WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL44ราคาน้ำมันดิบคาดทรงตัวในระดับสูง หลังอุปทานปรับลด แต่ยังถูกกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 1 เมษายน 2562

               

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 57 - 62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

       ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 65 - 70 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล                                               

                                                                                                                                                                                               

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (1 – 5 เม.ย. 62)

       ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัวในระดับสูง จากการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก ประกอบกับ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านและเวเนซุเอลาที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น เนื่องจากโรงกลั่นในสหรัฐฯ บางแห่งอยู่ในช่วงปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล โดยนักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจโลก หลังสถานการณ์การแยกตัวของอังกฤษออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน

 

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

       อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง จากการที่กลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบลงอย่างต่อเนื่อง โดยคาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียในเดือน มี.ค. และเม.ย. 62 จะปรับตัวลงต่ำกว่าระดับ 10 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณการผลิตที่ต่ำกว่าที่ซาอุดิอาระเบียได้ทำข้อตกลงไว้ในการประชุมกลุ่มโอเปกครั้งที่ผ่านมาที่ระดับ 10.31 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่รัสเซียปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในช่วงเดือน มี.ค. 62 ลงราว 40,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อให้ปริมาณการผลิตของรัสเซียเป็นไปตามข้อตกลงที่ทำร่วมกันกับกลุ่มโอเปก นอกจากนี้ การส่งออกน้ำมันดิบจากเวเนซุเอลาปรับตัวลดลง หลังประสบปัญหาไฟฟ้าขัดข้องทั่วประเทศอีกครั้งในช่วงวันที่ 25 มี.ค. 62 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ในเดือน มี.ค. นับจากที่เกิดเหตุการณ์ไปเมื่อวันที่ 7 มี.ค. 62

      อุปทานน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ เนื่องจาก สหรัฐฯ มีแผนขยายช่วงเวลาการผ่อนผันมาตรการคว่ำบาตรการส่งออกน้ำมันดิบอิหร่าน ซึ่งจะสิ้นสุดในช่วงต้นเดือน พ.ค. 62 เพื่อป้องกันไม่ให้ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มสูงขึ้นเกินไป อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดิบจากอิหร่านที่แต่ละประเทศสามารถนำเข้าได้อาจน้อยกว่าปริมาณที่ได้รับการผ่อนปรนในครั้งที่ผ่านมา

       ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีโอกาสปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น หลังตัวเลขปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 22 มี.ค. 62 ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรล ไปอยู่ที่ระดับ 442.3 ล้านบาร์เรล สวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับตัวลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล เนื่องจากโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ บางส่วนหยุดดำเนินการผลิตในช่วงปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นประจำปี ซึ่งกำลังการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ประกอบกับ สหรัฐฯ ส่งออกน้ำมันดิบลดลงไปสู่ระดับ 2.89 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังจากประสบปัญหาท่าขนส่งน้ำมัน Houston เกิดเหตุเพลิงไหม้บริเวณถังบรรจุผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา

       ติดตามสถานการณ์ Brexit หลังรัฐสภาอังกฤษลงมติคัดค้านทางเลือกทั้งหมดเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit ของนายกรัฐมนตรีเทเรซา เมย์ โดยสมาชิกรัฐสภาอังกฤษได้ลงมติให้เปลี่ยนช่วงเวลา Brexit เป็นวันที่ 12 เม.ย. 62 หรือ 22 พ.ค. 62 โดยให้มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมาย และให้ยกเลิกกำหนดการ Brexit เดิมที่เคยระบุไว้ว่าเป็นวันที่ 29 มี.ค. 62

       ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตจีน ดัชนีราคาผู้บริโภคยูโรโซน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ และรายได้นอกภาคการเกษตรสหรัฐฯ

 

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (25 – 29 มี.ค. 62)

       ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 1.10 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 60.14 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับเพิ่มขึ้น 1.36 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 68.39 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 67.15 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในช่วงวันที่ 1 - 26 มี.ค. 62 ที่ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 11.30 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับสถานการณ์ไฟฟ้าดับทั่วประเทศในเวเนซุเอลาตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 62 ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบปรับตัวลดลง

      อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวสูงขึ้นสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ หลังสหรัฐฯ มีปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบลดลงจากปัญหาเพลิงไหม้ถังบรรจุผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและสารเคมีรั่วไหลบริเวณท่าเรือขนส่ง Houston ตั้งแต่สัปดาห์ก่อน นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังถูกกดดันจากความกังวลของนักลงทุนต่อปัจจัยด้านเศรษฐกิจของสหรัฐฯ หลังส่วนต่างของอัตราผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ระยะยาว 10 ปี เทียบกับระยะสั้น 3 เดือน ติดลบเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอย

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!