- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Tuesday, 04 December 2018 18:56
- Hits: 8829
ราคาน้ำมันดิบเพิ่ม หลังสหรัฐฯ และจีนหยุดขึ้นภาษีนำเข้าชั่วคราว
+ ราคาน้ำมันดิบปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจีนและสหรัฐฯ ทำการตกลงในการประชุมผู้นำด้านเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศสำคัญ (G20) เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าจะไม่เพิ่มภาษีสินค้านำเข้าเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน เพื่อให้สองประเทศเจรจาหาข้อสรุปของสงครามการค้าร่วมกัน
+ ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุน หลังแคนาดาประกาศจะให้ผู้ผลิตน้ำมันดิบลดกำลังการผลิตลงร้อยละ 8.7 หรือเท่ากับ 325,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อแก้ปัญหาท่อขนส่งน้ำมันดิบไม่เพียงพอ ส่งผลให้น้ำมันดิบคงคลังในประเทศอยู่ในระดับสูง
+ กำลังการผลิตของรัสเซียในเดือน พ.ย. 61 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 11.37 ล้านบาร์เรลต่อวัน หลังแตะระดับ 11.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือนที่ผ่านมา ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์หลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย
- กาตาร์ประกาศถอนตัวออกจากกลุ่มโอเปก มีผลตั้งแต่เดือน ม.ค. 62 โดยกาตาร์เป็นผู้ส่งออกแก๊สธรรมชาติอันดับหนึ่งของโลกและมีกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 600,000 บาร์เรลต่อวัน อย่างไรก็ตาม อิหร่านมีความเห็นว่า การถอนตัวของกาตาร์ออกจากกลุ่มโอเปกครั้งนี้เป็นเพียงการแสดงความไม่พอใจของผู้ผลิตรายย่อยต่อผู้ผลิตรายใหญ่อย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย และการลดกำลังการผลิตควรมา ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ จากแรงซื้อที่เพิ่มขึ้นในตลาดสิงคโปร์ อย่างไรก็ตาม ราคายังถูกกดดันจากอุปทานที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวเพิ่มขึ้นน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังจีนประกาศเพิ่มโควต้าในการส่งออกน้ำมันดีเซลปริมาณ 1.3 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดีเซลยังได้รับแรงหนุน จากปริมาณน้ำมันดีเซลคงคลังสิงคโปร์ที่ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไทยออยล์ คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 49-54 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 58-63 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
Click Donate Support Web
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
จับตาการประชุมระหว่างผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกในวันที่ 6 ธ.ค. 61 จะมีการปรับลดกำลังการผลิตหรือไม่ โดยตลาดคาดการณ์ว่ากลุ่มผู้ผลิตมีแนวโน้มปรับลดกำลังการผลิตลง 1.0 - 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวันเทียบกับปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 61
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านในเดือน พ.ย. 61 มีแนวโน้มปรับลดลง แม้ว่าสหรัฐฯ จะประกาศผ่อนผันให้ 8 ประเทศได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน อินเดีย อิตาลี กรีซ และตุรกี สามารถนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านได้
ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับลดลงเป็นสัปดาห์แรกในรอบ 2 เดือน หลังความต้องการใช้น้ำมันดิบของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นส่วนใหญ่เริ่มกลับมาจากการปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล