- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 20 May 2014 22:14
- Hits: 3480
กฟผ.ปรับแผนย้ายพีกรับไฟใต้ดับ วอนขอชาวบ้านร่วมมือจวกกรมโรงงานอย่าจุ้น
ไทยโพสต์ : วิภาวดีรังสิต * กฟภ.-กฟผ.เตรียมรับไฟใต้ดับช่วงปิดซ่อมเจดีเอ เตรียมย้ายพีกเหลือช่วงค่ำรอบเดียว พร้อมเร่งทำความเข้าใจคนใต้ลดใช้ไฟช่วง 18.30-21.00 น. ตลอด 28 วัน ลุ้นอากาศตัวแปร จับตาพิเศษ ชี้ร้อนขึ้น 1 อาศา ใช้ไฟฟ้าเพิ่มกว่า 100 เมกะวัตต์ ยันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังประสานงานไปในทิศทางเดียวกัน จวก กรอ.อย่าจุ้น
นายชาญชัย บัณฑิตเสาว ภาคย์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) เปิดเผยถึงวิกฤติไฟฟ้าภาคใต้ที่จะเกิดขึ้นในเดือน มิ.ย.2557 ว่า จากการหารือระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ กฟภ. ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะกำหนดให้ประชาชนและภาคอุตสาหกรรมเฉพาะภาคใต้ร่วมกันลดใช้ไฟฟ้าเพียงช่วงเวลาเดียว คือ เวลา 18.30-21.00 น. ตลอด 28 วัน ระหว่างวันที่ 13 มิ.ย.-10 ก.ค.2557 ซึ่งเป็นช่วงปิดซ่อมแหล่งก๊าซธรรมชาติในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (เจดีเอ) จากเดิมที่กำหนดให้ช่วยลดใช้ไฟฟ้า 2 ช่วง คือ 13.00-15.00 น. และ 18.30-22.00 น.
ทั้งนี้ เนื่องจากได้ศึกษาแล้วพบว่า ความต้องการใช้ไฟ ฟ้าสูงสุด (พีก) ของภาคใต้ จะอยู่ช่วงค่ำเป็นหลัก และการลดใช้ไฟฟ้าช่วงดังกล่าว จะมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อการช่วยแก้วิกฤติไฟฟ้าภาคใต้ในครั้งนี้ โดยขณะนี้ได้เร่งลงพื้นที่ภาคใต้ขอความร่วมมือประชาชนลดใช้ไฟฟ้าแล้ว
"จากข้อเท็จจริงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อสรุปตรงกันว่าในช่วงที่ปิดซ่อมแหล่งเจ ดีเอ ปริมาณไฟฟ้าภาคใต้ยังขาด 250 เมกะวัตต์ แม้จะมีการ เตรียมสำรองไฟฟ้าจากทุกแหล่งแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงต้องการให้ ประชาชนลดใช้ไฟฟ้าให้ได้ 250 เมกะวัตต์ต่อวัน ในช่วงพีก 18.30-21.00 น.ของทุกวัน จนกว่าแหล่ง เจดีเอจะกลับมาจ่ายก๊าซได้ตามปกติ พร้อมยังเฝ้าระวังสภาพอากาศหากมีความร้อนเพิ่มขึ้น 1 องศา ความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้น 100 เมกะวัตต์" นายชาญชัยกล่าว
นายชาญชัยกล่าวว่า หาก ภาคประชาชนและอุตสาหกรรม ภาคใต้ไม่สามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้ถึง 250 เมกะวัตต์ ต้อง ขอไฟฟ้าจากภาคกลางเพิ่มเป็น 700 เมกะวัตต์ จากปกติที่ส่งเข้าระบบ 500 เมกะวัตต์ และหากไม่เพียงพอต้องการดับไฟ ฟ้าในจุดที่กำหนดไว้ 19 จุด โดยเวียนดับจุดละ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะ ลดใช้ไฟฟ้าลงได้จุดละ 50 เมกะ วัตต์ และจุดแรกที่กำหนดไว้เป็นพื้นที่ของชาวบ้าน ซึ่งไม่กระทบต่อโรงงานหรือสถานที่สำคัญ เช่น โรงพยาบาล โรงพัก แต่อย่างใด รวมทั้งจะไม่ดับไฟใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เด็ดขาด เพื่อป้องกันการก่อการร้าย
ส่วนกรณีที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ลงพื้นที่หารือ กับผู้ประกอบการ 14 จังหวัดภาคใต้ และสรุปว่าภาคอุตสาห กรรมไม่สามารถลดใช้ไฟฟ้าได้ตามเป้าหมาย 250 เมกะวัตต์นั้น เป็นเรื่องที่ กรอ.ลงไปตรวจสอบเอง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับหน่วย งานหลักที่ทำหน้าที่ดูแลวิกฤติไฟฟ้าภาคใต้ในครั้งนี้ โดยยืน ยันว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กฟภ. กฟผ. บมจ. ปตท. คณะ กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือเรกูเลเตอร์ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยังคงประสานข้อมูลกันอย่างต่อเนื่อง และกำหนดทิศทางการแก้ปัญหาไปในทิศ ทางเดียวกัน โดย ส.อ.ท.ยังมั่นใจว่าภาคอุตสาหกรรมยังสามารถช่วยลดใช้ไฟฟ้าได้ตามเป้าหมาย แต่หากไม่สามารถลดได้จริง ทาง กฟภ.ยังหวังการลดใช้ไฟฟ้าจากชาวบ้านภาคใต้ ซึ่งเป็นลูกค้าของ กฟภ. กว่า 2.7 ล้านราย ซึ่งหากทุกบ้านลดการใช้ไฟฟ้า 1 ดวงต่อครัวเรือน จะสามารถประหยัดไฟฟ้าลงได้กว่า 100 เมกะวัตต์แล้ว.