- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 31 August 2021 12:27
- Hits: 7763
กลุ่มบางจากฯ ตั้งเป้าปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี 2050
เมื่อวันที่ 27 สิงหาคมที่ผ่านมา นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้รับเชิญร่วมเสวนาหัวข้อ “ทิศทางพลังงานไทยสู่เป้าหมายการลด CO2” ในการสัมมนา “เป้าหมายลด CO2 กับทิศทางพลังงานไทย” จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ผ่านระบบออนไลน์ โดยเปิดเผยว่ากลุ่มบางจากฯ ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 และมีเป้าหมายแรกคือคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ในปี 2030
ธุรกิจของกลุ่มบางจากฯ คิดเป็น 1% ของ GDP ของประเทศไทย แต่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพียง 0.2%
นายชัยวัฒน์ได้กล่าวถึงทิศทางของอุตสาหกรรมน้ำมันของโลกว่าจะมีประมาณการจุดสูงสุดของความต้องการน้ำมันโลก (peak oil demand) ในเวลาอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า ดังนั้นองค์กรที่อยู่ในธุรกิจนี้จะต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างแน่นอน
สำหรับภาพรวมของโลกในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) นั้น อยู่ที่มากกว่า 45,000 ล้านตันต่อปี ในขณะที่ประเทศไทยปล่อยที่ประมาณ 0.9-1.0% ของโลก (ประมาณ 400 ล้านตัน/ปี) ซึ่งเมื่อพิจารณาว่า GDP ของไทยคิดเป็น 0.5% ของ GDP โลก แสดงว่าประเทศไทยมีการปล่อยเกินไปเป็นเท่าตัว ดังนั้นไทยควรเร่งและกระตุ้นการลดการปล่อย GHG ในส่วนของธุรกิจของกลุ่มบางจากฯ คิดเป็นประมาณ 1% ของ GDP ของประเทศไทย ขณะที่ปล่อย GHG ประมาณ 0.2% ของปริมาณที่ประเทศไทยปล่อยเท่านั้น
ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลงทุนในธุรกิจสีเขียวและการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
กลุ่มบางจากฯ ได้ตั้งเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2050 โดยมีเป้าหมายสำคัญเป้าหมายแรกคือคาร์บอนเป็นศูนย์ (Carbon Neutral) ในปี 2030 ซึ่งขณะนี้การบริหารธุรกิจต่างๆ ได้มุ่งหน้าสู่เป้าหมายดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลัก คือการปรับปรุงประสิทธิภาพต่างๆ ในกระบวนการผลิตและใช้ผลิตภัณฑ์ที่จะทำให้การปล่อย emission ลดลงได้ 20% ในปี 2024 และไปได้ถึง 30% ในปี 2030 ในขณะที่อีก 70% ต้องมีกลไกอื่นที่จะมาช่วย เช่นการลงทุนในธุรกิจพลังงานสีเขียวและการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
ธุรกิจเติบโตแต่การปล่อยคาร์บอนลดลง ด้วยการเพิ่มสัดส่วนของธุรกิจสีเขียว
ในช่วงเริ่มต้น ธุรกิจหลักๆ ของกลุ่มบางจากฯ คือโรงกลั่นและสถานีบริการน้ำมัน และได้ปรับเปลี่ยนเพิ่มสัดส่วนธุรกิจอื่นๆ โดยเฉพาะธุรกิจสีเขียว ได้แก่ โรงไฟฟ้าสีเขียว ธุรกิจชีวภาพ ธุรกิจทรัพยากรธรรมชาติต้นน้ำ ซึ่งระหว่างปี 2014-2019 บางจากฯ มี EBITDA เพิ่มขึ้น 50% แต่ emission เพิ่มขึ้นไม่ถึง 20% เป็นผลจากการควบคุม emission ของกลุ่มบางจากฯ ส่วนในอีก 7-8 ปีข้างหน้า วางแผนขยายธุรกิจโดยจะมี EBITDA เพิ่มขึ้น 2-3 เท่า แต่ให้มีการทยอยการลดการปล่อย CO2 จนเป็นศูนย์ในปี 2030 ซึ่งเป็นเป้าหมายที่สำคัญและท้าทาย
นวัตกรรมสีเขียวช่วยลดการปล่อย emission ในทุกธุรกิจ
ธุรกิจโรงกลั่นมีการปรับเป็น niche products refinery โดยในอนาคต 30% ของผลิตภัณฑ์ที่มาจากโรงกลั่น จะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่น้ำมัน เพื่อลดการปล่อย emission ใน scope 3 (การปล่อยจากผู้ที่นำผลิตภัณฑ์ไปใช้) ในขณะเดียวกันก็เพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงานและเพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยใน scope 1 (การปล่อยโดยตรงจากกระบวนการผลิต) และ 2 (การปล่อยทางอ้อมจากพลังงานที่ใช้ในการผลิต)
ในธุรกิจการตลาด สถานีบริการน้ำมัน greenovative destination มีการเพิ่มประสิทธิภาพ (efficiency improvement) ต่างๆ เช่น ติดตั้งหลังคาโซลาร์ นำน้ำจากหลังคามารดน้ำต้นไม้ และติดตั้ง EV Charger
ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าพลังงานสีเขียว บีซีพีจีฯ เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้าแห่งเดียวในประเทศไทยที่ทุกอิเล็กตรอนที่ผลิตออกมาเป็นอิเล็กตรอนสีเขียวคือมาจากพลังงานหมุนเวียนเท่านั้น และวันนี้กำลังเข้าสู่ธุรกิจการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage)
ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพของบีบีจีไอฯ ใช้นวัตกรรม synthetic biology ผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากพืชแทนสัตว์ เช่น เนื้อจากพืช เสื้อผ้า เครื่องสำอาง โดยไม่ต้องทำฟาร์มเลี้ยงสัตว์ซึ่งจะช่วยลดการปล่อย emission โดยเฉพาะก๊าซมีเทนได้ และกำลังก่อตั้ง Syn Bio Consortium ร่วมกับหลายภาคส่วนเพื่อสร้างเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดธุรกิจ bio-based ต่างๆ
ธุรกิจใหม่ๆ มีการลงทุนในธุรกิจที่เป็น frontier ธุรกิจที่จะเปลี่ยนโลก ล่าสุดคือธุรกิจไฮโดรเจน
สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดผ่าน Carbon Markets Club
บางจากฯ และพันธมิตรรวม 11 บริษัท ได้ร่วมกันตั้ง Carbon Markets Club สนับสนุนการพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาด กระตุ้นให้เกิดการซื้อขายคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะช่วยทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรโดยภาคเอกชนกันเอง โดยธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ปล่อย emission มาก จะนำเงินส่วนหนึ่งมาซื้อคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นการชดเชย และนำเงินส่วนนั้นมาพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดโดยไม่ต้องพึ่งเงินอุดหนุนจากภาครัฐ เป็นกลไกที่จะมาช่วยปิดช่องว่างในช่วง 5-10 ปีนี้ ในการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานสีเขียวหรือพลังงานสะอาด เพื่อให้ธุรกิจด้านพลังงานสะอาดสามารถพัฒนาได้
Carbon Markets Club วางแผนให้มีการซื้อขายกันทุกๆ ไตรมาส และยินดีต้อนรับสมาชิกใหม่ทั้งประเภทองค์กรและประเภทบุคคล โดยสามารถติดต่อได้ที่ [email protected] หรือ [email protected]
A8994
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ