งจะต้องจัดระเบียบใหม่

เร่งจัดระเบียบพลังงานหมุนเวียน

   นอกจากนี้ จะสนับสนุนเรื่องพลังงานทดแทนหมุนเวียน แต่ต้องจัดเรื่องโซลาร์ ให้เรียบร้อยก่อน อะไรที่ค้างอยู่ในท่อต้องล้างท่อให้หมด อะไรถ้าไม่เกิดภายในสิ้นปี 2558 ก็ไม่มีสิทธิ์เกิด ขอให้ไปเกิดภพอื่น อย่าเกิดภพนี้

    สำหรับ การส่งเสริมให้เกิดโซลาร์ขึ้นมา แต่ผมไม่เห็นด้วยกับความพยายามที่จะตั้งโซลาร์ฟาร์มกันทั่วประเทศ เพราะว่าจะทำให้พื้นที่สีเขียวของประเทศไทยกลายเป็นพื้นที่สีเทาไปหมดเลย มีบางคนพยายามจะนำพื้นที่ของหน่วยราชการไปทำโซลาร์ฟาร์ม 100 เมกะวัตต์ ใช้พื้นที่ประมาณ 2,000 ไร่ มันคงไม่ใช่

    สำหรับ พลังงานลมก็อนุมัติไปมาก แต่เกิดขึ้นนิดเดียว อนุมัติไป 1,800-1,900 MW แต่เกิดจริง 300 MW เรื่องนี้ต้องนำมาทบทวนกันใหม่หมด แต่การรับซื้อพลังงานทดแทน ทำแล้วต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และต้องไม่เกิดภาระกับผู้ซื้อไฟฟ้ามากเกินไป การรับซื้อพลังงานทดแทนทำแล้วต้องเกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย และต้องไม่เกิดภาระกับผู้ซื้อไฟฟ้ามากเกินไป

ปรับราคาให้สะท้อนต้นทุน

    ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างราคาพลังงาน มีเป้าหมายสำคัญเพื่อต้องการให้ราคาสะท้อนต้นทุนมากขึ้น รวมถึงทยอยลดการใช้นโยบายอุดหนุนราคาที่ทำให้เกิดภาระรายจ่ายกับภาครัฐ และเป็นการสร้างกลไกตลาดที่บิดเบือน การดำเนินการในด้านน้ำมัน จะเห็นได้ว่าความเคลื่อนไหวของราคาตลาดโลกตั้งแต่ช่วงกลางปี 2557 ที่ผ่านมา อยู่ในทิศทางขาลงต่อเนื่อง และเคยทำสถิติหลุดไปอยู่ที่ระดับ ต่ำกว่า 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับบรรดานักวิเคราะห์ที่คาดการณ์เมื่อช่วงต้นปี ที่มองว่าราคาเฉลี่ยน้ำมันดิบปีนี้จะอยู่ที่ 95-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

    ปัจจัยที่เป็นแรงกดดันให้ราคาน้ำมัน ตลาดโลกลดลง เนื่องจากกำลังการผลิตน้ำมันที่เกินความต้องการ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศตะวันออกกลางที่มีการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น ในขณะที่สหรัฐซึ่งเป็นผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ได้ทยอยลดการนำเข้าน้ำมัน เนื่องจากพบแหล่ง น้ำมันใหม่ๆ ในประเทศ สำหรับทิศทางราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกในปี 2558 คาดว่าจะยังคงผันผวนและจะทรงตัวอยู่ในระดับสูงกว่าปัจจุบัน แต่จะไม่ใช่ราคาที่หวือหวาจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มการขยายตัวดีขึ้น แต่เนื่องจากการเติบโตของอุปทานมากกว่าอุปสงค์ ส่งผลให้ราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 90-95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

    ปัจจัยสำคัญที่ต้องเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาที่จะมีผลต่อนโยบายด้านเปลี่ยนแปลงของราคาที่จะมีผลต่อนโยบายด้านพลังงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งแต่ละภาคส่วนต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งต้องมีบทบาทในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

    แนวโน้มราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ทำให้กระทรวงพลังงานตัดสินใจที่จะใช้โอกาสนี้ในการปรับโครงสร้างราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น เนื่องจากน้ำมันแต่ละลิตรถูกจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ยังมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะราคาน้ำมันดีเซลที่รัฐได้ใช้นโยบายการยกเว้นเก็บภาษี และกลไกของกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาระดับราคาขายปลีกไม่ให้เกินลิตรละ 30 บาท

ลอยตัวราคาน้ำมันตามตลาด

    นโยบายที่จะดำเนินการต่อไปคือารลอยตัวราคาดีเซลให้สะท้อนราคาตลาด ยกเลิกตรึงดีเซลลิตรละ 30 บาท โดยการปรับขึ้นภาษีน้ำมันในอัตราที่เท่ากับการลดการจัดเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ ซึ่งปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ จัดเก็บอยู่ในอัตรา 4.30 บาทต่อลิตร ในขณะที่ภาษีดีเซลเก็บอยู่ 75 สต.ต่อลิตร โดยมีเป้าหมายที่จะเก็บภาษีให้ได้ลิตรละ 4 บาท

   ส่วนการเปลี่ยนแปลงของราคากลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์นั้นจะปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันจากที่เก็บอยู่เฉลี่ย 4-5 บาทต่อลิตร ลงมาเพื่อกดราคาขายปลีกให้ลดต่ำลง ดังนั้นภาพของราคาขายปลีกน้ำมันในปี 2558 จะได้เห็นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซิน แก๊สโซฮอล์ และดีเซล มีระดับราคาที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น จากปัจจุบันที่ราคากลุ่มเบนซินจะแพงกว่าดีเซลราคากลุ่มเบนซินจะแพงกว่าดีเซล

ปล่อยผีราคาก๊าซจากนี้ไป

    ด้านราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงชนิดเดียวที่ถูกใช้นโยบายอุดหนุนราคามาหลายสิบปี ทั้งแอลพีจีภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง ความตั้งใจในการปรับโครงสร้างราคาก็คือทำให้ราคาขายปลีกเท่ากัน และทยอยปล่อยให้ราคาเริ่มสะท้อนตลาดโลก

   ปัจจุบันภาครัฐได้เริ่มนำร่องการปรับฐานราคาให้มาเท่ากันแล้วที่ระดับ 23.13 บาทต่อ กก. แต่ยังเหลือการอุดหนุนราคาแอลพีจีที่ยังมีอยู่ 1.30 บาทต่อ กก. ดังนั้นแผนในระยะต่อไปหากราคาน้ำมันตลาดโลกยังปรับลดลงต่อเนื่อง ก็มีโอกาสที่จะปรับราคาแอลพีจีเพื่อลดภาระการลดชดเชยราคาให้หมดลงไปได้

   ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาแอลพีจีถูกนำไปใช้ในภาคขนส่งกันอย่างมาก ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์แรกที่เข้าอุดหนุนราคาก็เพื่อช่วยผู้ใช้ในภาคครัวเรือนก็ตาม ขณะนี้มีรถยนต์ติดแอลพีจีอยู่ 1.4 ล้านคัน มียอดการใช้แอลพีจีเดือน ต.ค. อยู่วันละ 5.41 ล้าน กก. ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12.35% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตามเชื่อว่าแม้จะปรับขึ้นราคา แอลพีจีขนส่งให้สะท้อนตลาดโลก แต่ก็เชื่อว่าเมื่อเทียบกับราคาน้ำมันก็ยังมีราคาที่ถูกกว่า โดยราคาแอลพีจีที่หน้าปั๊มขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 11-12 บาทต่อลิตร หากประเมินราคาที่จะปรับขึ้นในอนาคตเฉลี่ยจะอยู่ที่ 14-15 บาทต่อลิตร แต่ถ้ามองในด้านของการใช้เงินกองทุน น้ำมันฯ เข้าไปอุดหนุนราคา ก็ถือว่าการปรับขึ้นราคาทุก กก. เป็นการบรรเทาภาระของกองทุนน้ำมันฯ ลงได้ เพราะขณะนี้ฐานะกองทุนน้ำมันฯ เริ่มกลับมาดีขึ้นเป็นบวก 4,000 กว่าล้านบาทแล้ว

   ด้านผู้ใช้แอลพีจีครัวเรือนจะได้รับผลกระทบคือบรรดาแม่บ้านที่ใช้แอลพีจีถังครัวเรือน (ขนาด 15 กก.) จะปรับราคาจากถังละ 347 บาท ไปสู่ราคาที่ยกเลิกการอุดหนุนราคาเฉลี่ย 367 บาทต่อถัง แต่นี่เป็นเพียงการเริ่มต้นของการปรับราคาให้สะท้อนตลาดโลก

ขยายปั๊มเอ็นจีวีให้เพียงพอ

   ในขณะที่เอ็นจีวีซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่รัฐเคย ส่งเสริมให้มีการใช้เพื่อทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลในภาคขนส่ง ล่าสุดได้รับการอนุมัติให้ปรับขึ้น 1 บาทต่อ กก. มาอยู่ที่ 11.50 บาท ต่อ กก. อนาคตบริษัท ปตท.ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายมีแผนที่จะปรับราคาให้สะท้อนต้นทุนเช่นกัน แต่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการเช่นกัน แต่จะต้องดำเนินการควบคู่ไปกับการขยายจำนวนปั๊มเอ็นจีวีให้เพียงพอ จากปัจจุบันที่มีอยู่ 469 แห่ง ใน 54 จังหวัด

   ทั้งนี้ หากมองภาพของราคาพลังงานในปี 2558 จะเห็นได้ว่าโครงสร้างราคาจะค่อยๆ เริ่มสะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น และเกิดความเป็นธรรมมากขึ้น แต่สิ่งสำคัญผู้ใช้พลังงานจะต้องคำนึงถึงการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ไม่ฟุ่มเฟือย รู้จักประหยัด เพื่อทำให้มีพลังงานใช้อย่างยั่งยืนต่อไป

เพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล

   นอกจากนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ด้วยการปรับอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลจาก 0.75 เพิ่มเป็น 3.25 บาทต่อลิตร ทำให้มีเงินภาษีนำส่งเข้าคลังประมาณ 6,000 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 72,000 ล้านบาทต่อปี โดยที่รัฐบาลลดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนน้ำมัน จึงทำให้ราคาน้ำมันดีเซลปรับลดราคาได้แม้จะขยับเพิ่มน้ำมันดีเซล

  รัฐบาลยังมีแนวทางจัดเก็บภาษีสรรพสามิตก๊าซเอ็นจีวีเหมือนกับน้ำมัน เพราะที่ผ่านมาได้ผ่อนปรนดูแลไปแล้ว จึงต้องทยอยปรับทั้งภาษี และราคาเอ็นจีวีให้สะท้อนราคาต้นทุน ซึ่งมีราคา 15-16 บาทต่อกิโลกรัม จากปัจจุบันเอ็นจีวีมีราคา 12.50 บาทต่อกิโลกรัม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!