WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.พลังงาน พร้อมปรับเงื่อนไขสัมปทานปิโตรเลียมในรอบที่ 21

     นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงกรณีความคืบหน้าในการออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนยื่นขอสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ว่า จะต้องรอจนกระทั่งถึงวันที่ 18 ก.พ. 2558 ว่า จะมีเอกชนจำนวนกี่รายที่แสดงความสนใจยื่นขอรับสิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกี่รายโดยหากพบว่ามีจำนวนมากและยื่นข้อเสนอที่ดีให้กับรัฐ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะมีการปรับเปลี่ยนเงื่อนไขการให้สัมปทานจากระบบไทยแลนด์ทรีพลัส(Thailand III plus) เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต (Production Sharing Contract) หรือ PSC ตามที่ภาคประชาชนเรียกร้อง เพราะแสดงว่า พื้นที่ที่เปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตจำนวน 29 แปลงนั้นมีศักยภาพที่จะพบปิโตรเลียมสูง โดยยังมีกระบวนการที่สามารถดำเนินการได้ในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่เพียงพอที่จะคัดค้านการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ในช่วงนี้

    อย่างไรก็ตาม ในทางตรงกันข้าม หากเอกชนให้ความสนใจต่อแปลงที่เปิดให้สิทธิสำรวจและผลิตน้อย ทางกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็อาจจะพิจารณาปรับลดเงื่อนไขเพื่อให้จูงใจมากขึ้น เพราะวัตถุประสงค์หลักที่รัฐต้องการคือความมั่นคงทางด้านพลังงาน ซึ่งหมายถึงการสามารถนำปิโตรเลียมที่มีอยู่ขึ้นมาใช้ได้ตามศักยภาพที่มีอยู่

    "ต้องยอมรับในข้อเท็จจริงว่า ในแปลงสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 ที่เปิดให้เอกชนยื่นขอสิทธิสำรวจและผลิตทั้ง29แปลงนั้น ทั้งหมดเป็นพื้นที่ที่เคยให้สัมปทานในรอบก่อนหน้านี้แล้ว ไม่ได้เป็นพื้นที่ใหม่ รัฐจึงไม่ต้องการที่จะเรียกร้องผลประโยชน์ที่มากเกินกว่าศักยภาพที่มีอยู่ได้ แต่หากเอกชนให้ความสนใจยื่นขอสิทธิจำนวนมากกว่าที่คาดไว้ ก็แสดงว่าพื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพสูง และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติประเมินผิด ก็พร้อมที่จะแก้ไขผลประโยชน์ที่รัฐจะได้รับให้เป็นระบบแบ่งปันผลผลิต ทั้งนี้ในการดำเนินการที่ผ่านมาถือว่าได้พิจารณาอย่างรอบคอบ เพื่อให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติต่างชาติมีความมั่นใจในนโยบายที่ออกมา"นายคุรุจิต กล่าว

    สำหรับ การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 20 เมื่อปี2550 ที่ผ่านมา มีแปลงสัมปทานที่เปิดให้เอกชนยื่นขอสำรวจและผลิต จำนวน 69แปลง แต่มีเอกชนยื่นขอสำรวจจำนวน 28แปลง และมีการคืนพื้นที่มาแล้วเนื่องจากสำรวจไม่พบปิโตรเลียมจำนวน 18 แปลง ที่เหลืออยู่ในระหว่างการสำรวจ โดยมีเพียง1แปลงเท่านั้น ที่พบปิโตรเลียมในปริมาณที่คุ้มค่าที่จะผลิตเชิงพาณิชย์

    นายคุรุจิต กล่าวว่า กรณีมาเลเซีย ที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ปัจจุบัน ก็มีการเปลี่ยนมาใช้ระบบใหม่ที่เรียกว่า Risk Sharing Contract หรือRSC ซึ่งเป็นระบบที่รัฐมาเลเซียจะได้ผลประโยชน์น้อยกว่าระบบแบ่งปันผลผลิตเดิม คือประมาณ 50ต่อ50 เนื่องจากศักยภาพของแหล่งปิโตรเลียมที่มีอยู่ด้อยลง อย่างไรก็ตามหากบริษัทผู้ผลิตและสำรวจ สามารถผลิตปิโตรเลียมได้จำนวนมาก รัฐจะมีการจัดเก็บภาษีแบบขั้นบันไดในส่วนของการนำเรื่องการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่21 เข้าหารือในสภาปฏิรูปแห่งชาติ นั้นจำเป็นจะต้องรอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการในแต่ละด้านให้เสร็จสิ้นเสียก่อน ซึ่งตนในฐานะสปช.จะสามารถอธิบายให้สมาชิกคนอื่นๆได้เข้าใจถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องเปิดสัมปทานครั้งนี้ได้

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!