- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 04 January 2019 16:40
- Hits: 8306
เวสต์เท็กซัส และเบรนท์ปรับขึ้นกว่าร้อยละ 2 หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปิดบวกหนุนภาวะการซื้อขาย
+ ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสและเบรนท์ปรับตัวขึ้นกว่าร้อยละ 2 โดยได้รับแรงหนุนจากตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่สามารถปิดในแดนบวกได้แม้เปิดทำการซื้อขายติดลบกว่า 267 จุด อย่างไรก็ตาม ตลาดยังคงมีความกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันดิบที่มีแนวโน้มอ่อนแอจากสภาวะเศรษฐกิจที่ดูไม่สดใส
- กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ยังคงมีทิศทางอ่อนแอลง โดยดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ หรือ Purchasing Manager Index (PMI) ของจีนในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ที่ระดับ 49.4 ต่ำกว่าระดับ 50.0 ซึ่งนับเป็นจุดแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัวทางเศรษฐกิจ ดัชนีดังกล่าวหดตัวเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ก.ค. 59 หรือคิดเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี ในขณะเดียวกัน ดัชนี PMI ของยูโรโซนปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน มาอยู่ที่ 51.4 ในเดือน ธ.ค. 61 นับเป็นระดับต่ำสุดตั้งแต่เดือน ก.พ. 59
- อุปทานน้ำมันดิบโลกยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ แตะระดับ 11.6 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 61 ส่งผลให้สหรัฐฯ กลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดในโลกแทนซาอุดิอาระเบียหรือรัสเซีย ในขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียแตะระดับเฉลี่ย 11.16 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 61
+ อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังคงมีมุมมองที่สดใสต่อสมดุลตลาดน้ำมันดิบในช่วงไตรมาส 1 ของปี 62 หลังผู้ผลิตน้ำมันดิบโอเปกและนอกโอเปกสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบได้ในการประชุมเดือน ธ.ค. 61
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยตลาดได้รับแรงหนุนหลังจีนเผยตัวเลขอุปสงค์น้ำมันเบนซินเดือน พ.ย. 61 ปรับขึ้นกว่าร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดยังคงถูกกดดันจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยภาพรวมตลาดถูกกดันจากอุปทานในภูมิภาคที่ยังคงอยู่ในระดับสูงหลังอินเดียส่งออกเพิ่มขึ้น ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลัง ณ ประเทศสิงคโปร์ยังคงอยู่ในระดับสูงเช่นเดียวกัน
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 44-48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 52-56 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
นักลงทุนยังคงกังวลเกี่ยวกับการขยายตัวของอุปสงค์น้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลดลง จากแนวโน้มการเติบโตเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หลังเศรษฐกิจจีนและยุโรปค่อนข้างซบเซา ในขณะที่การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มชะลอตัวลง หลังธนาคารกลาง (เฟด) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย
ติดตามสถานการณ์การกลับมาดำเนินการของแหล่งผลิตน้ำมันดิบ El Sharara ซึ่งเป็นแหล่งน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของลิเบีย หลังนายกรัฐมนตรีลิเบียเดินทางไปพบกับกลุ่มกองกำลังติดอาวุธเพื่อคลี่คลายสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม บริษัทน้ำมันแห่งชาติของลิเบีย (NOC) ยังไม่ประกาศยกเลิกการหยุดผลิตน้ำมันดิบ เนื่องจากรอเพิ่มมาตรการรักษาความปลอดภัยให้รัดกุมมากขึ้น
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังโรงกลั่นดำเนินการด้วยอัตราการกลั่นที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับอุปทานน้ำมันดีเซลและอากาศยานมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในช่วงฤดูหนาว
Click Donate Support Web