WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ปตท.รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 20-24 ต.ค. 57 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 27-31 ต.ค. 57

    สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 0.08 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 85.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง1.86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 83.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 1.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 81.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 1.65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 97.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 0.546 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 97.69  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ :

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ 

  นาย Samir Kamal ตัวแทนลิเบียในกลุ่มประเทศ OPEC ออกมาให้สัมภาษณ์ว่ากลุ่มประเทศ OPEC ควรปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงเพื่อนำราคาน้ำมันดิบโลกสู่ระดับปกติ ทั้งนี้ยังกล่าวว่าประเทศลิเบียพึ่งนำกำลังการผลิตน้ำมันดิบกลับมาสู่ระดับเดิมหลังจากความไม่สงบในประเทศและควรจะถูกยกเว้นหากกลุ่มประเทศ OPEC ตัดสินใจลดกำลังการผลิตลง

  สำนักงานบัญชีกลาง (Government Accountability Office- GAO) ของสหรัฐฯระบุว่าสหรัฐฯ ควรปรับลดปริมาณน้ำมันดิบในคลังสำรองปิโตรเลียมเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve-SPR) ของประเทศ เนื่องจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบภายในประเทศที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความจำเป็นในการพึ่งพาการนำเข้าลดลง นอกจากนี้ ยังเห็นว่า หากมีการแก้กฏหมายห้ามส่งออกน้ำมันดิบก็จะช่วย กระตุ้นเศรษฐกิจและลดการขาดดุลงบประมาณได้ อนึ่ง ปัจจุบัน SPR ของสหรัฐฯ เก็บน้ำมันดิบอยู่ 690 ล้านบาร์เรล จากความจุทั้งหมด 727 ล้านบาร์เรล  เทียบออกมาเป็นปริมาณสำหรับใช้ได้ 106 วันจากยอดนำเข้าสุทธิ ส่วนคลังสำรองเชิงพาณิชย์ มีอยู่สำหรับ 141 วัน ทั้งนี้ รัฐบาลกำหนดให้เก็บขั้นต่ำ 90 วันชาติสมาชิก OPEC บางประเทศรวมถึงซาอุดีอาระเบียและคูเวตไม่มีท่าทีจะลดปริมาณการผลิตในระยะสั้น ก่อนการประชุมประจำปีของ OPEC ในวันที่ 27 พ.ย. 57 ที่จะถึงนี้กระทรวงการคลังญี่ปุ่นรายงานตัวเลขเบื้องต้นของยอดนำเข้าน้ำมันดิบ ในเดือน ก.ย. 57 ลดลงจากปีก่อน 3.7% มาอยู่ที่ 3.39 ล้านบาร์เรลต่อวัน

  EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 17 ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน  7.1 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 377.7 ล้านบาร์เรล สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นเพียงจากสัปดาห์ก่อน 2.7 ล้านบาร์เรล  ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเพิ่มขึ้นกว่า 16 ล้านบาร์เรลและอยู่ที่ระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปี อยู่ 6%

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

  กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานยอดสร้างบ้านใหม่ของสหรัฐฯ (Housing Starts) เดือน ก.ย. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 6.3% มาอยู่ที่ระดับ 1,017,000 หลังต่อปีหลังจากที่ปรับลดลงในเดือน ส.ค. 57 Thomson Reuters/University of Michigan รายงานดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเบื้องต้น (Preliminary Consumer Confidence Index) ในเดือน ต.ค. 57 ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มจากเดือนก่อน 1.8 จุด มาอยู่ที่ 86.4 จุด สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าจะลดลง หลังสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในไตรมาสที่ 3/57 ซึ่งอยู่ที่ 7.3%  สูงกว่าผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Bloomberg และ Reuters  ประกอบกับปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในเดือน ก.ย. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.8% มาอยู่ที่ 10.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 7 เดือน และยอดนำเข้าน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 13.1% มาอยู่ที่ 6.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน รายงานปริมาณการนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในเดือน ก.ย. 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 4.8% และ 9.1% จากปีก่อน มาอยู่ที่ 10.22 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงสุดในรอบ 7 เดือน

  รายงานประจำเดือนของ OPEC ระบุว่าซาอุดีอาระเบียส่งออกน้ำมันดิบสู่ตลาดโลก เดือน ก.ย. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 0.33 ล้านบาร์เรลต่อวัน  อยู่ที่ 9.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน  ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน0.10 ล้านบาร์เรลต่อวันอยู่ที่ 9.70 MMBD   

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

  ราคาน้ำมันปรับลดลงจากข่าวปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของอิรักสูงขึ้นต่อเนื่อง ผนวกกับกำลังการผลิตของอิหร่านกำลังปรับเพิ่มขึ้น และท่าทีของซาอุดีอาระเบียที่วางเฉยต่อระดับราคาน้ำมันที่ลดลง เช่นเดียวกับคูเวตที่ระบุว่าตนจะไม่ลดงบประมาณรายจ่าย แม้ราคาน้ำมันจะลดลงมาอยู่ที่ 75 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็ยังคงไม่เป็นปัญหาเพราะว่ามีสำรองเงินตราระหว่างประเทศพอเพียง ท่าทีข้างต้นของประเทศ OPEC บ่งชี้ว่า OPEC จะให้กลไกตลาดปรับสมดุลระหว่างอุปสงค์ อุปทานมากกว่าการแทรกแซงด้วยการลดเพดานการผลิต ในขณะที่ นาย Alexei Ulyuukayer รัฐมนตรีเศรษฐกิจของรัสเซียให้สัมภาษณ์ว่า ภาวะน้ำมันดิบที่ต่ำลง ส่งผลต่อเศรษฐกิจจนอาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 58 เป็นลบ

รัสเซียวางแผนลดงบประมาณรายจ่ายไว้จากการตั้งราคาน้ำมันดิบที่ 100 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล นอกจากนี้รัสเซียประกาศงดนำเข้าอาหารจากยุโรป เพื่อตอบโต้การคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตรตะวันตก ทำให้ต้นทุนการนำเข้าอาหารสูง จนอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มเพิ่มจากปีก่อนถึง 8%  ในช่วงปลายปีนี้ ด้านเศรษฐกิจราคาบ้านใหม่ของจีนเดือน ก.ย. 57 ปรับลดลงใน 69 เมืองใหญ่จากทั้งหมด 70 เมือง โดยมีเมืองท่า Xiamen เพียงเมืองเดียวที่ราคาที่อยู่อาศัยคงที่จากเดือนก่อน ทั้งนี้ ธนาคารกลางจีนได้ออกมาตรการผ่อนคลายการควบคุมตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงปลายเดือนที่ผ่านมาเพื่อช่วยกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ให้มีการฟื้นตัว และนักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของรัฐบาลจีน ประเมินภาวะเศรษฐกิจมหภาคของจีนว่า เศรษฐกิจจีนมีแนวโน้มขยายตัวจากปีก่อน  7.4%  ในปีนี้ ต่ำกว่าเป้าหมายของ รัฐบาลที่ตั้งไว้ 7.5%  และจะขยายตัวได้ 7.0%ในปีหน้า โดยมีการส่งออกเป็นปัจจัยบวกสำคัญ และคาดว่า จีนจะสามารถรักษาอัตราการขยายตัวเฉลี่ยได้ที่ 7% ต่อปี ใน 10 ปีข้างหน้า ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 82.9-87.0 และ WTI NYMEX อยู่ในกรอบ 79.8-84.4 และ Dubai อยู่ในกรอบ 84.9-88.0      

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

  สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงจาก  นาย Joko Widodo ประธานาธิบดีอินโดนีเซียเสนอแผนปรับเพิ่มราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศ โดยปรับราคาขายปลีกเบนซินขึ้น 46% อยู่ที่ 9,500 รูเปียต่อลิตร หรือ 0.73 เหรียญสหรัฐฯต่อลิตร และ ดีเซล ขึ้น 55% อยู่ที่ 8,500 รูเปียต่อลิตรหรือ 0.71 เหรียญสหรัฐฯต่อลิตร  หลังจากที่รัฐบาลแบกรับภาระการอุดหนุนราคาน้ำมันมานาน ทั้งนี้ หากแผนนี้ผ่านความเห็นชอบจะช่วยอินโดนีเซียลดการขาดดุลงบประมาณกว่า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในงบปี 58 ประกอบกับ IES รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 ต.ค 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 690,000 บาร์เรล มาอยู่ที่  มาอยู่ที่ 11.9 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 98.76-101.86

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

  ราคาน้ำมันดีเซลสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงจากอุปทานน้ำมันดีเซลในอินเดียยังมีล้นเหลือเพราะความต้องการใช้ลดลงช่วงฤดูฝน  โรงกลั่นอินเดียหลายแห่งออกประมูลขายเข้ามาในตลาดจร อย่างไรก็ตาม Platts คาดว่าอุปสงค์น้ำมัน Gasoil 0.001%S ของออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้น หลังจากโรงกลั่นในประเทศจำนวน 4 จาก 8 โรง จะปิดเพื่อซ่อมบำรุงในสัปดาห์นี้ ทำให้กำลังการกลั่นน้ำมันดิบลดลงกว่าครึ่ง มาอยู่ที่ประมาณ 400,000 บาร์เรลต่อวัน  และ IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillate ของสิงคโปร์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 24 ก.ย. 57 ลดลง 0.67 ล้านบาร์เรล หรือเพิ่มจากสัปดาห์ก่อน 5.6%  มาอยู่ที่ระดับ 10.94 ล้านบาร์เรล   ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 99.25-102.35

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!