WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ยอดใช้ไฟปีหน้ากระฉูด กฟผ.ชี้สูงสุด 28,000 MW

    แนวหน้า : นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ระบุว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 2.3 โดยช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเดือนละ 14,000 ล้านหน่วย ซึ่งยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การเมืองช่วงต้นปี ขณะที่ในปีหน้าคาดว่าความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 โดยความต้องการใช้สูงสุดจะอยู่ที่ 28,000 เมกะวัตต์(MW) แต่ยืนยันว่ากำลังการผลิตของไทยยังเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ เนื่องจากไทยได้เตรียมกำลังการผลิตสำรองไว้ล่วงหน้าแล้ว

   ส่วนการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซในประเทศเมียนมาร์ในเดือนเม.ย. 2558 และแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ในเดือนมิ.ย.2558 โดยมีการปรับปรุงโรงไฟฟ้าจะนะ จ.สงขลา ให้สามารถเดินเครื่องการผลิตด้วยน้ำมันดีเซลแทนได้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการหารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ. เพื่อดำเนินมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าในของภาคเอกชน หรือ ดีมานด์-เรสปอนด์

   อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง ด้วยการวางแผนพัฒนาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยปัจจุบันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จ.สงขลา ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

    ขณะเดียวกันไทย ยังต้องเตรียมการระบบสายส่งไฟฟ้าให้ครอบคลุมทั่วทั้งประเทศ ซึ่งเบื้องต้นได้ดำเนินการโครงการสายส่งในพื้นที่ภาคใต้ขนาด 500 กิโลโวลต์ คาดว่าจะแล้วเสร็จหลังปี 2560 ส่วนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลให้ดำเนินการระบบสายส่งรองรับผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายเล็กแล้ว แต่หากต้องการขยายการรองรับเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 เมกะวัตต์ ก็ต้องเสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบอีกครั้ง เนื่องจากต้องใช้งบลงทุนสูงถึง 5-6 พันล้านบาท

หวั่นไร้สายส่งรับโรงไฟฟ้าไอพีพี กฟผ.จี้สรุปพีดีพีช้ากระทบความมั่นคง

    ไทยโพสต์ : บางกรวย * กฟผ.เร่งลงทุนระบบสายส่งไฟฟ้ารองรับโรงไฟฟ้าไอพีพี กลุ่มบริษัท กัลฟ์ เจพี 5,000 เมกะวัตต์ เผยแผนพีดีพีฉบับใหม่ล่าช้า กระทบการพัฒนาระบบสายส่งและความมั่นคง พร้อมยืนยันเดินหน้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ย้ำประมูลโปร่งใส และสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเองไม่โอนให้เอกชนรายอื่น

    นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังขาดสายส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการของผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) ซึ่งกลุ่มบริษัท กัลฟ์ เจพี ที่ชนะการประมูลเมื่อปี 2556 จำนวน 5,000 เมกะวัตต์ โดยการผลิตไฟฟ้าโครงการดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ในภาคตะวันออก แม้ว่าที่ผ่านมาคณะรัฐ มนตรีได้อนุมัติโครงการพัฒนาสายส่งไฟฟ้าที่บริเวณ อ.ปลวกแดง จ.ระยอง จำนวน 2,700 เมกะวัตต์ และการพัฒนาสายส่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อรองรับไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไปแล้ว รวมถึงการพัฒนาระบบสายส่งภาคใต้ มูลค่าลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาทไปแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับโครงการไอพีพีของกัลฟ์

    "ตอนนี้ต้องขอความชัดเจนของรัฐบาลในการกำหนดนโยบายแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือพีดีพี ฉบับใหม่ให้เสร็จก่อน พร้อมทั้งกำหนดการสร้างสาย ส่งไฟฟ้าเพิ่ม จากนั้นทาง กฟผ.จึงจะสามารถจัดทำแผนพัฒนาสายส่งไฟฟ้าให้รัฐบาลอนุมัติได้ เนื่องจากต้องใช้เงินลงทุนจากรัฐ บาล 5,000-6,000 ล้านบาท ทั้งนี้ หากไม่มีการอนุมัติพัฒนาสายส่งดังกล่าว จะส่งผลให้กัลฟ์ไม่สามารถ ผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบตามแผนในปี 2565 ได้ ซึ่งจะกระทบกับความมั่นคงทางไฟฟ้าของประเทศ" นายสุนชัยกล่าว

    นายสุนชัย กล่าวถึงกรณีกระแสข่าวว่า กฟผ.ล็อกสเปกโครง การก่อสร้างโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จ.ลำปาง ซึ่งสังเกตได้จากการเสนอ ราคาประมูลก่อสร้างโรงไฟฟ้าต่างกันถึง 1 หมื่นล้านบาท ว่า กฟผ.ยืนยันเดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะต่อไป เพราะไม่มีอะไรผิดพลาด เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติทั้งสิ้น โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พิจารณารายงานผล กระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ก่อนอนุมัติให้ดำเนินการก่อสร้างต่อไป

    สำหรับ สาเหตุที่มีการกล่าว อ้างว่า กฟผ.ล็อกสเปกราคานั้น ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ร่วมประมูล 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบริษัท อัลสตอม กลุ่มบริษัท ฮิตาชิ และบริษัท ฮาร์บิน จากจีน โดยกลุ่มอัลสตอมได้ยื่นประมูลราคาที่ 3.8 หมื่นล้านบาท ขณะที่กลุ่มบริษัท ฮิตาชิ ยื่นมาสูงถึง 4.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งต่างกันกว่า 1 หมื่นล้านบาท เป็นผลมาจากการใช้เทคโนโลยีบอยเลอร์ที่แตกต่างกันมาก ซึ่งมาจากความชำนาญประสบการณ์ที่ต่างกัน ส่วนบริษัท อัลสตอมนั้น กฟผ.ไม่ได้เปิดซองราคา เนื่องจากไม่ผ่านเกณฑ์ด้านประสบการณ์ก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน

    อย่างไรก็ตาม ผลการประ มูลนั้น กฟผ.ได้เลือกกลุ่มบริษัท ฮาร์บิน และต่อรองราคาลงมาอยู่ที่ 3.5 หมื่นล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวจะเข้าระบบในปี 2565

   นายสุนชัยกล่าวด้วยว่า ส่วนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการสรุปผลประชาพิจารณ์ และเตรียมเสนอต่อ คชก.ในเดือน ธ.ค.2557 นี้ อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าการผลิตไฟฟ้าถ่านหินที่รัฐบาลอนุมัติให้ กฟผ.ดำเนินการกว่า 4,000 เมกะวัตต์ กฟผ.สามารถดำเนินการเองได้ ไม่จำเป็นต้องมอบให้เอกชนรายอื่นดำเนินการแทน เนื่องจากฐานะทางการเงินของ กฟผ.ยังมั่นคงสูงและสามารถดำเนินการเองได้.

กฟผ.คาดปี 58 คนไทยใช้มากขึ้น จ่อผุดโรงไฟฟ้าถ่านหินกระจายความเสี่ยง

  แนวหน้า : นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ระบุว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าในปีนี้จะเพิ่มขึ้นจากปี 2556 ร้อยละ 2.3 โดยช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้นเดือนละ 14,000 ล้านหน่วย ซึ่งยังคงเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การเมืองช่วงต้นปี ขณะที่ในปีหน้าคาดว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวได้ร้อยละ 4 โดยความต้องการใช้สูงสุดจะอยู่ที่ 28,000 เมกะวัตต์ แต่ยืนยันว่า กำลังการผลิตของไทยยังเพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ เนื่องจากไทยได้เตรียมกำลังการผลิตสำรองไว้ล่วงหน้าแล้ว

   ส่วนการหยุดซ่อมบำรุงแหล่งก๊าซในประเทศเมียนมาร์ในเดือนเมษายน และแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA-A18 ในเดือนมิถุนายน โดยมีการปรับปรุงโรงไฟฟ้าจะนะ จังหวัดสงขลา ให้สามารถเดินเครื่องการผลิตด้วยน้ำมันดีเซลแทนได้ อีกทั้งยังอยู่ระหว่างการหารือกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือ กกพ.เพื่อดำเนินมาตรการลดการใช้ไฟฟ้าในของภาคเอกชน หรือ ดีมานด์-เรสปอนด์

   อย่างไรก็ตาม ไทยยังต้องกระจายเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อลดความเสี่ยง ด้วยการวางแผนพัฒนาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยปัจจุบันโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา จังหวัดสงขลา ยังอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA

กฟผ.คาดค่า peak ไฟฟ้าปีหน้า 28,000 เมกะวัตต์ โตตาม GDP ประเทศ

   นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว้าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า จากการที่หน่วยงานภาครัฐคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในปีหน้าจะเติบโตราว 4% ทำให้คาดการณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มสูงขึ้นตามด้วย โดยคาดความต้องการใข้ไฟฟ้าสูงสุด(peak)ในปี 58 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 28,000 เมกะวัตต์

   ส่วนกรณีท่อก๊าซในเมียนมาร์จะปิดซ่อมในช่วงเดือน เม.ย.58 และแหล่งเจดีเอจะหยุดซ่อมในช่วงเดือน มิ.ย.58 เชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหา เนื่องจากเป็นการปิดซ่อมช่วงสงกรานต์ที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าน้อยอยู่แล้ว และเป็นช่วงเวลาที่ไม่ตรงกัน

  ด้านความคืบหน้าโรงไฟฟ้ากระบี่ ขณะนี้รับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 เสร็จแล้ว จากนั้นจะทำแผนเสนอไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคระห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(คชก.) ภายในเดือน ธ.ค.นี้

                อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!