WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL32ราคาน้ำมันดิบปรับลง หลังตลาดหุ้นสหรัฐฯ ถูกเทขาย

        - ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลงกว่า 2% หลังได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นที่ปรับลดลงอย่างมาก จากความกังวลต่อเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยดัชนีอุตสาหกรรมดาวโจนส์ของสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่า 2% หรือราว 500 จุด หลังยอดค้าปลีกและผลผลิตภาคการอุตสาหกรรมของจีนปรับตัวลดลงจากที่ผ่านมา ประกอบกับ การเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปที่น่าผิดหวัง ส่งผลให้นักลงทุนมีความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวลง

       - รายงานของสำนักข่าว Reuter สื่อให้เห็นว่าเศรษกิจสหรัฐฯ ในอีก 2 ปีข้างหน้ามีโอกาสที่จะประสบกับภาวะถดถอยกว่าร้อยละ 40 หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ มีแนวโน้มที่จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ เศรษฐกิจโลกเผชิญหน้ากับความไม่แน่นอน จากความขัดแย้งระหว่างประเทศ

      -/+ ประเทศเกาหลีใต้คาดจะกลับมานำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านในช่วงสองเดือนแรกของปีหน้า หลังได้หยุดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านมาติดต่อกันกว่า 3 เดือน เนื่องจากในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา สหรัฐฯ ได้อนุมัติให้เกาหลีใต้และอีก 7 ประเทศนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านได้จนถึงเดือน พ.ค. 62

      + ปริมาณแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบสหรัฐฯ รายงานโดย Baker Hughes ปรับลดลง 3 แท่นสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองเดือนที่ 873 แท่น ซึ่งอาจเป็นการบ่งชี้ว่าปริมาณการผลิตจากสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นในอัตราช้าลง

     ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากอุปสงค์ในประเทศอินเดียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม อุปทานน้ำมันเบนซินในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้น้ำมันเบนซินคงคลังจีนในเดือน พ.ย. 61 ปรับเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 14.5 จากเดือนก่อนหน้า

     ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากอุปสงค์ในภูมิภาคที่ยังอยู่ในระดับดีในช่วงฤดูหนาว อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังจีนได้ปรับเพิ่มขึ้นในเดือน พ.ย. 61 กว่าร้อยละ 7.7 จากเดือนก่อนหน้า

 

ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้

      ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 48-53 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

      ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 57-62 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

 

ปัจจัยที่น่าจับตามอง

      ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับลดลง หลังโรงกลั่นในสหรัฐฯ ยังคงอัตราการกลั่นในระดับสูงเพื่อรองรับความต้องการใช้ในช่วงฤดูหนาว ประกอบกับ ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐฯ มีคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง

      ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังตกลงที่จะปรับลดลงกำลังการผลิตลงราว 1.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 เป็นเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน

      ติดตามสถานการณ์ความไม่สงบในลิเบียที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น หลังกองกำลังติดอาวุธบุกยึดแหล่งผลิตน้ำมันดิบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ อย่างแหล่ง El Sharara กำลังการผลิตกว่า 315,000 บาร์เรลต่อวัน

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90SIAM790x90

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!