WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ณรงค์ชัย สั่งทบทวนโครงการ SPP เล็งตัดทิ้ง 1,000 MW ลุยสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

      นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน ต้องการให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)หรือ Regulator ทบทวนเงื่อนไขหลักเกณฑ์การเข้ารับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก(SPP)เนื่องจากเห็นว่ามีจำนวนมากเกินไป อาจดึงให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าสูงขึ้น โดยปัจจุบันมีมีโรงไฟฟ้า SPP ที่ได้จ่ายไฟแล้ว(COD) ประมาณกว่า 4 พันเมกะวัตต์  และอีกกว่า 4 พันเมกะวัตต์มีสัญญาเซื้อขายไฟฟ้าแล้วแต่ยังไม่ COD ส่วนอีกประมาณ 1 พันเมกะวัตต์อยู่ระหว่างการเจรจาซื้อไฟฟ้า ซึ่งส่วนนี้อาจจะไม่ได้เข้าไปรับซื้อไฟฟ้า

     "SPP เป็นสิ่งซึ่งเรามีนโยบายให้ซื้อผลิตไฟฟ้าให้มากขึ้น  ให้มีความมั่นคงมากขึ้น แต่ภายหลัง Regulator อนุญาตให้เขาผลิตแข่งกับส่วนอื่น โดยไม่ต้องประมูล ก็ทำให้เกิดความลักลั่น จะปรับปรุงอย่างไรก็ต้องรอให้ regulator จัดระเบียบวิธีที่ปฏิบัติ โดยที่มีอยู่ประมาณ 4 พันเมกะวัตต์เศษกับ อีก 4 พันที่ซึ้อขายไฟฟ้าแต่ยังไม่จ่ายไฟ  regulator ต้องวางเหลักกเกณฑ์ว่าทุกคนเท่ากัน รับซื้อไฟในราคาเดียวกัน ที่ผ่านมาต่างกัน กลุ่ม 2 regulator  คงเข้าไปดู ก่อนที่ COD เงื่อนไขทำอย่างไร regulator ต้องไปดู และคาดว่าอีก 1 พันเมกะวัตต์ ไม่น่าจะได้" นายณรงค์ชัย กล่าว

    นอกจากนี้ รมว.พลังงาน กล่าวว่า ในปี 58 จะผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ขนาด 800 เมกะวัตต์ให้ได้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเงื่อนไขการทำงานที่กระทรวงพลังงาน  แม้จะรู้ว่าจะมีชุมชนต่อต้านก็ตาม ทั้งนี้ สัดส่วนโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื่อเพลิงตามแผนพัฒนากกำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2015) จะต้องไม่ต่ำกว่าแผนเดิม ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนที่ 18-19%

   นายณรงค์ชัย กล่าวอีกว่า กระทรวงพลังงานยืนยันจะไม่ต่ออายุสัญญาสัมปทานแหล่งปิโตรเลียมที่จะสิ้นสุดภายใน  7 ปีข้างหน้า แต่จะมีการดำเนินการต่อเนื่อง คาดว่าจะมีข้อสรุปแนวทางภายใน 3 ปี พร้อมเปิดให้สัมปทานแหล่งปิโตรเลียมรอบใหม่ ซึ่งจะเปิดให้ยื่นภายในเดือนก.พ.58

    "เมื่อหมดสัญญาสัมปทานก็เป็นสมบัติของชาติ จะจ้างใคร หรืออะไรดีก็ทำได้ เป็นสิทธิของเราที่ทำ แต่การันตีได้ว่ามีความต่อเนื่อง แนวทางยังบอกไม่ได้"รมว.พลังงาน

   อนึ่ง บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ได้รับสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติบงกช

            อินโฟเควสท์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!