WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 29 ก.ย.- 3 ต.ค. 57 และ แนวโน้มสัปดาห์ที่ 6 - 10 ต.ค 57

      สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) ลดลง 2.60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 94.35 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) ลดลง 1.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 93.28 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) ลดลง 0.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 91.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 0.46 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 109.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดีเซลลดลง 1.82 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 107.55  เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่ส่งผลกระทบได้แก่ :

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ                                                                                           

·        Singapore Commercial Credit Bureau (สำนักงานความเชื่อมั่นเชิงพาณิชย์ของสิงคโปร์) เปิดเผยว่า ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมืองที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลกส่งผลให้การเติบโตของเศรษฐกิจโลกเกือบหยุดชะงัก และกระทบต่อความเชื่อมั่นทางธุรกิจในสิงคโปร์ ทำให้ Business Optimism Index (BOI) ในไตรมาสที่ 4/57 ลดลงจากไตรมาสก่อน 3.95% อยู่ที่ 10.7% แตะระดับต่ำสุดในรอบ 12 เดือน

·     National Bureau of Statistics ของจีนรายงานกำไรของบริษัทด้านอุตสาหกรรม (Industrial Profit) ในจีนเดือน ส.ค. 57 ลดลงจากปีก่อน 0.6%  ซึ่งเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 2 ปี (ในเดือน ก.ค. 57 ผลกำไรเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 13.5%)  การลดลงของผลกำไรเกิดจากอุปสงค์ที่อ่อนแอ  ขณะที่ยอดส่งออกของจีนในแต่ละเดือน ปรับขึ้น/ลงอย่างไร้ทิศทาง ส่วนภาคอสังหาริมทรัพย์ซบเซาและการลงทุนจากต่างประเทศลดลง

·     ผลสำรวจของ Bloomberg เผยกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มประเทศ OPEC เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบปี เพิ่มขึ้น 420,000 บาร์เรลต่อวัน จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับ 30.94 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งปริมาณที่เพิ่มขึ้นมาจากกำลังผลิตของประเทศลิเบียที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 780,000 บาร์เรล หลังจากแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara  กำลังการผลิต 340,000 ต่อวัน ของลิเบียกลับมาดำเนินการ

·     โรงกลั่นของเกาหลีใต้สนใจนำเข้า condensate หรือน้ำมันดิบชนิด Ultra light oil จากสหรัฐฯ เพิ่มเติม หลังบริษัท GS-Caltex Corp นำเข้า Condensate กลั่นเที่ยวแรกเดือนก่อน และให้ผลตอบแทนการกลั่นที่น่าพึงพอใจโดยส่งผลให้บริษัท SK Energy มีแนวโน้มจะนำเข้าในเร็วนี้ เนื่องจากภาวะค่าการกลั่นตกต่ำที่โรงกลั่นในเอเชียและจึงทำให้ต้องลดอัตราการกลั่นและ Diversify แหล่งจัดหาน้ำมันดิบเข้ามากลั่น ทั้งนี้ในเดือน ม.ค.-ส.ค. 57 เกาหลีใต้นำเข้าน้ำมันดิบรวม 2.55 ล้านบาร์เรลต่อวัน  เพิ่มขึ้น 0.2%  จากปีก่อน ซึ่งเป็นน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางเป็นสัดส่วน 84%ของการนำเข้าน้ำมันดิบทั้งหมด

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

·     กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ รายงานอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ในช่วงไตรมาสที่ 2/57 อยู่ที่ระดับจากปีก่อน  4.6%  เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ระดับ 4.2% ตรงตามที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Bloomberg คาดการณ์ และเป็น GDP ต่อไตรมาสที่สูงที่สุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 4/54

·     การเมืองโลกยังคงตึงเครียดกลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State) หรือ IS รุกคืบหน้าเข้ามาใกล้ชายแดนตุรกี กดดันให้ตุรกีเพิ่มบทบาทในความร่วมมือกับกลุ่มประเทศพันธมิตร โดยรัฐสภาตุรกีอนุมัติขยายอำนาจรัฐบาลใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อกำจัดการรุกรานโจมตีจาก IS ส่งสัญญาณว่าตุรกีจะส่งกำลังทหารเข้าไปในอิรักและซีเรีย และยินยอมให้กลุ่มประเทศพันธมิตรใช้ฐานทัพของตน

·     กระทรวงน้ำมันของอิหร่านออกมาเรียกร้องให้ OPEC ลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบเพื่อรับมือกับภาวะราคาน้ำมันดิบตกต่ำในปัจจุบัน ขณะที่ ประเทศสมาชิก OPEC รายอื่น โดยเฉพาะซาอุดีอาระเบียยังไม่มีทีท่าจะปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว

แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ

     ราคาน้ำมันดิบยังคงปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ $92.31/BBL สืบเนื่องจากค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่แข็งค่า และอุปทานน้ำมันดิบที่ยังคงล้นตลาดโลก และอนึ่งภาวะราคาน้ำมันตกต่ำส่งผลกระทบกับประเทศผู้ผลิตทั้ง กลุ่ม OPEC และ Non-OPEC  กล่าวคือสมาชิก OPEC สายอิหร่านต้องการให้กลุ่มลดเพดานการผลิตลง ขณะที่ประเทศซาอุดีอาระเบีย การ์ต้าและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลง เนื่องด้วยแต่ละประเทศมีราคาน้ำมันดิบที่กำหนดไว้ เพื่อให้ประเทศมีงบประมาณสมดุล (Break-Even Budget) โดยอิหร่านมีงบประมาณสมดุลที่ระดับ $130 /BBL  ซาอุดีอาระเบียที่ ที่ระดับ $90/BBL และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ระดับ $70/BBL สำหรับประเทศ Non-OPEC ผู้ผลิตรายใหญ่คือสหรัฐฯโดย Deutsche Bank ประมาณการณ์ว่าสหรัฐฯ จะลดกำลังการผลิต Shale Oil ประมาณ 9% ของกำลังการผลิตทั้งหมด หากราคาน้ำมันดิบโลกลดสู่ระดับ$ 90/BBL และจะลดลงกำลังการผลิต 39% หากราคาลดอยู่ที่ $80/BBL ส่วนรัสเซียอาจจะประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ หากราคาน้ำมันทรงตัวที่ $80/BBL เป็นเวลา 2-3 เดือน ล่าสุด Goldman Sachs ประมาณการณ์ราคาน้ำมันดิบ Brent ระยะปานกลาง(2-3 เดือน) ที่ $90/BBL และในระยะ 1 ปีที่ $100/BBL อย่างไรก็ตามยังคงไม่มีข่าวคราวจากกลุ่ม OPEC ในเรื่องการปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ซึ่งอิหร่าน หนึ่งในกลุ่ม OPEC ได้เคยออกความคิดเห็นการปรับลดแล้วก็ตาม กระทรวงพลังงานรัสเซียรายงานว่าอัตราการผลิตน้ำมันดิบใน ก.ย 57 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.9% มาอยู่ที่ 10.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน ถึงแม้จะมีมาตรการคว่ำบาตรจากทางสหรัฐฯ และยุโรปก็ตาม มาตรการคว่ำบาตรทางพลังงานของสหรัฐฯ บังคับให้บริษัทจากประเทศตะวันตกยกเลิกโครงการที่เกี่ยวข้องกับบริษัทพลังงานในรัสเซีย ส่งผลให้บริษัท Shell หยุดโครงการขุดเจาะน้ำมัน Shale ในแหล่งผลิตน้ำมันดิบ Bazhenov Formation ในทางตะวันตกของไซบีเรีย ซึ่งเป็นโครงการที่ซับซ้อนทำให้ยากที่กลับมาเริ่มดำเนินการต่ออีกครั้ง อนึ่ง EIA ได้คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมัน Shale ในแหล่งดังกล่าว ไว้ที่ 75,000 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้ทางเทคนิคราคาน้ำมันดิบ Brent ,WTI และ ดูไบ สัปดาห์นี้เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ $91.55 - 95.41/BBL , $88.98-92.84/BBL  และ$ 90.55 - 94.55 BBL  ตามลำดับ

สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน

           สัปดาห์ที่ผ่านมาราคาน้ำมันเบนซินปรับลดลงจาก กระทรวงเศรษฐกิจการค้า และอุตสาหกรรม (METI) ของญี่ปุ่นรายงานยอดขายน้ำมันเบนซินลดลงจากปีก่อน  3.5% อยู่ที่ระดับ 548,000 บาร์เรลต่อวัน เนื่องจากพายุไต้ฝุ่นเข้าช่วงเดือน ก.ค.-ส.ค. 57 ที่ผ่านมา ในขณะที่ PJK International B.V. รายงานปริมาณสำรอง Gasoline เชิงพาณิชย์ในยุโรป บริเวณ Amsterdam-Rotterdam-Antwerp (ARA) ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย. 57 เพิ่มขึ้น  400,000 บาร์เรล หรือ 7.9 % จากสัปดาห์ก่อน อยู่ที่ 5.5 ล้านบาร์เรลอย่างไรก็ตามอุปสงค์น้ำมันเบนซินจากภูมิภาคแอฟริกาตะวันตกแข็งแกร่ง โดยนำเข้า Gasoline จากตลาดยุโรปตะวันตกเฉียงหนือ (NWE) ในเดือน ก.ย. 57 ปริมาณกว่า 8.5 ล้านบาร์เรลและคณะกรรมาธิการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission – NDRC) ของจีน ปรับลดราคาขายปลีกเบนซินลง 0.07 หยวนต่อลิตร (0.01 USD/litre) มีผลบังคับใช้วันที่ 30 ก.ย. 57 และ Platts รายงานว่าบรรดาโรงกลั่นน้ำมันในบริเวณ Gulf Coast และ Atlantic Coast ของสหรัฐฯ ตลอดจนฝั่งตะวันออกของแคนาดารวมถึงในยุโรปต่างเริ่มปิดซ่อมบำรุงและซ่อมแซม ส่งผลให้อุปทาน Mogas ในตะวันตกลดลง ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซินจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 106.28-110.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล

           ราคาน้ำมันเบนซินสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงจาก Platts ประเมินว่าาอินโดนีเซียจะไม่เข้าซื้อน้ำมันดีเซลในตลาดจรสำหรับเดือน ต.ค. 57 เนื่องจาก มีกำหนดนำเข้าแบบเทอมน้ำมัน เบนซิน 0.35% S ปริมาณ 2 ล้านบาร์เรล ในเดือน ต.ค. 57 มีแนวโน้มรองรับอุปสงค์ในประเทศที่กำลังซบเซาได้ แม้ว่าโรงกลั่นน้ำมัน Cilacap (ขนาด 350,000 บาร์เรลต่อวัน) มีแผนปิดซ่อมบำรุงช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. 57 และ Platts รายงานอุปสงค์น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ (ULSD) ของออสเตรเลียต่ำกว่าที่คาด เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ แม้ว่าโรงกลั่นน้ำมันหลายโรงปิดซ่อมบำรุงตลอดจนปิดตัว อีกทั้งยังอยู่ในช่วงฤดูขับขี่ท่องเที่ยว (ใช้เครื่องยนต์ Diesel เป็นหลัก) อย่างไรก็ตาม นาย Alias Ahmad รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าภายใน สหกรณ์ และการคุ้มครองผู้บริโภคของมาเลเซีย เปิดเผยว่ารัฐบาลมาเลเซียมีความเป็นไปได้ที่จะลดการอุดหนุนราคาขายปลีก Diesel ในเดือน ม.ค. 58 และ PJK รายงานปริมาณสำรอง Gas Oil เชิงพาณิชย์ในยุโรป บริเวณ ARA ในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 25 ก.ย. 57 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน  400,000 บาร์เรล หรือ 1.9 % อยู่ที่ 20.5 ล้านบาร์เรล ในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซลจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 103.11-107.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!