WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL51ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ต่ำกว่าคาด กดดันราคาน้ำมันดิบ

- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับลดลง เนื่องจากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์ ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่อาจจะเติบโตช้าลงและการขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันดิบที่อาจปรับตัวลดลง โดยตัวเลขการขยายตัวการจ้างงานของสหรัฐฯ ในเดือน ก.พ. 62 ปรับเพิ่มขึ้นเพียง 20,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ย. 60 และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 180,000 ตำแหน่ง นับว่าเป็นสัญญาณการเติบโตของเศรษฐกิจที่ช้ามากในไตรมาสแรกของปี

- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจในยูโรโซนลงมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.1 ซึ่งลดลงจากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือน ธ.ค. 61 ที่ระดับร้อยละ 1.7 รวมถึงออกมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนกังวลว่าสภาพเศรษฐกิจโลกอาจจะอ่อนแอลงมากยิ่งขึ้น

+/- ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังผลิตน้ำมันดิบลงจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก โดยซาอุดิอาระเบียได้ปรับลดการผลิตน้ำมันดิบเดือน ก.พ. 61 ลงมาอยู่ที่ระดับ 10.136 ล้านบาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม กำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ได้ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ล้านบาร์เรลตั้งแต่ต้นปี 2561 ที่ผ่านมา มาอยู่ที่ระดับ 12.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้สหรัฐฯ ขึ้นแท่นเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก

+ Baker Hughes รายงานจำนวนแท่นขุนเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ ณ วันที่ 8 มี.ค. 61 ปรับลดลง 9 แท่น มาอยู่ที่ระดับ 834 แท่น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ค. 61 ที่ผ่านมา

ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินยังคงตึงตัวมากขึ้นหลังโรงกลั่นน้ำมันปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล

ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากมีอุปสงค์น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากประเทศอินเดีย รวมถึงอุปทานน้ำมันดีเซลอยู่ในระดับที่สมดุลกับความต้องการ

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 54-59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 63-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

     อุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังโอเปกและพันธมิตรร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุด กำลังการผลิตของกลุ่มโอเปกปรับลดลงมาอยู่ที่ 30.68 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2558 ประกอบกับ รัสเซียเตรียมที่จะปรับลดกำลังการผลิตในเดือน มี.ค. 62 ลงราว 228,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับกำลังการผลิตในเดือน ต.ค. 61

     จับตาผลสรุปของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน หลังการเจรจาระหว่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ และนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาดำเนินไปด้วยดี โดยทั้งสองประเทศจะมีการประชุมอย่างเป็นทางการในวันที่ 27 มี.ค. นี้ ซึ่งหากสงครามการค้ายุติลง เศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันโลกจะมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นได้

     ติดตามการตัดสินใจของโอเปกและพันธมิตรเกี่ยวกับทิศทางในการปรับลดกำลังการผลิต หลังคาดว่าจะไม่มีการขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตในการประชุมเดือน เม.ย. 62 อย่างไรก็ตาม คาดว่าการตัดสินใจดังกล่าวจะมีข้อสรุปในการประชุมครั้งถัดไปในเดือน มิ.ย. 62

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!