WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OPECราคาน้ำมันดิบทรงตัว ท่ามกลางการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก

บทวิเคราะห์สถานการณ์น้ำมันประจำสัปดาห์ โดย บมจ.ไทยออยล์: ฉบับวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2562

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 51 - 56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 60 - 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล                                                                    

                                                           

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (18 – 22 ก.พ. 62)

      ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มทรงตัว โดยได้รับแรงหนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในช่วงครึ่งปีแรกของปี 62 ประกอบกับ การเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ที่มีแนวโน้มที่จะบรรลุข้อตกลง และหากการเจรจาสำเร็จจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันยังคงได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของประเทศนอกกลุ่มโอเปก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงระยะสั้นนี้ เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันดิบในประเทศปรับตัวลดลงในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น

 

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

         ติดตามผลการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก หลังประกาศร่วมมือกันปรับลดกำลังการผลิตลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับในเดือนต.ค. 61 เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดิบโลก โดยในเดือนก.พ. 62 ผู้ผลิตน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับลดลงกำลังการผลิตมากขึ้นเช่น ซาอุดิอาระเบีย ซึ่งเป็นประเทศที่ผลิตน้ำมันดิบมากที่สุดในกลุ่มโอเปก วางแผนผลิตน้ำมันดิบราว 9.8 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมี.ค. 62 ซึ่งเป็นการปรับลดมากกว่าที่ตกลงไว้ และคาดว่าจะปรับลดการส่งออกน้ำมันดิบเหลือ 6.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในขณะที่ รัสเซียเร่งลดกำลังการผลิตในช่วงต้นเดือนก.พ. นี้ โดยในช่วง 12 วันแรกของเดือนก.พ. รัสเซียผลิตน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 11.34 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งน้อยกว่าระดับอ้างอิงราว 70,000 บาร์เรลต่อวัน

         จับตาการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยสหรัฐฯ จะมีการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนมูลค่ากว่า 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ ราวร้อยละ 25 ในเดือนมี.ค. 62 โดยล่าสุดในการประชุมเจรจาการค้าวันที่ 14-15 ก.พ. ที่ผ่านมา ระหว่างนายหลิว เหอ รองนายกรัฐมนตรีจีนกับนายสตีเวน มนูชิน รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ และนายโรเบิร์ต ไลท์ไฮเซอร์ ผู้แทนการค้าสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง ส่งสัญญานเชิงบวก นอกจากนื้ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ยังเผยอีกว่าอาจมีขยายเวลาการเจรจาเกี่ยวกับสงครามการค้าออกจากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 1 มี.ค. 62

         สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เผยว่าตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มอยู่ในภาวะอุปทานล้นตลาดในปี 62 แม้ว่ากลุ่มโอเปกจะปรับลดกำลังการผลิต และสหรัฐฯ จะประกาศคว่ำบาตรอิหร่าน และเวเนซุเอลา เนื่องจาก IEA คาดการณ์ว่ากำลังการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปกจะปรับเพิ่มขึ้นราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน นำโดยการผลิตจากสหรัฐฯ ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันโลกคาดว่าจะเติบโตที่ราว 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน

         ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ อยู่ในช่วงการปิดซ่อมบำรุง ทำให้ต้องปรับลดอัตราการกลั่นลง โดยล่าสุดสำนักสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.พ. 62 ปรับเพิ่มขึ้นราว 3.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ระดับ 450.8 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้น 4 สัปดาห์ติดต่อกัน นอกจากนี้ EIA ยังรายงานอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ปรับลดลงราวร้อยละ 4.8 มาอยู่ที่ร้อยละ 85.9

         ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 4/62 ยูโรโซน ยอดค้าปลีกสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้ผลิตสหรัฐฯ ดัชนีราคาผู้ผลิตจีน และดัชนีราคาผู้บริโภคจีน

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (11 - 15 ก.พ. 62)

     ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับเพิ่มขึ้น 2.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 55.59 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 2.54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 66.25 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 65 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกเดินหน้าปรับลดกำลังการผลิต ส่งผลให้อุปทานน้ำมันดิบโลกปรับตัวลดลง ขณะที่ลิเบียยังเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบซึ่งทำให้จำเป็นต้องหยุดดำเนินการแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ อย่างแหล่งผลิต El Sharara กำลังการผลิตราว 300,000 บาร์เรลต่อวัน

     นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากการเจรจาสงครามการค้ารอบใหม่ระหว่างสหรัฐฯ และจีน ซึ่งหากการเจรจาทำให้สงครามการค้าระหว่างสองประเทศยุติลงจะส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโลก และความต้องการใช้น้ำมันโลก อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 60 ประกอบกับ ปริมาณน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ก็ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!