- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Monday, 14 January 2019 19:40
- Hits: 1336
แนวโน้มการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนเป็นบวก หนุนราคาน้ำมันดิบขยับขึ้นต่อ
+/- ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 9 ม.ค. 2562 ที่มีทิศทางบวก อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงไม่มั่นใจเนื่องจากยังขาดรายละเอียดที่ชัดเจนจากผลการประชุมดังกล่าว
- ตลาดมีความกังวลหลังรายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของจีนในเดือน ธ.ค. 61 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียง 1.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของจีนในเดือน ธ.ค. 61 ปรับเพิ่มเพียง 0.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อนหน้า โดยปรับลดลงจากเดือน พ.ย. 61 และต่ำกว่าคาดการณ์ สะท้อนถึงภาวะเงินเฟ้อของจีนที่ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง
- สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 4 ม.ค. 2562 ปรับลดลง 1.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับลดลง 2.8 ล้านบาร์เรล และปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮม่าปรับเพิ่มขึ้น 330,000 บาร์เรล ทางด้านปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 8.1 ล้านบาร์เรล ส่วนปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 10.6 ล้านบาร์เรล
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังถูกกดดันจากภาวะอุปทานล้นตลาด โดยปริมาณน้ำมันเบนซินคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังอุปทานในภูมิภาคยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์เพิ่มเติมจากประเทศอินโดนีเซีย
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้า
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 57-62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ราคาน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังการเจรจาระหว่างสหรัฐฯ และจีน เพื่อหาข้อสรุปของข้อพิพาทการค้าระหว่างสองประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-9 ม.ค. 62 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน ส่งสัญญาณดีต่อตลาด เนื่องจาก นักลงทุนคลายความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้าระหว่างสองประเทศมหาอำนาจ
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของซาอุดิอาระเบียมีแนวโน้มปรับลดลง โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากซาอุดิอาระเบียในเดือน ก.พ. 62 จะอยู่ที่ระดับ 7.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลงจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบในเดือน ม.ค. 62 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 7.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดปรับเพิ่มขึ้น จากอัตราการกลั่นของโรงกลั่นในสหรัฐฯ ที่ปรับตัวลดลง สวนทางกับกำลังการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ซึ่งกลับมาอยู่ที่ระดับสูงสุดในประวัติการณ์ หรือ 11.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน
Click Donate Support Web