- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 13 October 2014 19:46
- Hits: 2670
พลังงานไม่รอ'สปช.'เปิดสัมปทานปิโตรฯ
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * 'คุรุจิต' ลั่นไม่รอ สปช.เตรียมชง ครม.ขอเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ พร้อมแจงระบบไทยแลนด์ทรีพลัส รัฐได้ประโยชน์เพิ่มกว่าการเรียกเก็บโบนัสการผลิต
นายคุรุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า การเปิดสัมปทานปิโตร เลียมรอบใหม่ ครั้งที่ 21 ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องชะลอเพื่อให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงานมีข้อยุติในเรื่องนี้ เพราะขั้นตอนการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรม การปิโตรเลียม ที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาของ รมว.พลังงาน เพื่อให้ความเห็นชอบในการออกประกาศเชิญชวนเอกชนให้เข้ามายื่นขอรับสัมปทาน
ทั้งนี้ ในการออกสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่นี้ที่เสนอให้ รมว.พลังงานพิจารณา จะใช้ระ บบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) ที่จะแตกต่างจากไทยแลนด์ทรีของเดิม คือจะมีการเรียกเก็บผลประโยชน์ให้กับรัฐเพิ่มเติมจากระบบไทยแลนด์ทรีใน 2 ส่วนสำคัญ คือ Signature Bonus ซึ่งเป็นค่าธรรมเนียมที่รัฐ เรียกเก็บเมื่อมีการลงนามกับเอกชนที่ได้รับสัมปทาน แม้ว่าจะสำรวจพบหรือไม่พบปิโตรเลียมก็ตาม และ Production Bonus ซึ่งเป็นการเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเมื่อบริษัทผู้รับสัมปทานสามารถผลิตปิโตรเลียมได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด
นายคุรุจิต กล่าวว่า ที่ผ่านมาในระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี รัฐก็ได้ประโยชน์ที่แบ่งจากกำไรของเอกชนผู้รับสัมปทานใน สัดส่วนที่มากกว่า 70% อยู่แล้ว โดยเป็นการเรียกเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5-15% จากรายได้การขายปิโตรเลียม และเก็บภาษีเงิน ได้ 50% ของกำไร โดยที่มีการเรียกเก็บผลตอบแทนพิเศษ หรือ Special Remuneratory Benefit (SRB) เมื่อราคาน้ำมันดิบอยู่ใน ระดับสูงตามหลักเกณฑ์ที่รัฐกำ หนด ซึ่งในส่วนของโบนัสที่เรียกเก็บเพิ่มก็น่าจะเป็นระดับที่เอกชนผู้รับสัมปทานยอมรับได้
"ต้องเข้าใจว่าในการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ รัฐไม่ได้มองเรื่องผลตอบแทนที่รัฐจะได้รับเป็นเรื่องสำคัญที่สุด แต่มองว่าจะทำอย่างไรที่จะให้เอกชนมีแรงจูงใจที่จะสำรวจให้พบปิ โตรเลียมให้ได้มากที่สุดมากกว่า เพราะเราเป็นประเทศนำเข้าสุทธิพลังงาน ดังนั้นการที่สามารถค้น พบปิโตรเลียมในประเทศได้มาก ก็จะทำให้ประชาชนได้ใช้ทรัพยากรในราคาที่ต่ำกว่าปิโตรเลียมที่มี การนำเข้า และรัฐก็จะได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการที่มีการนำปิโตร เลียมไปสร้างมูลค่าเพิ่ม" นายคุรุจิตกล่าว
สำหรับ ในเรื่องของระบบแบ่งปันผลผลิต ที่มีความเชื่อกันว่าจะทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงกว่าระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีนั้นก็เป็นเรื่องที่ไม่จริง เพราะปัจจุบันก็มีการใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือเจดีเอ อยู่แล้ว ที่รัฐได้ค่าภาคหลวงในอัตรา 10% และภาษี 0- 20% และการแบ่งปันผลผลิตฝ่ายละ 50% ซึ่งรวมกันแล้วได้น้อยกว่าระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรี.