WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

OIL49ไทยออยล์ คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 61 – 66 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 71 – 76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

                                               

                                               

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (5 - 9 พ.ย. 61)

      ราคาน้ำมันดิบคาดจะเผชิญกับความผันผวนในช่วงสัปดาห์การเลือกตั้งครึ่งเทอมของสหรัฐฯ (Mid-term Election) ในวันที่ 6 พ.ย. และแรงกดดันอย่างต่อเนื่อง หลังอุปทานน้ำมันดิบจากผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเพื่อชดเชยปริมาณการผลิตของอิหร่านที่ขาดหายไป นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ยังคงปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่นน้ำมันในสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านที่คาดจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังประเทศต่างๆ นำโดย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ยุโรป และอินเดีย ปรับลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ หลังอิหร่านถูกสหรัฐฯ ประกาศคว่ำบาตรซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. 61 เป็นต้นไป

 

1AA7176

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

           ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกและนอกโอเปกมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและคาดจะส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มโอเปกในเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 2 ปี นำโดยการเพิ่มขึ้นของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ลิเบีย และ ซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้ความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตล่าสุดของกลุ่มโอเปกปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 122 เปอร์เซ็นต์มาอยู่ที่ระดับ 107 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในเดือน ต.ค. คาดจะปรับเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งส่งผลให้ในไตรมาส 4 ของปีนี้ ตลาดน้ำมันดิบมีแนวโน้มกลับเข้าสู่ภาวะอุปทานล้นตลาดอีกครั้ง

           ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ คาดจะปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 7 ติดต่อกัน หลังความต้องการใช้น้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำในช่วงการปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น รวมถึง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามจำนวนของแท่นขุดเจาะน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่เพิ่มขึ้นมาแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) รายงานว่า ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ สำหรับสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 26 ต.ค. 61 ปรับเพิ่มขึ้นราว 3.2 ล้านบาร์เรล สู่ระดับ 426 ล้านบาร์เรล ขณะที่ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลัง ณ จุดส่งมอบ คุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 1.9 ล้านบาร์เรล

           จับตาการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ว่าจะสามารถหาข้อสรุปได้หรือไม่ หลังนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ และประธานาธิบดีจีน เตรียมหารือร่วมกันนอกรอบในการประชุมสุดยอดผู้นำโลก G20 ที่ประเทศอาร์เจนตินา ในปลายเดือน พ.ย. นี้ หากผลการเจรจาออกมาไม่สำเร็จ ทางด้านของสหรัฐฯ ประกาศจะเดินหน้าเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในส่วนที่เหลือมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 267,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค. ซึ่งคาดจะส่งผลกดดันต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันอย่างมาก โดยปัจจุบัน สหรัฐฯ มีการเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าจีนในอัตราร้อยละ 10 - 25 กับสินค้านำเข้าของจีนมูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 250,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่จีนตอบโต้โดยการเก็บภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าของสหรัฐฯ ในอัตราร้อยละ 25 กับสินค้ามูลค่ารวมทั้งสิ้นกว่า 110,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

           อุปทานน้ำมันดิบจากอิหร่านมีแนวโน้มปรับตัวลดลงต่อเนื่อง หลังหลายประเทศลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านก่อนที่สหรัฐฯ จะประกาศคว่ำบาตรอิหร่านซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 4 พ.ย. เป็นต้นไป ส่งผลให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าปริมาณการผลิตและการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านจะปรับตัวลดลงกว่า 1.0 - 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบของเอเชียจากอิหร่านในเดือน ก.ย. ปรับลดลงมาแตะระดับต่ำสุดในรอบ 32 เดือน หลังเกาหลีใต้หยุดนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่าน ขณะที่ จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ปรับลดการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านอย่างต่อเนื่อง

           ตัวเลขเศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ได้แก่ ดัชนีผลผลิตภาคบริการจีน (Caixin Service PMI) ดัชนีผลผลิตภาคบริการยูโรโซนและสหรัฐฯ และยอดค้าปลีกยูโรโซน  

 

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (29 ต.ค. - 2 พ.ย. 61)

     ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวลดลง 4.45 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 63.14 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 4.79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 72.83 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ 73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกันกว่า 6 สัปดาห์ติดต่อกัน โดย EIA รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ในสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นกว่า 3.2 ล้านบาร์เรล หลังปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 0.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากสัปดาห์ก่อนหน้า นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของโอเปกและรัสเซียที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากอุปทานน้ำมันดิบจากอิหร่านที่ปรับลดลง ประกอบกับปริมาณน้ำมันสำเร็จรูปคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้า หลังความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเริ่มฟื้นตัวขึ้น

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!