- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 26 December 2019 11:48
- Hits: 5247
พพ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ
นายวันชัย บรรลือสินธุ์ รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่พบปะและตรวจเยี่ยมการจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2562 ที่ได้อนุมัติหลักการเพื่อจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างฯ จำนวน 394 ราย วงเงิน 177,755,320 บาท
และเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2562 กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลการจ่ายเงินค่าชดเชยเป็นกรณีพิเศษแก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนลำปะทาว จังหวัดชัยภูมิ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและประชาชนในจังหวัดชัยภูมิ ตลอดจนผู้แทนจาก พพ. ร่วมเป็นคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการจ่ายเงินและจำนวนเงินค่าชดเชยให้ถูกต้องครบถ้วนตามบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิ และคณะกรรมการฯ ได้มีมติในที่ประชุมกำหนดให้จ่ายเงินแก่ประชาชนดังกล่าว ในระหว่างวันที่ 23 – 26 ธันวาคม 2562
โครงการไฟฟ้าพลังน้าห้วยประทาว พพ. ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการ ใน ปี 2531 เพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า และการชลประทาน ช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชน เกิดการใช้ประโยชน์จากการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังน้ำ กว่าปีละ 18.41 ล้านหน่วย ช่วยประหยัดเงินจากการนำเข้าพลังงานปีละ 25 ล้านบาท เกิดผลประโยชน์ด้านชลประทาน ที่สามารถส่งน้ำเพื่อการเกษตรกว่า 27,000 ไร่ ให้ชาวชัยภูมิ และพืนที่ใกล้เคียง ได้ใช้พลังงานสะอาด การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน และสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่ชุมชน
-การช่วยเหลือค่าครองชีพประชาชนด้านพลังงาน ซึ่งค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญของประชาชน จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า ค่าใช้จ่ายด้านพลังงานของครัวเรือนในประเทศไทยสูงถึงประมาณ 2,280 บาทต่อเดือน ซึ่งที่ผ่านมากระทรวงพลังงานได้ช่วยลดค่าครองชีพด้านพลังงาน ทั้งการตรึงราคาก๊าซหุงต้มขนาด 15 กิโลกรัมไว้ที่ 363 บาทต่อถัง ช่วยตรึงค่า Ft ช่วง 4 เดือนแรกของปีหน้า และการลดราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและกลุ่มดีเซลลิตรละ 1 บาทเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 26 ธ.ค. 62 - 10 ม.ค.63 เพื่อเป็นการส่งเสริมการเดินทางช่วงปีใหม่ ช่วยลดภาระค่าครองชีพ และเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ที่กระทรวงพลังงานมอบให้ประชาชน
-การสร้างบทบาทนำด้านพลังงานในเวทีนานาชาติ โดยปี 2562 ที่ผ่านมาไทยเป็นประธานอาเซียน และเป็นเจ้าภาพหลักในการประชุมขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยไทยมีภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางอาเซียนสามารถเป็นจุดเชื่อมโยงระบบฟ้าจากตะวันตกไปตะวันออก จากเหนือไปใต้เชื่อมระเบียงเศรษฐกิจ โดยการประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียนที่ผ่านมาเพิ่มกรอบการขายไฟฟ้าจาก สปป.ลาว ผ่านไทยไปยังมาเลเซียขึ้นอีกเป็น 300 เมกะวัตต์
-การสร้างรายได้เข้าสู่ภาครัฐ โดยปีงบประมาณ 2562 จัดเก็บรายได้จากกิจการปิโตรเลียมเข้าสู่ภาครัฐจำนวน 166,332 ล้านบาท ค่าภาคหลวง 45,555 ล้านบาท เงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษ 1,151 ล้านบาท รายได้จากองค์กรร่วมไทย-มาเลเซีย 12,688 ล้านบาท เป็นต้น
ทั้งนี้ ในปี 2563 ที่จะมาถึง กระทรวงพลังงานได้วางทิศทางการดำเนินการด้านพลังงานไว้ 3 ด้านหลักๆ คือ ด้านเศรษฐกิจฐานราก/การช่วยค่าครองชีพประชาชน จะเร่งผลักดันโรงไฟฟ้าชุมชนให้เกิดขึ้นภายในครึ่งปีแรก ขับเคลื่อนโครงการชุมชนผ่านกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน อาทิ สถานีพลังงานชุมชุน และที่เร่งด่วนคือ โครงการสูบน้ำเพื่อการเกษตรเพื่อสู้ภัยแล้ง การปรับโครงสร้างราคาน้ำมันและก๊าซให้มีความเป็นธรรม การส่งเสริมการใช้ B10 ให้กว้างขวาง และบริหารน้ำมันปาล์มดิบในภาคพลังงานอย่างเป็นระบบ
ด้านความเข้มแข็งทางพลังงาน จะทบทวนแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB) ให้พร้อมเข้าที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ภายในไตรมาสแรกของปีหน้า การเปิดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ การผลักดันการเจรจาพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา รวมถึงการส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้า(EV)และค่าไฟฟ้ารถ EV และรถไฟฟ้าสาธารณะ
ด้านบทบาทนำในภูมิภาค โดยกำหนดกรอบเพื่อการเป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค และมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง LNG ซึ่งคาดว่าจะสามารถเกิดการซื้อขายได้จริงภายในไตรมาสที่ 3 ของปีหน้า #EnergyForAll
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web