- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 13 October 2014 19:48
- Hits: 2487
สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 6 – 10 ต.ค. 2557 และแนวโน้มในสัปดาห์ที่ 13 – 16 ต.ค. 2557
ฝ่ายกลยุทธ์ และแผนธุรกิจหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รายงานสรุปสถานการณ์น้ำมัน โดยราคาเฉลี่ยในสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ราคาน้ำมันปรับลดลงทุกชนิด โดยน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 3.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 87.62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 3.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อยู่ที่ 91.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 3.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 89.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 3.84 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 105.20 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 4.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 102.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ :
หมายเหตุ 7 ต.ค. 2557 ตลาดสิงคโปร์ปิดทำการเนื่องทางศาสนา Hari Raya Haji
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
· รายงานประจำเดือนของประเทศผู้ผลิต และส่งออกน้ำมันดิบ (OPEC) รายงานปริมาณผลิตน้ำมันดิบในเดือน ก.ย. 2557 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.40 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ระดับ 30.47 ล้านบาร์เรล ซี่งเป็นอัตราการผลิตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554 และเป็นระดับการผลิตสูงสุดในรอบปี
· Non-OPEC กระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานอัตราการผลิตน้ำมันดิบใน ก.ย 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.9% อยู่ที่ระดับ 10.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน
· สำนักงานสารสนเทศทางด้านพลังงานของสหรัฐฯ Energy Information Administration (EIA) รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 5.1 บาร์เรล มาอยู่ที่ 361.7 บาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุง
· กระทรวงเศรษฐกิจ และพลังงานของเยอรมนีรายงานยอดสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Industrial Orders) เดือน ส.ค. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 5.7% นับเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบ 5 ปี และสำนักงานสถิติของเยอรมนี (Federal Statistics Office of Germany) รายงานยอดการส่งออกของเยอรมนีในเดือน ส.ค. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 5.8% แตะระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 2553
· บริษัท Kuwait Petroleum International ประกาศยกเลิกการลงทุนมูลค่า 1,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โรงกลั่น Q8-KPE (กำลังการกลั่น 88,000 บาร์เรลต่อวัน) ณ เมือง Rotterdam เนเธอร์แลนด์ โดยอยู่ระหว่างกำลังพิจารณาที่จะขายโรงกลั่นแห่งนี้ท่ามกลางกำลังการกลั่นในยุโรปที่มากกว่าความต้องการ และการแข่งขันสูง
· กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ปรับลดประมาณการอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของโลกปี 2557 และ 2558 ลงมาอยู่ที่ 3.3% และ 3.8% ตามลำดับ จากที่เคยคาดการณ์ไว้เดือน ก.ค. 57 ที่ 3.4% และ 4.0%
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
· กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงาน :
อัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ในเดือน ก.ย. 57 ลดลงจากเดือนก่อน 0.2% สู่ระดับ 5.9% ต่ำที่สุดในรอบ 6 ปี และยอดเปิดรับพนักงานใหม่ (Job Opening) เดือน ส.ค. 57 เพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน 230,000 อัตรา อยู่ที่ 4.835 ล้านอัตรา สูงสุดในรอบ 13 ปี
ยอดขอรับสวัสดิการว่างงาน (Initial Jobless Claims) ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 4 ต.ค. 57 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1,000 ราย อยู่ที่ระดับ 287,000 ราย
· Retures รายงานบริษัทน้ำมัน PetroChina ของจีนมีแผนเข้าซื้อน้ำมันดิบชนิดหนัก (Sour Crude) จาก
ตะวันออกกลาง ปริมาณมากกว่า 8.5 ล้านบาร์เรล สัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากราคาน้ำมันดิบที่ตกต่ำในปัจจุบันเอื้อต่อการกักเก็บน้ำมันเข้าคลังสำรองเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Petroleum Reserve) ในถังกักเก็บน้ำมัน ณ เมือง Tianjin และ Huangdao ในไตรมาสที่ 4/2557
แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ
ราคาน้ำมันดิบลดลงแตะระดับต่ำกว่า 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบสองปีกว่า เนื่องจากอุปทานน้ำมันล้นตลาด โดยกลุ่ม OPEC ผลิตน้ำมันดิบในเดือน กย. 57 อยู่ที่ระดับ 30.47 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นอัตราการผลิตสูงที่สุดในรอบ 3 ปี นอกจากนี้ประเทศรัสเซีย (Non-OPEC) ผลิตน้ำมันดิบใน ก.ย 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.9% อยู่ที่ระดับ 10.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสถานการณ์ดังกล่าวรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศเวเนซูเอลาซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิก OPEC ได้เรียกร้องให้ประเทศสมาชิกจัดการประชุมฉุกเฉินเนื่องจากราคาน้ำมันตกต่ำ อย่างไรก็ตามรายงานทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐฯ โดยเฉพาะภาคแรงงานฟื้นตัว โดยการว่าจ้างพนักงานใหม่ในเดือน ส.ค. 2557 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 13 ปี และจีนมีแผนเข้าซื้อน้ำมันดิบเพื่อเก็บสำรองทางยุทธศาสตร์เมื่อราคาน้ำมันตกต่ำ ทางเทคนิคคาดว่าสัปดาห์นี้ราคาน้ำมันดิบ Brent และ WTI จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 86 - 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และ 84 - 88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินลดลงจาก Formosa ของไต้หวันประมูลขายเบนซิน 93 RON ปริมาณ 750,000 บาร์เรล ส่งมอบเดือน พ.ย. 57 และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นรายงานปริมาณส่งออก Gasoline สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 35,100 บาร์เรลต่อวัน (เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 12,200 บาร์เรล์ต่อวัน และเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 29,600 บาร์เรลต่อวัน) เนื่องจากอุปสงด์ภายในประเทศลดลง กอปรกับปัจจัยค่าเงินเยนที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ จูงใจให้ผู้ประกอบการเน้นส่งออก และจาก International Enterprise Singapore (IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์ ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 1.3 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 12.1 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 5 เดือน อย่างไรอุปทาน Gasoline ในตลาดสหรัฐฯ ตึงตัวเนื่องจากโรงกลั่นปิดซ่อมบำรุงเป็นระยะเวลา 1-2 เดือน ส่งผลให้ผู้ค้าในยุโรปส่งออกเบนซินไปยังสหรัฐฯ
สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล
สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ยลดลงจากสัปดาห์ก่อนจากญี่ปุ่นลดปริมาณส่งออก IES รายปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 8 ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.2 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 11.3 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์ และ PJK รายงานปริมาณสำรอง Gas Oil เชิงพาณิชย์บริเวณยุโรป ARA สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 2 ต.ค. 57 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 0.9 ล้านบาร์เรล (4.8 %) อยู่ที่ 21.5 ล้านบาร์เรล สูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย. 54 โดยมีอุปทานจากรัสเซียและลัตเวีย อย่างไรก็ตามโรงกลั่น Exxon Mobil Corp. มีแผนปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น Jurong (302,000 บาร์เรลต่อวัน) ในสิงคโปร์ระหว่าง 6 ต.ค. - พ.ย. 57