- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Friday, 21 December 2018 11:33
- Hits: 7200
ราคาน้ำมันดิบปรับเพิ่ม หลังอุปสงค์น้ำมันดีเซลและอากาศยานสหรัฐฯ อยู่ในระดับสูง
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดีเซลและอากาศยานคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 4.2 ล้านบาร์เรล ซึ่งสวนทางกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 573,000 บาร์เรล โดยอุปสงค์ของน้ำมันดีเซลและอากาศยานปรับตัวสูงขึ้น สู่ระดับสูงสุดตั้งแต่ ม.ค. 46
+/- ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับตัวลดลง 497,000 บาร์เรล ซึ่งน้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ว่าจะลดลงถึง 2.4 ล้านบาร์เรล โดยปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ได้ปรับตัวลดลงเป็นสัปดาห์ที่สามติดต่อกันแล้ว
- อย่างไรก็ตาม ตลาดน้ำมันดิบยังคงถูกกดดัน หลังธนาคารกลาง (เฟด) ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 2.5 ส่งผลให้ค่าเงินสหรัฐฯ แข็งค่าขึ้น ซึ่งอาจชะลอการเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความต้องการใช้น้ำมันลง
- ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากผู้ผลิตรายใหญ่ ประกอบด้วย สหรัฐฯ รัสเซีย และซาอุดิอาระเบีย อยู่ในระดับใกล้เคียงปริมาณการผลิตสูงสุดของแต่ละประเทศ โดยกำลังการผลิตของรัสเซียในเดือน ธ.ค. 61 อยู่ในระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 11.42 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าสถิติการผลิตสูงสุดในเดือน ต.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ระดับ 11.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงหนุนจากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังญี่ปุ่นปรับตัวลดลง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงตามราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการส่งออกน้ำมันดีเซลจากทวีปเอเชียสู่ทวีปยุโรป ประกอบกับ อุปทานน้ำมันดีเซลในเอเชียยังคงอยู่ในระดับสูง
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 45-50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 55-60 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ ยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูงเพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงฤดูหนาว ประกอบกับ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง
ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังตกลงที่จะปรับลดลงกำลังการผลิตลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 เป็นเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน
ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังกองกำลังติดอาวุธบุกยึดแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อย่างแหล่ง El Sharara กำลังการผลิตกว่า 315,000 บาร์เรลต่อวัน
Click Donate Support Web