- Details
- Category: พลังงาน
- Published: Thursday, 01 November 2018 20:17
- Hits: 8611
ราคาน้ำมันดิบลงต่อ หลังความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบโลกเพิ่มสูงขึ้น
- ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสปรับลดกว่าร้อยละ 1.3 และน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดกว่าร้อยละ 0.6 จากความกังวลต่ออุปทานน้ำมันดิบโลกที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมองเห็นแรงหนุนจากอุปสงค์ของสหรัฐฯ ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามทิศทางของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง
-/+ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) เปิดเผยข้อมูลปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ประจำเดือนสิงหาคม 2561 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 11.346 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยปรับเพิ่ม 416,000 บาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่น้ำมันดิบคงคลังของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้น 3.2 ล้านบาร์เรล น้อยกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มถึง 4.1 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากกำลังการกลั่นของสหรัฐฯ ที่ปรับเพิ่มขึ้นราว 149,000 บาร์เรลต่อวัน
- แหล่งข่าวของรอยเตอร์เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียในเดือนตุลาคม 2561 แตะระดับ 11.41 ล้านบาร์เรลต่อวัน นับเป็นระดับสูงสุดตั้งแต่การล่มสลายของสภาพโซเวียตในปี 2534
+ ปริมาณน้ำมันเบนซินและดีเซลคงคลังของสหรัฐฯ ปรับลดลงกว่า 3.2 และ 4.1 ล้านบาร์เรลตามลำดับ หลังความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาฟื้นตัวถึงร้อยละ 5.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า
ราคาน้ำมันเบนซิน ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกับราคาน้ำมันดิบดูไบ หลังการส่งออกของญี่ปุ่นปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ส่งผลให้ภาวะตึงตัวของอุปทานในภูมิภาคเอเชียเพิ่มสูงขึ้น
ราคาน้ำมันดีเซล ปรับตัวลดลงน้อยกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบ โดยได้รับแรงสนับสนุนจากอุปสงค์ในประเทศจีนก่อนสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร อย่างไรก็ตาม อุปทานในภูมิภาคเริ่มปรับเพิ่มขึ้นจากการส่งออกน้ำมันดีเซลที่มากขึ้นของประเทศจีน
ไทยออยล์คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์นี้
ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสเคลื่อนไหวในกรอบ 64-69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวในกรอบ 74-79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
ปัจจัยที่น่าจับตามอง
รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานซาอุดิอาระเบียประกาศว่า ซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 11 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากกำลังการผลิตเดิมที่ระดับ 10.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อชดเชยอุปทานที่หายไปจากประเทศอิหร่านและเวเนซูเอลล่า และพร้อมที่จะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 1-2 ล้านบาร์เรล หากอุปทานไม่เพียงพอต่ออุปสงค์ของโลก
การเติบโตของความต้องการน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง หลังได้รับแรงกดดันจากอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวจากผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในแถบยูโรโซนและตลาดเกิดใหม่
ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบจากประเทศอิหร่านคาดจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังประเทศต่างๆ ปรับลดปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านก่อนวันกำหนดการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ในวันที่ 4 พ.ย. 61
Click Donate Support Web