- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 21 February 2019 20:55
- Hits: 3034
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับขึ้น หลังทรัมป์เลื่อนเส้นตายเจรจาการค้ากับจีน
+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เปิดเผยว่าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนกำลังดำเนินการไปได้ด้วยดี และจะมีการเลื่อนกำหนดเส้นตายในการบรรลุข้อตกลงกับจีน โดยแผนการเดิมได้กำหนดว่าสหรัฐฯ จะเพิ่มอัตราภาษีสินค้านำเข้าจากจีนมูลค่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ จากร้อยละ 10 เป็น 25 หากทั้งสองฝ่ายไม่บรรลุข้อตกลงภายในวันที่ 1 มี.ค. 62
+ กลุ่มโอเปกและประเทศพันธมิตรเปิดเผยตัวเลขการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. 62 อยู่ที่ร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับข้อตกลงที่ทำร่วมกันในการประชุมโอเปกครั้งที่ผ่านมาในการปรับลดกำลังผลิตลง 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
+ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานซาอุดิอาระเบียเชื่อมั่นว่าตลาดน้ำมันดิบจะเข้าสู่ภาวะสมดุลในเดือน เม.ย. 62 จากอุปทานที่ปรับตัวลดลง หลังสหรัฐฯ มีมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่านและเวเนซุเอลา
- อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ จะปรับตัวเพิ่มขึ้น 3.1 ล้านบาร์เรล ไปอยู่ที่ระดับ 450.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งจะนับเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 5 สัปดาห์ติดต่อกัน และแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 60
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่ากำลังการผลิตน้ำมันดิบจากชั้นหินดินดาน (shale oil) ในสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น 84,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน มี.ค. 62 ไปแตะระดับสูงสุดที่ 8.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังญี่ปุ่นส่งออกน้ำมันเบนซินเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 739.3 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ประกอบกับปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังในภูมิภาคยังอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังในญี่ปุ่นปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากการส่งออกน้ำมันดีเซลที่ลดลงจากประเทศอินเดีย
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 52-58 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 62-68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ติดตามผลการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก หลังประกาศร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับในเดือนต.ค. 61 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบโลก โดยในเดือนก.พ. 62 ผู้ผลิตน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับลดลงกำลังการผลิตมากขึ้น
จับตาการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่สหรัฐฯ จะมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ากว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ราวร้อยละ 25 ในเดือนมี.ค. 62 โดยล่าสุดในการประชุมเจรจาการค้าวันที่ 14-15 ก.พ. ที่ผ่านมา ระหว่างนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีนกับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง ส่งสัญญานเชิงบวก
สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เผยว่าตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาดในปี 62 แม้ว่ากลุ่มโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิต และสหรัฐฯ จะประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน และเวเนซุเอลา เนื่องจาก IEA คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกจะปรับเพิ่มขึ้นราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยการผลิตจากสหรัฐฯ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันโลกคาดว่าจะเติบโตที่ราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน
Click Donate Support Web