WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL29ราคาน้ำมันดิบคาดทรงตัวในระดับสูง จากแนวโน้มอุปทานตึงตัว

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 9 เมษายน 2562

               

ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 60 - 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 67 - 72 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                                                                                                                               

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (8 – 12 เม.ย. 62)

                ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง จากแรงหนุนของอุปทานน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบตั้งแต่ช่วงต้นปี 2562 ประกอบกับสหรัฐฯ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะลดระดับมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลา นอกจากนี้ สถานการณ์ความคืบหน้าสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มที่จะดำเนินไปได้ด้วยดี ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจและความต้องการใช้น้ำมันโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากอุปทานน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปก 11 ประเทศ (ไม่รวมอิหร่าน เวเนซุเอลา และลิเบีย) ในเดือน มี.ค. 62 ปรับลดลงราว 1.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการผลิตในเดือน ต.ค. 61 คิดเป็นร้อยละ 135 ของปริมาณที่ได้ตกลงไว้ ซึ่งการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบมากกว่าข้อตกลงในครั้งนี้ เป็นผลมาจากการที่ประเทศซาอุดิอาระเบียปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในปริมาณที่สูงมาก โดยกำลังการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือน มี.ค. 62 อยู่ที่ราว 9.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าปริมาณการผลิตที่ซาอุดิอาระเบียตกลงไว้กับกลุ่มโอเปกที่ระดับ 10.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ตลาดน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงหนุนจากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่อเวเนซุเอลาและอิหร่าน ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบจากทั้งสองประเทศปรับตัวลดลง โดยล่าสุด สหรัฐฯ ออกมาห้ามประเทศต่างๆ ทำการซื้อขายน้ำมันกับเวเนซุเอลา และมีแนวโน้มที่จะทำการคว่ำบาตรประเทศที่ฝ่าฝืน นอกจากนี้ สหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะเพิ่มระดับมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านรอบใหม่ ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังวันที่ 2 พ.ค. 62 ด้วยการไม่ขยายช่วงเวลาการผ่อนปรนมตราการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบอิหร่านให้กับบางประเทศ

ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันดิบอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด กำลังการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 12.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับอัตราการกลั่นน้ำมันดิบในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าราวร้อยละ 0.2 มาอยู่ที่ร้อยละ 86 เนื่องจากการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปีในประเทศ ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 29 มี.ค. 62 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 7.2 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 450 ล้านบาร์เรล

ติดตามสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนมีแนวโน้มคลี่คลาย หลังการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีนล่าสุด ณ กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐฯ ดำเนินไปด้วยดี โดยการเจรจาครั้งนี้จะดำเนินต่อไปในสัปดาห์หน้า และจะกล่าวถึงประเด็นที่สำคัญเพื่อให้ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายกรัฐมนตรีจีน นายสี เจี้ยนผิง ลงนามข้อตกลงร่วมกัน

ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ อัตราดอกเบี้ยยูโรโซน ดัชนีราคาผู้บริโภคจีน ดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐฯ และดัชนีความอ่อนไหวของประชากรสหรัฐฯ

 

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 – 5 เม.ย. 62)

     ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 63.08 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 1.95 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 70.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 68.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกที่ปรับตัวลดลงแตะระดับ 30.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำสุดในรอบ 4 ปี ประกอบกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียยังคงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในเดือน มี.ค. 62 ปรับลดจากระดับการผลิตในเดือน ต.ค. 61 ราว 112,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ระดับ 11.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งการปรับลดนี้คิดเป็นร้อยละ 49 ของปริมาณที่รัสเซียได้ตกลงไว้กับกลุ่มโอเปก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากกำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มราว 100,000 บาร์เรลต่อวัน แตะระดับสูงสุดที่ 12.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 7.2 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดราว 425,000 บาร์เรล

1

2

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!