WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 27-31 ต.ค. 57 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 3-7 พ.ย. 57

สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 0.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 86.22 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 0.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 84.12 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 81.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.97 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 98.51 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 98.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ :

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก                            

·       ธนาคารกลางจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายเดือน ต.ค. 57 เพื่อช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีการฟื้นตัว และนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของรัฐบาลจีน ประเมินภาวะเศรษฐกิจมหภาคของจีนว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวจากปีก่อน 7.4%  ในปีนี้ ต่ำกว่าเป้าหมายการเติบโตที่ 7.5% ต่อปีของรัฐบาลเล็กน้อย และในปี 2558 คาดจะขยายตัวได้ 7.0% โดยมีการส่งออกเป็นปัจจัยบวกสำคัญ และคาดว่า จีนจะสามารถรักษาอัตราการขยายตัวใน 10 ปีข้างหน้าเฉลี่ยที่ 7%

·       กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาสที่ 3/57 เติบโตอยู่ที่ 3.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และ สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters คาดการณ์ไว้ที่ 3.0% 

·       Conference Board กลุ่มวิจัยเศรษฐกิจเอกชนรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence Index) ของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 5.5 จุด มาอยู่ที่ 94.5 จุด สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ต.ค. 50 หรือในรอบ 7 ปี

·       Pemex บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเม็กซิโกรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศในไตรมาสที่ 3/57 อยู่ที่ 2.40 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากปีก่อน 120,000 บาร์เรลต่อวัน) จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบชนิด Heavy Crude ลดลงจากปีก่อน 9.4%

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

·     ผลสำรวจของ Bloomberg รายงาน OPEC มียอดผลิตน้ำมันดิบ ในเดือน ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 53,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 30.97 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 14 เดือน สะท้อนว่าแทนที่ OPEC จะลดปริมาณการผลิตลงเพื่อรับมือกับปัญหาราคาน้ำมันตกต่ำ กลับเลือกที่จะแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากประเทศผู้ผลิตน้ำมันดิบรายอื่น

·     ธนาคารกลางสหรัฐฯ แถลงยุติมาตรการผ่อนคลายเชิงนโยบายทางการเงิน (Quantitative Easing-QE)  ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 57 ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าสุดในรอบ 3 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับสกุลเงินในตะกร้าหลัก

·       ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters ประจำเดือน ต.ค. 57 ปรับลดประมาณการราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ปี 58 ลงมาอยู่ที่ 93.70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงจากที่คาดการณ์ไว้ในเดือนก่อนหน้า 9.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

·     เลขาธิการ OPEC ออกมาชี้เป็นนัยว่า OPEC อาจไม่ปรับลดเป้าหมายการผลิตในการประชุมสามัญในวันที่ 27 พ.ย. 57 จากเป้าหมายการผลิตปัจจุบันที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากเห็นว่าตลาดในขณะนี้ไม่ได้ผิดปกติแต่อย่างใด และฝ่ายที่ได้รับผลเสียคือผู้ผลิต Shale Oil ซึ่งราคาคุ้มทุน (Breakeven Price) สูงกว่า

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

ราคาน้ำมันดิบราคามีแนวโน้มปรับตัวลงอย่างต่อเนื่อง ICE Brent ปิดตลาดที่ 85.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  และ WTI NYMEX ที่  80.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ วันที่ 31 ต.ค. 57 ขณะที่เหล่านักลงทุนปรับลดสถานะการเข้าซื้อสุทธิในตลาดซื้อขายล่วงหน้าท่ามกลางความเป็นกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังคงคลอนแคลนและปริมาณอุปทานน้ำมันดิบที่ล้นเหลือในตลาด ด้านความเคลื่อนไหวของ OPEC ล่าสุด นาย Abdul Mahdi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของอิรักออกมากล่าวระหว่างการประชุมรัฐสภาของอิรักถึงความพยายามแย่งส่วนแบ่งตลาดกันเองภายในกลุ่ม OPEC ด้วยการแข่งขันทางด้านราคา สะท้อนว่าเป็นการยากที่ OPEC จะสามารถร่วมมือกันหาข้อสรุปในการลดปริมาณการผลิตของกลุ่ม เพราะต่างฝ่ายต่างไม่ต้องการลดโควต้าในส่วนของตน ทั้งนี้ ปัจจัยที่น่าจับตามองคือการเลือกตั้ง Midterms ของสหรัฐฯ ในวันที่ 4 พ.ย. 57 ซึ่งจะมีส่วนในการกำหนดทิศทางของนโยบายด้านการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เนื่องจากปัจจุบัน สหรัฐฯ ยังติดกฎหมายห้ามส่งออกน้ำมันดิบ แต่กลุ่มนักการเมืองจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งมีกลุ่มทุนธุรกิจหนุนหลัง พยายามผลักดันให้มีการยกเลิกกฎหมายดังกล่าว สำหรับทางเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 81.5 – 86.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล   และ WTI NYMEX อยู่ที่ 78.5 – 82.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล   และดูไบอยู่ที่ 80 – 85 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับเพิ่มขึ้น จากกรมศุลกากรของจีนรายงานปริมาณสำรอง Gasoline เดือน ก.ย. 57 ลดลง 1.1ล้านบาร์เรล หรือลดลงจากเดือนก่อน  2.2%  อยู่ที่ระดับ 48.2 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 57 สอดคล้องกับความต้องการใช้ Gasoline ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อน 140,000 บาร์เรลต่อวัน และเพิ่มขึ้นจากปีก่อน  440,000 บาร์เรลต่อวัน และบริษัท CPC และ Formosa Petrochemical Corp. (FPC) ของไต้หวันประกาศลดราคาขายปลีก Gasoline ลง  0.20 เหรียญไต้หวันต่อลิตร (1 เซ็นต์สหรัฐฯ ต่อลิตร) มีผลวันที่ 27 ต.ค. 57 ที่ผ่านมา นับเป็นครั้งที่ 8 แล้วนับตั้งแต่ปลายเดือน ส.ค. 57 ที่บริษัททั้งสองปรับลดราคาลง อย่างไรก็ตาม PAJ รายงานปริมาณการผลิต Gasoline สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 12.6%  หรือ เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.9% มาอยู่ที่ 6.62 ล้านบาร์เรล ส่งผลให้ปริมาณสำรอง Gasoline เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน  2.1%  มาอยู่ที่ 10.79 ล้านบาร์เรล อย่างไรก็ตาม Korea National Oil Corp. บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานอุปสงค์ Gasoline เดือน ก.ย. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 8.9%  มาอยู่ที่ 6.23 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 94.39-99.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

ราคาน้ำมันดีเซลสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น จากกรมศุลกากรของจีนรายงานปริมาณสำรอง Diesel เดือน ก.ย. 57 ลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล  หรือลดลง 5.1%  อยู่ที่ระดับ 51 ล้านบาร์เรล แตะระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ ในขณะที่ความต้องการใช้ Diesel ปรับตัวสูงขึ้น 0.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน  อยู่ที่ระดับ 3.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน  นักวิเคราะห์จาก JBC Energy คาดว่าอุปสงค์ Diesel ในอินเดียจะเพิ่มขึ้นในระยะสั้น หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีก Diesel ในประเทศ หรือยกเลิกการอุดหนุนราคา (Subsidy) เนื่องจากผู้ใช้มีความอ่อนไหวสูง และราคาจริงลดลง 6 % ทั้งนี้ระดับราคา Diesel ในตลาดโลกลดลง 25 % ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 57 นักวิเคราะห์จาก JBC Energy คาดว่าอุปสงค์ Diesel ในอินเดียจะเพิ่มขึ้นในระยะสั้น หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกการควบคุมราคาขายปลีก Diesel ในประเทศ หรือยกเลิกการอุดหนุนราคา (Subsidy) เนื่องจากผู้ใช้มีความอ่อนไหวสูง และราคาจริงลดลง 6 % ทั้งนี้ระดับราคา Diesel ในตลาดโลกลดลง 25 % ตั้งแต่เดือน มิ.ย. 57 อย่างไรก็ตาม Korea National Oil Corp. บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเกาหลีใต้รายงานอุปสงค์ Gasoline เดือน ก.ย. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 8.9% มาอยู่ที่ 6.23 ล้านบาร์เรล  (+0.5% YoY) ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 94.33-99.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล  

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!